ผู้บันทึก : นางจรรยา ศรีมีชัย |
กลุ่มงาน : งานพัฒนาบุคลากร |
ฝ่าย : ฝ่ายบริหาร |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม |
เมื่อวันที่ : 26 มิ.ย. 2553 ถึงวันที่ : 19 ก.ค. 2553 |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก |
จังหวัด : New York, USA |
เรื่อง/หลักสูตร : Humanistic Nursing Inquiry : The College of Mount Saint Vincent, New York, USA |
วันที่บันทึก 7 ก.ย. 2553 |
|
รายละเอียด |
๑) สรุปสาระที่ได้ – เรียนรู้ที่มาของแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎี Humanistic Nursing ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎีสำคัญ 3 ทฤษฎี ได้แก่ Humanism Existentialism Phenomenology – เรียนรู้ความเป็นมนุษย์และความแตกต่างของมนุษย์ตามแนวคิด Humanism และ Existentialism มนุษย์มีความเป็นตัวตนของตนเองและคงอยู่ในบริบทของตนเองในสังคมและสิ่งแวด ล้อมที่ทำให้เกิดความแตกต่างกัน – เรียนรู้กระบวนการของ Humanistic Nursing ซึ่งเน้นการมีสัมพันธภาพระหว่างพยาบาล กับผู้รับบริการทั้งในคลินิกและชุมชน โดยพยาบาลต้องใส่ใจ (awareness) กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการในขณะนั้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม (Call) และพยาบาลจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองภายใต้การยอมรับความเป็นตัวตนของผู้รับ บริการและตัวตนของพยาบาลผลลัพธ์ของกระบวนการทำให้ ทั้งพยาบาลและผู้รับบริการมี self-Actualization ( รู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองเป็นใคร ) – เรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีสมรรถนะในการให้ บริการที่ อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจมนุษย์ โดยเน้นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้สอนต้องใส่ใจ (awareness) กับประสบการณ์ของผู้เรียนในขณะนั้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม (Call) และผู้สอนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองภายใต้การยอมรับความเป็นตัวตนของผู้ เรียนและตัวตนของผู้สอนผลลัพธ์ของกระบวนการทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมี self-actualization ๒) สาระกิจกรรมการสอนสะท้อนคิด ซึ่งรายละเอียดการเรียนรู้ขอนำเสนอให้เห็นในส่วนของผู้สอนและการสรุปบางส่วน ดังนี้ กระบวนการอบรม ประกอบด้วยการบรรยาย การนำเสนอและสะท้อนผลงานรายบุคคลและรายกลุ่มเกี่ยวกับการศึกษาวิถีชีวิตผู้ คนที่ต่างวัฒนธรรมในชุมชน การศึกษาเรียนรู้จากละคร วิดีโอ บทกวี และการอภิปรายกลุ่ม และสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเป็นครู การเป็นพยาบาลของผู้เข้าอบรม ผู้สอนคือ Dr. Susan Kleiman ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Human centered Nursing: The foundation of quality care (2008) จากประสบการณ์และสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาเป็นหนังสือที่เน้นการบูรณาการแนว คิด เกี่ยวกับ Humanistic Nursing ในด้านการพยาบาล การศึกษา และการวิจัย การเรียนรู้เริ่มจากการบรรยายเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ ๑.what is humanistic nursing care : ฉายภาพสไลด์ และเล่าเรื่อง ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ แล้วให้คิดตามว่าคืออะไร ผู้สอนสรุปองค์ประกอบของ Humanistic nursing care และ scientific nursing care โดย humanistic nursing care จะเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการซึ่งเป็นไปอย่างให้เกียรติ ซึ่งกัน (respect) โดยประสบการณ์นั้นทำให้เกิดความงอกงามทั้งพยาบาลและผู้รับบริการ แต่ปัจจุบันปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลแบบ humanize กับผู้รับบริการลดลงจากการให้ความสำคัญกับทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆทำให้ สะท้อนกลับสู่วิชาชีพ (I hear a call ) ๒.challenges to actualizing the humanistic imperative : สืบเนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และการพยาบาล ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีสูงในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางการศึกษาพยาบาลทำให้ มีพยาบาลระดับปริญญาตรี โท เอก และพยาบาลที่เรียนเป็นแพทย์ (doctor of practice in nursing) เมื่อถามพยาบาลว่าคุณเป็นใคร พยาบาลมักตอบว่า ฉันเป็นพยาบาลผู้ใหญ่ พยาบาลผู้สูงอายุ พยาบาลจิตเวช พยาบาลไอซียู เป็นต้น แต่สุดท้ายเมื่อถามว่า “พยาบาลคืออะไร” กลับตอบไม่ได้จริงๆว่าพยาบาลคืออะไร และทำอะไร ผู้สอนเปรียบสภาพเช่นนี้ ว่า burn out เปรียบเหมือนเทียนที่มอดไหม้ตัวเองสุดท้ายไม่เหลืออะไร (nothing left to give out or not anymore for give) ทำได้แค่ปกป้องตนเอง คือไม่เหลือคุณค่าของพยาบาล นี่คือความท้าทายถึงความจำเป็นที่พยาบาลจะตอบให้ได้ว่า พยาบาลคือใคร พยาบาลทำอะไร (self actualization) และคุณค่าของพยาบาลคืออะไร ๓. Need to formulate and implement a balance education and practice agenda ความพึงพอใจของผู้รับบริการและความพึงพอใจของพยาบาลที่มีความสมดุลกันจะเป็น ตัวนำไปสู่การดูแลที่มีคุณภาพ ๔. Strategies to humanistic practice กลยุทธ์ในการสร้างให้เกิด Humanistic practice ประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ๔.๑ การสร้าง Self-actualization (being true to yourself and your value) คือการสร้างให้พยาบาลตระหนักในคุณค่าและตัวตนที่แท้จริงของพยาบาล ๔.๒ Reflective practice การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่จะเปิดเผยให้เห็นถึงคุณค่าของตนเองผ่าน ประสบการณ์ซึ่งเป็นแหล่งของความรู้และความจริง ๔.๓ Community of nurses พยาบาลแต่ละคนเป็นตัวแทนของวิชาชีพและเป็นตัวแทนของกันและกัน พยาบาลคิดอย่างไรกับพยาบาล คนอื่นคิดอย่างไรกับพยาบาล พยาบาลจะมีลักษณะการแสดงออกบางอย่างที่ทำให้คนอื่นทราบว่าคุณคือพยาบาล พยาบาลแต่ละคนเป็นความเข้มแข็งซึ่งกัน ในขณะนี้พยาบาลดีต่อกันหรือไม่ ยกตัวอย่าง พยาบาลผู้มีประสบการณ์และพยาบาลจบใหม่ ทัศนคติต่อกันเป็นอย่างไร ขอให้พยาบาลแต่ละคนตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งหรือตัวแทนของพยาบาลที่จะทำ ให้ผู้อื่นรับรู้ว่าพยาบาลคืออะไร ๔.๔ Articulation of values พยาบาลต้องตอบผู้อื่นให้ได้ว่าคุณค่าของพยาบาลคืออะไร และใช้คุณค่านั้นในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้ป่วยหรือวิชาชีพ เราควรจะต้องรู้เองและทำให้ผู้อื่นรู้ว่าตัวตนของพยาบาลคืออะไร ๔.๕ Professional empowerment (internally generated by self-actualized nurses , not externally bestowed by others) คือการที่พยาบาลจะต้องทราบก่อนว่าคุณค่าหรือตัวตนของพยาบาลคืออะไร ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นพลังภายในที่ขับเคลื่อนให้เกิดพลังอำนาจเชิงวิชาชีพซึ่งจะ ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับ บริการ พยาบาล หรือพัฒนาวิชาชีพ โดยเป็นความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ตัวอย่าง เช่น การที่บริษัทประกันและโรงพยาบาลร่วมกันกำหนดให้ผู้ป่วยหลังคลอดกลับบ้านเร็ว ซึ่งจะลดค่าใช้จ่าย พยาบาลมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้เพื่อผู้รับบริการ โดยนำผลการวิจัยที่พบว่า การให้ผู้รับบริการกลับบ้านเร็ว ทำให้ผู้รับบริการมีการกลับมาป่วยซ้ำบ่อย มีอัตราการติดเชื้อสูง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หรือยกตัวอย่างการเข้าร่วมประชุมโดยพยาบาลไปร่วมกับวิชาชีพอื่นพยาบาลคนนั้น ต้องมีความกล้าหาญที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เป็นตัวแทนเชิงวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น กิจกรรมการเรียนรู้การให้รู้จักตนเอง เปิดเทปเพลงผ่อนคลาย 5 นาที ตั้งคำถามให้ผู้อบรมคิด – Think about who you are? (Your self-actualization) – Think about your life as a nurse? – Think about your life as a teacher? จากนั้นให้ผู้อบรมสะท้อนคิด (reflection) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เกิด Self-actualization คือการรู้จักตนเอง (knowing about yourself) หรือ You know who you are? (รู้ว่าตนเองเป็นใคร) ผู้อบรมทุกคนได้สะท้อนคิด ผู้สอนได้สะท้อนคิดกลับหลังจากผู้อบรมแต่ละคนพูด ซึ่งมีประเด็นดังนี้ ๑. ผู้อบรมสะท้อนคิดว่า “ตนไม่ใช้อาจารย์ที่ดี เนื่องจากบางครั้งจะโกรธนักศึกษา” ผู้สอน สะท้อนคิดว่ากรณีที่อาจารย์พยาบาลรู้สึกโกรธนักศึกษา อาจารย์จำเป็นต้องตระหนักรู้ (aware) ถึงอาการเตือนของความโกรธ (warning sign of angry) ทันทีที่เราเกิดความตระหนัก เราจะสามารถตัดสินใจที่จะทำอย่างไรกับสถานการณ์นั้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งพยาบาล/อาจารย์พยาบาลก็มีสิทธิที่จะโกรธ (have a right to be angry) เมื่ออาจารย์โกรธแล้วรู้สึกไม่ดี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการโกรธนักศึกษาเป็นการขัดแย้งกับความเชื่อของ อาจารย์ต่อการเป็นอาจารย์ที่ดี (It is not true to your belief) การที่เรา reflect ออกมา เพราะเราตระหนักว่าการสอนของเราไม่สอดคล้องกับคุณค่าหรือความเชื่อ (You aware that your teaching is not there) เมื่อเราสะท้อนคิดออกมาแสดงว่าเราตระหนักถึงสิ่งนั้น (When you reflect, you aware about it) ผู้สอนได้สะท้อนคิดถึงประเด็นของการเป็นแบบอย่าง (role model) ผู้สอนมีความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนซึมซับลักษณะของการ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ หรือบุคคลอื่น ผู้สอนพูดถึง การ Reflection ขึ้นกับวัฒนธรรมเช่นกัน เป็นการเผชิญหน้า การกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนว่าเราเป็นใคร การพูดเกี่ยวกับตัวเอง ทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าเราจะรู้ตัวเองหรือไม่รู้ตัวเองก็ตามการ reflection ทำให้เรารู้ว่าพยาบาลคือใคร รู้ว่าเรารู้อะไร รู้ว่าเราไม่รู้อะไร รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปและรู้ว่าทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และนักศึกษาต้องได้รับสิทธิ์ในการที่จะบอกอาจารย์ว่านักศึกษารู้สึกแย่อย่าง ไรต่อเหตุการณ์นั้น (How she feel bad about it) ประสบการณ์จากความผิดพลาดจะสอนนักศึกษาให้เรียนรู้ และงอกงาม เมื่อทัศนคติดี พฤติกรรมของนักศึกษาจะดีตาม และผู้สอนให้ผู้อบรมตระหนักว่า การที่นักศึกษาถามคำถามบางอย่าง อาจจะไม่ใช่การท้าทายเราแต่เป็นการให้ข้อมูลอาจารย์ต้องระวังไม่คิดว่านัก ศึกษาท้าทายเรา (challenging) ๒.ผู้อบรมได้สะท้อนประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นอาจารย์ที่ไม่ดี เมื่อมีเหตุการณ์ที่ตำหนิ นักศึกษาคนหนึ่งที่เข้าห้องเรียนสายหลายครั้ง และทราบภายหลังว่านักศึกษาคนนั้น ต้องกลับไปดูแลป้อนอาหารบิดาที่ป่วยเป็นอัมพาต ผู้สอนได้สะท้อนคิดว่าเราต้องถามนักศึกษา เนื่องจากบุคคลแต่ละคนนั้นมีชีวิตที่ซับซ้อน (complicated life) เราต้องใช้วิธีการ confrontation ดังประโยคเช่น You say this but this is reality. You do this but this is reality. เช่น เธอบอกครูว่าเธอหยุดสูบสูบบุหรี่แล้วแต่ครูเห็นคราบนิโคตินที่นิ้วเธอเต็มไป หมด การพูดกับนักเรียนคนนี้ควรจะเป็นในลักษณะที่ว่า “You’re missing many material when you’re getting late” ผู้สอนชี้ประเด็นการจัดการเรียนการสอนว่า นักศึกษาพยาบาลจะต้องมีความเข้าใจว่าพยาบาลคือใคร (smile , soft voice, understand, warm > caring) Caring about you หมายถึง ฉันรู้ว่าเธอพร้อมช่วยเหลือฉันเสมอ (I know that you are there, you are exist, I concern about you. I have a good feeling about you) วิธีการที่เราสอนนักศึกษาเป็นวิธีการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการมีปฏิ สัมพันธ์กับผู้รับบริการและคนอื่นในโลก เราต้องยอมรับว่าเราไม่สมบูรณ์แบบและนักศึกษาก็ไม่สมบูรณ์แบบเช่นกัน (Student as a person are not perfect, so am I. I am a human being.) การบอกว่าเราเป็นแค่พยาบาล (I am just a nurse) การพูดถึงตัวตนตนเองเกี่ยวกับการพยาบาลอย่างไร พยาบาลก็จะมีพฤติกรรมเชิงวิชาชีพเช่นนั้น กรณีที่พยาบาลสอนนักศึกษาบนตึกรักษาพยาบาลที่มีหญิงทำแท้งหรือไม่ต้องการ บุตร จะมีวิธีการอย่างไรในการทำให้เกิด Humanistic approach ผู้สอนสะท้อนคิดว่า เราต้องถามนักศึกษาว่ารู้สึกอย่างไร นักศึกษาเห็นว่ามันเป็นบาป รับไม่ได้ หรือนักศึกษาตัดสินผู้ป่วยหรือไม่ กรณีที่เป็นความรู้สึกลบ ผู้สอนต้องหยิบยกประเด็นของจรรยาบรรณวิชาชีพ หรือ มาตรฐานการพยาบาลมาพูดคุยกับนักศึกษาเพื่อให้แยกระหว่างหน้าที่และความคิด เห็นส่วนตัว หรือ มอบหมายให้นักศึกษาคนที่มีความเห็นที่ไม่เป็นเชิงลบดูแลผู้รับบริการรายนี้ ส่วนกรณีที่เป็นพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีความรู้สึกทางลบต่อหญิงทำแท้ง ควรเลือกที่ทำงานที่ไม่ขัดกับความเชื่อ เช่น เลือกทำงานในที่ที่ไม่มีผู้หญิงทำแท้งมารับการรักษา หรือกรณีที่หลีกเลี่ยงได้ ก็เลือกที่จะดูแลผู้รับบริการรายอื่น กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องดูแลผู้รับบริการตามจรรยาบรรณวิชาชีพหรือมาตรฐานการพยาบาล ต้องมีความสมดุลระหว่างการทำหน้าที่และความรู้สึก ๓.ผู้อบรมสะท้อนกรณีที่ตนเป็นอาจารย์พยาบาลแสดงความเจ้าระเบียบ เคร่งครัดต่อนักศึกษา เราต้องถามตัวเราว่าอะไรทำให้เรากลายเป็นอาจารย์เจ้าระเบียบและเคร่งครัด ต้องตระหนักว่าอาจารย์และนักศึกษาไม่เท่ากัน อาจารย์มีพลังอำนาจ (power) ที่นักศึกษาไม่มี ดังนั้นความต้องการหรือความรู้สึกของนักศึกษาต้องมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา พยาบาลและผู้รับบริการผู้รับบริการเรียนรู้ที่จะไม่ทำอะไรที่จะกระทบพยาบาล พยาบาลมีพลังอำนาจเหนือผู้รับบริการ เราจะต้องทำให้ผู้รับบริการสะดวกใจที่จะบอกเล่าปัญหา เราพยาบาลจำเป็นต้องรู้เพราะว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก (what you know about this patient) ต่อการให้การพยาบาลอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ เช่นกันเราต้องช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับ บริการอย่างเท่าเทียมกันด้วย ผู้สอนได้ยกประเด็น awareness ว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะawareness จะเกิดขึ้นเมื่อเรามีการสะท้อนคิด เมื่อเราคิดย้อนกลับ แล้วเราจะเกิดการตะหนักรู้ ควรมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาพูดเกี่ยวกับความรู้สึก เช่น โกรธ ไม่พอใจคนไข้ เพื่อให้นักศึกษาตระหนักว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร และกำลังทำอะไร การตระหนักรู้ถึงสิ่งที่รู้สึก เรียกว่า Bracketing ซึ่งบางครั้งเป็นการตัดสินแบบผิดๆ เช่น เมื่อเราดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด เราจะคิดไปเองว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดทุกคนต้องการยาแก้ปวด ซึ่งความจริงอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น ผู้รับบริการรายหนึ่งอาจจะไม่อยากหลับเนื่องจากต้องการตื่นรอต้อนรับคนที่มา เยี่ยมเยียน ลักษณะเช่นนี้ดังคำสุภาษิตที่ว่า A man hear what he want to hear มนุษย์มักเลือกจะฟังในสิ่งที่ต้องการได้ยิน แล้วปล่อยสิ่งที่ไม่ต้องได้ยินผ่านหูไป การทำเช่นนี้เป็นการไม่ให้เกียรติในความเป็นบุคคล (not respect individual) เราต้องเปิดใจยอมรับบุคคลในลักษณะที่เขาเป็น ไม่ใช่ในลักษณะที่เราอยากหรือคาดหวังให้เขาเป็น เราควรยอมรับในตัวตนของผู้รับบริการ เราจะไม่มีทางจะเปลี่ยนความคิดความเชื่อของผู้รับบริการได้ ถ้าเราไม่รู้จักผู้รับบริการอย่างดีก่อนว่าเขาเป็นอย่างไร (knowing the patient) ยกตัวอย่าง พยาบาลให้ผู้ป่วยจิตเวชรายหนึ่งรับประทานยา ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทาน บอกว่าอยากกลับบ้าน พยาบาลจึงนำประเด็นนี้เป็นแรงจูงใจมาพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อหาแนวทางเพื่อให้ ผู้รับบริการยอมรับประทานยาเพื่อที่จะได้กลับบ้านได้เมื่อทำแล้วผู้ป่วยจะ เชื่อถือพยาบาล กรณีที่พยาบาลพบคนที่กำลังแสดงความรู้สึก หรืออารมณ์ เช่น ร้องไห้ รู้สึกสูญเสีย สิ่งที่ควรพูด คือ I am hear (ฉันจะอยู่เคียงข้างคุณ) We can tolerate it together (เราจะก้าวข้ามผ่านมันไปด้วยกัน) เราจะต้องมีความตระหนักและชัดเจนว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร และคนอื่นรู้สึกอย่างไร Reflection: My Experience on City Tour ผู้สอนให้ผู้อบรม 2 คนอ่าน reflection เรื่อง My Experience on City Tour หน้าชั้นเรียน ผู้สอนได้ชี้ให้เห็นว่า การสะท้อนคิด (reflection) ของแต่ละคนต่อสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนของผู้คิด ทำให้เรารู้จักว่าผู้คิดมีลักษณะเฉพาะอย่างไร “Who you are?” เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้เป็นวิธีการในการเรียนรู้จักคนทั่วไป นักศึกษา หรือผู้รับบริการได้ Reflection : What do you see nurse..? สื่อวิดีทัศน์ที่เรื่อง What do you see, nurse..? ให้แง่คิดใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการเป็นแบบ I and It และเป็นสัมพันธภาพแบบ Gnostic มากกว่า Pathic touch สนใจมุ่งให้งานเสร็จ ไม่ได้ฟังสิ่งที่ผู้รับบริการพูด และ 2) ผู้รับบริการที่เป็นผู้สูงอายุต้องการ connection กับอดีต ต้องการให้มีผู้เชื่อมโยงถึงสิ่งต่างๆในอดีตนำสู่ปัจจุบันเป็น Humanistic need อย่างหนึ่ง พยาบาลควรเน้นบุคคล ไม่ควรเน้นการดูแลด้านสุขภาพด้านเดียว ๓) สาระความหมายคำที่เกี่ยวข้อง Humanistic Centered Caring Founded on the Concept of Humanistic Nursing หน้าที่พยาบาลคือจัดการคนไม่ใช่การจัดการโรค Jo Paterson & Loretta Zderad ได้เริ่มตั้งทฤษฏี Humanistic Nursing ขึ้นขณะที่ทั้งสองทำงานเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลทหารที่ Long Island. ทั้งสองได้พัฒนาทฤษฎีที่มีชื่อว่า “Humanistic Nursing” ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฏีสำคัญ 3 ทฤษฎี ได้แก่ 1. Humanism หมายถึงการให้ค่านิยมกับการเป็นบุคคล (individual) 2. Existentialism หมายถึงการที่เราอาศัยอยู่ในโลกและเรียนรู้จากประสบการณ์ 3. Phenomenology หมายถึง คุณค่าของการสะท้อนคิด (reflection) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ philosophy of phenomenology and methodology of phenomenology มโนทัศน์พื้นฐานของ Humanism (Basic concept of humanism) ประกอบด้วย 1. การให้คุณค่ากับบุคคล (value of individual) 2. การยอมรับว่าความต้องการของบุคคลควรได้รับการตอบสนอง (basic need met) 3. การอยู่กับปัจจุบัน (here and now) 4. การรับผิดชอบต่อตนเอง (responsibility for self) 5. การตอบสนองต่อคำสั่งจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า (responsibility to question- authority) 6. การรับผิดชอบต่อผู้อื่น (responsibility to others) 7. ความรับผิดชอบในการเผชิญกับปัญหาของมนุษยชาติ (responsibility to deal with problem of humanity) 8. ส่วนบุคคลและส่วนรวม (the one and the many) บุคคลเป็นตัวแทนของกลุ่ม ดังนั้นการกระทำของบุคคลจะส่งผลกระทบต่อกลุ่ม 9. บุคคลมีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่เราจะทำ และไม่ควรรอให้พระเจ้าช่วย Humanism เป็นปรัชญาของการจินตนาการ (Humanism: A philosophy of imagination) ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ 1) Value intuitive feeling หมายถึงการให้คุณค่ากับสิ่งที่เป็นญาณหยั่งรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาในสมองก่อนที่จะมีการคิด ยกตัวอย่างเมื่อเดินเข้าไปในห้องผู้ป่วย พยาบาลสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ที่เคยมีมา เป็นสิ่งที่ผุดขึ้นในสมองโดยทันทีก่อนที่จะค้นหาคำตอบ 2) Speculation หรือ flashes of inspiration หมายถึง การคาดเดาคำตอบของปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น (guessing what it is) and 3) Emotion Humanism is a philosophy of compassion เป็นปรัชญาของการเข้าใจความรู้สึกหรือความต้องการของผู้อื่น Humanism จะเน้นเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการหรือตอบปัญหาแก่บุคคลโดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคล Humanistic is a philosophy of the here and now คือการคำนึงถึงคุณค่าของบุคคลในบริบทของชีวิตที่เป็นอยู่ มากกว่าบริบทของชีวิตหลังความตาย Modern Humanism มีแนวคิดว่า ผลลัพธ์สำคัญของชีวิตมนุษย์คือการทำงานเพื่อความสุขของมนุษยชาติโดยการช่วย ให้ทุกคนมีความสุข เพื่อให้มีการคงอยู่ของวัตถุ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณของโลกธรรมชาติใบนี้ (Corliss Lamont,1997) นักจิตวิทยาที่เป็นรากฐานของ Modern humanistic ได้แก่ Abraham Maslow, Carl Rogers, and Rollo May. โดยสรุป structure of humanism in nursing คือ การอยู่กับสภาพแท้จริง (authentic presence) ของพยาบาลที่รู้จักผู้รับบริการดี ผู้ซึ่งคำนึงถึงบุคคลอื่นเกี่ยวกับความต้องการทางสุขภาพเพื่อที่จะลดหรือ เพิ่มภาวะสุขภาพของบุคคลหรือช่วยบุคคลเผชิญกับความตาย Paterson & Loretta Zderad เชื่อว่าการพยาบาลคือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “Call ” จากผู้รับบริการและ “Response” จากพยาบาล โดย call ในที่นี้จะเป็น ผู้รับบริการ ครอบครัว หรือ ชุมชน ก็ได้ ยกตัวอย่าง ผู้รับบริการกดกริ่งเรียกพยาบาล เมื่อมีความต้องการทางสุขภาพที่ต้องการให้พยาบาลตอบสนอง เช่น ต้องการ bed pan พยาบาลนำ bed panไปให้ เกิดการสนทนา (dialogue) และพัฒนาเป็นความไว้วางใจ (trust) “Call” ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดเสมอไป อาจจะเป็นการแสดงออก หรืออาการแสดงที่พยาบาลรับรู้ได้ เช่น เมื่อผู้รับบริการมาพบเราด้วยริมฝีปากที่แห้ง แสดงว่าผู้รับบริการมี The call of dehydration ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการจำแนกได้ 2 ประเภท คือ “I and Thou” และ “ I and It ” relationship ซึ่งนิยามโดย Martin Buber ผู้แต่งหนังสือ “I and Thou” ปฏิสัมพันธ์แบบ “I and Thou” เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยน (dialogue) โดยมองบุคคลนั้นเป็นบุคคล (as a human being or as holistic being) ( Thou means I see you as another I. You are respected as I am respected) ความสัมพันธ์แบบ I and Thou จะเป็นความสัมพันธ์ค่อนข้างจะเป็นส่วนบุคคลและลึกซึ้ง ส่วนความสัมพันธ์แบบ I and It เป็นความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการหรือเป็นประจำ (formal and routine) I and Thou เป็นกระบวนการในการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้บุคคลอื่นอย่าง inter subjective (การเปิดใจทั้งสองฝ่าย: openness to the other human) และ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์การแสดงความเคารพในความเป็น บุคคลและเคารพในสิทธิส่วนบุคคลนั้นจะแสดงออกแตกต่างกันตามวัฒนธรรม Bracketing หมายถึง กระบวนการที่บุคคลได้ปล่อยวางความรู้ที่มีมาแต่เดิม จนกระทั่งสามารถเปิดใจต่อสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาหรือสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ยกตัวอย่าง ขณะไปต่างเมืองเราจะสนใจสิ่งแวดล้อมมากและพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่เมื่อเรากลับบ้าน เราจะไม่สนใจที่จะรับรู้หรือสังเกตสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้าน)ความรู้เดิม เหล่านั้นจะถูกปล่อยวางจนกระทั่งเมื่อเราได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการแล้ว จึงนำประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาใช้ ยกตัวอย่างกรณีที่ผู้รับบริการรายหนึ่งมักจะกดกริ่งตามพยาบาลเสมอและใครๆ ก็ตีตราว่าผู้รับบริการรายนี้ น่ารำคาญ พยาบาลรายนี้มองผู้รับบริการด้วยสายตาที่แตกต่างจากพยาบาลคนอื่นๆ เข้าไปสนทนาด้วย และได้เห็นบางสิ่งที่ผิดปกติ จึงได้ตามแพทย์มาดูผู้รับบริการ สุดท้ายพบว่าผู้รับบริการรายนี้มีเลือดออกภายใน เหตุการณ์นี้คือพยาบาลได้ bracketing และได้ช่วยชีวิตผู้รับบริการรายนี้ไว้ได้ Angular view หมายถึง มุมมอง บุคคลแต่ละคนจะมีมุมมองต่อตนเอง บุคคล หรือโลก ที่มีความเฉพาะของบุคคลนั้นอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล คนแต่ละคนที่มองของสิ่งเดียวกันอาจจะมีความคิดที่แตกต่างกันก็ได้ บุคคลแต่ละคนอาศัยอยู่ในเรือนร่าง (body) และโลกที่แตกต่างกัน ต้องยอมรับว่ามุมมองแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จึงควรให้การยอมรับในมุมมองของบุคคลอื่น Empathy คือการเข้าใจประสบการณ์ของบุคคลอื่น โดยกระบวนการของความเข้าใจประสบการณ์ของผู้อื่นนั้นอาจมาจากการที่บุคคลนั้น เคยได้รับประสบการณ์นั้นมาก่อน Sympathy คือการมีความรู้สึกร่วม เช่นเดียวกับที่ผู้อื่นมี sympathy สามารถทำให้ burn out ได้ The Golden Rule: Do unto others. As you would have them do. Unto you! หมายถึง การกระทำต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำต่อเรา Pathic & Gnostic Pathic หมายถึงการตระหนักถึงบริบทชีวิต (lived dimension) หรือ วิถีชีวิต (way of being in the world) ของผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์แบบ pathic เป็นวิธีการขั้นต้นที่ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการและพยาบาลเป็นไป ด้วยดี Gnostic หมายถึง ความรู้ที่ได้รับจากการตรวจ การวินิจฉัน และการอภิปราย การพยาบาล เป็นการสนทนา (dialog) ที่ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (inter subjective relationship) ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ การสนทนาเป็นพื้นฐานที่จะเข้าใจความต้องการหรือปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยว ข้องกับด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนการแพทย์จะเกี่ยวข้องกับการตรวจ วินิจฉัยและการรักษาซึ่งสัมพันธภาพจะเป็นแบบผู้สังเกต/ผู้ถูกสังเกต ทั้งแพทย์และพยาบาลจะปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการโดยใช้ทั้งวิธี Pathic และ Gnostic relationship Practical Wisdom (ภูมิปัญญาการปฏิบัติพยาบาล) พยาบาลเกิดจากการหลอมรวมของการหยั่งรู้จากจิตใต้สำนึก (intuition) ประสบการณ์ (experience) และ ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ (scientific knowledge) intuition คือการรู้อย่างอัตโนมัติโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิด เช่น เมื่อพยาบาลผู้นั้นเห็นผู้รับบริการปวดท้องในลักษณะเช่นนั้น จะบอกได้เลยว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น Noetic Locus ประกอบด้วย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (scientific knowledge) และ ภูมิปัญญาการปฏิบัติพยาบาล (practical wisdom) Broadening horizon of possibility หมายถึง การขยายขอบเขตการมองด้วยการมองที่แตกต่างจากเดิมดังประโยคที่ว่า “I never thought of it that way” แสดงว่าผู้พูดได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ขยายขอบเขตการมองออกไปอีกแบบหนึ่ง วัฒนธรรม (Culture) เป็นมโนทัศน์ทางสังคมที่หมายถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะเฉพาะเหมือนกัน ในสังคมหนึ่งๆ จะมีความเชื่อ ค่านิยม และมีรูปแบบพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมือนๆ กัน เช่น ในห้องเรียนก็มีวัฒนธรรมหรือวิธีปฏิบัติ เช่น ผู้เรียนควรแต่งตัวเรียบร้อย นักเรียนควรไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้อื่นเมื่ออยู่ในห้องเรียน ในสังคมหนึ่งๆ จะมีเกณฑ์ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ไม่ควรทำ มโนทัศน์หลักเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. Cultural awareness คือการตระหนักว่ามีวัฒนธรรมอื่นๆ อยู่ในโลกซึ่งคนกลุ่มนั้นจะกระทำหรือแสดงออกไม่เหมือนกับที่เรากระทำหรือ แสดงออก 2. Cultural sensitivity คือการทราบว่าการให้การพยาบาลบางอย่างอาจจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่เป็นที่ยอม รับของผู้รับบริการหรือครอบครัว เช่น การที่พยาบาลทราบว่าการจะจัดอาหารให้ผู้รับบริการที่เป็นมุสลิมจะต้องเป็น อาหารที่ปรุงโดยคนมุสลิมเท่านั้น 3. Cultural competence คือการบูรณาการ cultural awareness and cultural sensitivity เข้าด้วยกันเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการ วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคนมีอิทธิพลต่อบุคคลในการแสดงออก ได้แก่ ภาษาการแปลความหมายสิ่งที่เห็น การนำประสบการณ์เก่ามาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ การแสดงออกเมื่อเจ็บปวด (คนเอเชียจะเงียบ นอนนิ่งๆ คนอเมริกันอาจจะตระโกน โวยวาย) การแสดงออกทางอารมณ์ การรักษาพื้นบ้าน บทบาทของบุคคลในครอบครัว และรูปแบบการตัดสินใจ เป็นต้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่พยาบาลควรตระหนักเพื่อประโยชน์ในการให้การพยาบาลแบบ cultural competency care คือ การบูรณาการ cultural awareness and cultural sensitivity เข้าด้วยกันเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการ สิ่งที่พยาบาลควรระวังอย่างหนึ่งคือ อคติที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้วัฒนธรรมหรือการตีตราว่าคนจากชาตินั้นหรือ วัฒนธรรมนั้นจะมีลักษณะอย่างนั้น อาจจะไม่เสมอไป เพราะแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน วิธีการที่จะทราบได้ว่าผู้รับบริการเป็นอย่างนั้นไหม ก็คือการเข้าไปพูดจาด้วย
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน |
– การเรียนการสอนรายวิชาทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาลเป็นหลักและวิชา อื่นๆด้วยการปรับกระบวนการสอนของตนเองให้ใช้หลัก humanistic มากขึ้น เช่น การสะท้อนคิดให้ครบกระบวนการและในกรณีการเรียนกลุ่มย่อยทำให้สามารถเกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เคารพความเป็นมนุษย์ และเรียนรู้ที่จะตอบสนองความต้องการของตนเองและความต้องการของมนุษย์ นำไปสู่การพยาบาลที่มีคุณภาพ – การพัฒนาบุคลากร : เผยแพร่ความรู้ที่ได้รับแก่บุคลากรและ แลกเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาลกับอาจารย์ในทีม (ภาคการศึกษาที่ ๒) – การวิจัยอาจเป็นผลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการ สะท้อนคิด
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
- การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาให้ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็น มนุษย์ ด้วยการฝึกรู้จักตนเองจากประสบการณ์ของตนและคนอื่น และผ่านการเรียนรู้จากการเขียนสะท้อน (Reflection) ประสบการณ์นั้น – ปรับวิธีการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักคิด ตัดสินใจด้วยตนเอง มีความมั่นใจ และมี self- actualization – การใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน |