นำนักศึกษาเข้ารับทุนการศึกษา

นำนักศึกษาเข้ารับทุนการศึกษา
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ์
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 4 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  มูลนิธิชมรม “ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นำนักศึกษาเข้ารับทุนการศึกษา
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ในการนำนักศึกษาไปรับทุนการศึกษาในครั้งนี้นักศึกษาต้องนำข้อมูลเกี่ยวกัลผล การเรียน ของเทอมที่1,2ให้กับทางทุนการศึกษาพร้อมทั้งการเขียนเดินทางเพื่อใช้เบิกค่า เดินทางให้เสร็จเรียบร้อยก่อนไปรับทุน พร้อมทั้งใบรับรองสภาพเป็นนักศึกษา การแต่งกายแต่งชุดสูทพร้อมเก็บผมเรียบร้อย จากการได้นำนักศึกษารับทุนการศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังโดยนาย แพทย์จิโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ได้อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังที่พบบ่อย และแนวทางการรักษา ซึ่งโรคผิวหนังที่เจอบ่อยสามารถรักษาให้หายได้เพราะในปัจจุบันพบว่ามีคลินิค ที่สามารถรักษาให้หายเร็วขึ้นเช่นสิวฝ้า ซึ่งโรคผิวหนังถ้าเป็นแล้วถ้ารักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถแก้ปัญหาได้ และที่สำคัญในการดูแลนักศึกษาคือการแต่งกายทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ผู้ ดูแลทุนต้องแต่งกายให้ถูก กาลเทศะ การตรงต่อเวลาทั้งในการลงทะเบียนและการเข้าร่วมประชุมวิชาการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการดูแลนักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การแต่งกาย การตรงต่อเวลา

(262)

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริต

โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริต
 ผู้บันทึก :  นางสาวอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง และ นางสาวชลกร ภู่สกุลสุข
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนาบุคลากร
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 29 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 29 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริต
  วันที่บันทึก  26 ก.ย. 2554

 รายละเอียด
ทุจริต หมายความว่า ประพฤติชั่ว คดโกง ไม่ซื่อตรง   ทุจริตต่อหน้าที่ หมายความว่า  ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อ ว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น (พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔)    รูปแบบการทุจริต ประกอบด้วย ๑. ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือน ระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ   ๒. จูงใจ เรียกร้อง ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวหรือกลั่นแกล้ง เพื่อหาประโยชน์ใส่ตนหรือพวกพ้อง   ๓. สมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉย หรือละเว้นการกระทำในการที่ต้องปฏิบัติหรือ รับผิดชอบตามหน้าที่   ๔. ยักยอก เบียดบังซึ่งทรัพย์สินของทางราชการ   ๕. ปลอมแปลง หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเท็จ   ๖. มีผลประโยชน์ร่วมในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์ได้  ๗. การสมยอมเสนอราคา หรือการฮั้วมาตรการปราบปรามการทุจริต :  ประมวลกฎหมายอาญา 

มาตรา ๑๔๗ : ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์  เบียดบังทรัพย์เป็นของตน /ผู้อื่น โดย

ทุจริต หรือทุจริต ยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย  โทษ จำคุก ๕-๒๐ ปี หรือจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาท (อายุความ ๒๐ปี)

มาตรา ๑๕๗ : เจ้าพนักงานปฏิบัติ / ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย หรือโดยทุจริต  โทษ จำคุก ๑-๑๐ ปี หรือปรับ ๒,๐๐๐-๒๐,๐๐๐บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๖๑ : เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร โทษ จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐บาท

มาตรา ๑๖๒ : เจ้าพนักงานรับรองเอกสารเท็จ โทษ จำคุกไม่เกิน ๗ ปี และปรับไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ บาท

 

 

 

มาตราการปราบปรามการทุจริต : ทางแพ่ง

หากกระทำ ละเมิดโดยจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงต่อบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายหรือหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙

มาตราการปราบปรามการทุจริต : ทางวินัย

การ ทุจริต ถือเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งมีโทษทางวินัย ๒ ประการ คือ ไล่ออก และปลดออก จากราชการ แต่โดยหลักแล้วต้องลงโทษไล่ออก ส่วนการปลดออกจากราชการเป็นข้อยกเว้น

 

แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๕๔

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ สร้างค่านิยมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาข้าราชการตาม

หลักธรรมาภิบาล 

          ๑.๑ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ค่านิยมร่วมให้บุคลากรในสังกัดทราบโดยทั่วกัน

          ๑.๒ รณรงค์ปลูกจิตสำนึก ให้ความรู้ สร้างค่านิยม ต่อต้าน การทุจริต

          ๑.๓ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียนการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดย

มิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

          ๑.๔ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขด้านคุณธรรมและจริยธรรมเรื่อง “คุณธรรมนำ

ความรู้สู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน” ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ รวมพลังทั้งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย ร่วมป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริต

          ๒.๑ เปิดโอกาสให้บุคลากรในสังกัดและภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริต

          ๒.๒ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับภัยของการ

ทุจริตและกรณีตัวอย่างการกระทำความผิดทางวินัย ผ่านจุลสารวินัยและคุณธรรมและจุลสารบริหารงานบุคคล

          ๒.๓ โครงการอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเครือข่ายภาคประชาชน ใน

เรื่องเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนากระบวนการ ระบบกลไกเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริต

          ๓.๑ พัฒนาระบบการควบคุมภายในให้เป็นไปตามมาตรฐาน

          ๓.๒ มีการตรวจสอบภายใน

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

          ๔.๑ โครงการอบรมวินัยและการดำเนินการทางวินัยการอุทรณ์และการร้องทุกข์ และความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่สำหรับนิติกรหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นิติกร

          ๔.๒ โครงการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม

การทุจริต


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน พัฒนาบุคลากร ที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(312)

รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2552

รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2552
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรา ภิญโญ
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  นิเทศงานราชการสาธารณสุขระดับเขต
  เมื่อวันที่ : 23 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 25 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานสาธารณสุขเขต 6
  จังหวัด :  เชียงราย
  เรื่อง/หลักสูตร :  รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2552
  วันที่บันทึก  29 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               สรุปผลการตรวจราชการ 1. โครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ 1.1 ฟันเทียมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฟันเทียม ไม่บรรลุเป้าหมายบางจังหวัดยังดำเนินได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จังหวัดที่บรรลุเป้าหมายได้แก่ชุมพร พัทลุงปัญหา คือ ขาดแคลนทันตแพทย์ 1.2 โครงการรากฟันเทียมพระราชทาน ไม่บรรลุเป้าหมาย เกณฑ์ร้อยละ 30 ดำเนินการได้ร้อยละ 13.01 จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์ คือ จังหวัดพัทลุง 1.3 โครงการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีน โครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพฯ ครัวเรือนที่มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ (ปริมาณไอโอดีน  30 ppm) ในภาพรวมของเขตผ่านเกณฑ์ (เกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90) จังหวัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีการคัดกรอง TSH ในทารกแรกเกิดอายุ 2 วันขึ้นไป (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20) การดำเนินงานทุกจังหวัดผ่านเกณฑ์ 1.4 โครงการ To Be number one ไม่บรรลุเป้าหมายที่ 2 ตัวชี้วัด ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ดำเนินการได้ร้อยละ 86.2 1.5 โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว มี 4 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย 1 ตัวชี้วัด 2. การสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2.1 การบริหารแบบหลักประกันสุขภาพ มี 2 ตัวชี้วัด บรรลุ 1 ตัวชี้วัด 2.2 การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ บรรลุเป้าหมาย 2 ตัวชี้วัด 2.3 การบริหารรวมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บรรลุเป้าหมาย ทั้ง 2 ตัวชี้วัด 3. การพัฒนาสุขภาพประชาชน แผนที่ทางยุทธศาสตร์ ไม่บรรลุเป้าหมาย โครงสร้างขวัญกำลังใจ อสม. บรรลุเป้าหมาย 100 % 4. การลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติด การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด บรรลุเป้าหมายร้อยละ 100 ลด เลิกบุหรี่ สุรา บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน – โครงการพัฒนาคุณภาพห้องชัณสูตรในเขตสาธารณสุขทั่วประเทศไม่บรรลุเป้าหมาย – งานพัฒนาบริการพยาบาล บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – งานพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน ได้มีการพัฒนามากขึ้น แต่ยังไม่สามารถวจัดหาหน่วยบริการระดับชุมชนได้ครอบคลุมทุกตำบลได้ – การพัฒนาระบบส่งต่อ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 6. การขับเคลื่อนงานสาธารณสุขเชิงรุก – การสนับสนุนและพัฒนาความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของขบวนการสุขภาพของประชาชน บรรลุเป้าหมายร้อยละ 100 – การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – การพัฒนาส้วมสาธารณะ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ในเขต 6 ผ่านการประเมินรับรองตามกระบวนการ โรงพยาบาลสงขลา ครบ 3 ปี ทั้งหมด 24 โรงพยาบาล – ยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี ไม่บรรลุเป้าหมาย 7. ประชาชนมีสุขภาพจิตดี – ประชาชนมีสุขภาพจิตดีขึ้น บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 8. การควบคุมโรคติดต่อ – การเร่งรัดควบคุมโรควัณโรค ไม่บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 – ไข้เลือดออก บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 – โรคเอดส์ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ไม่บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 – ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก /SRRT/ โรคประจำถิ่น ไม่บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 – งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ไม่บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 9. การควบคุมโรคไม่ติดต่อ – เบาหวาน BP สูง Shoke หัวใจ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 10. การพัฒนาโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ปลอดภัยจากน้ำมันนวดและสารกันบูด – โรงงานพัฒนาเข้าสู่ระบบ AMP และมาตรฐานเส้นก๋วยเตี๋ยว บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 – เส้นก๋วยเตี๋ยวอนามัยส่งเสริมคนไทยมีสุขภาพดี และอาหารรสชาดอร่อยในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 50 – การพัฒนาร้านยาคุณภาพ การพัฒนายังไม่คืบหน้า – การพัฒนาระบบยาในชุมชน บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – โครงการ เพื่อการผลิตภัณฑ์สาธารณสุขชุมชน บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 – ตรวจสอบควบคุมกำกับสถานประกอบการณ์เพื่อสุขภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามประเภท กระทรวงสาธารณสุข ไม่บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 0 – ตรวจสอบควบคุม กำกับ สถานบริการสาธารณสุขให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่บรรลุ เป้าหมาย ร้อยละ 0 11. การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มี 4 ตัวชี้วัด กำลังอยู่ในการดำเนินการ 12. การสร้างเสริมวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี และธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ – การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในงานของบุคลากรสุขภาพ ความสมดุลระหว่างชีวิต และการทำงานบุคลากรสาธรณสุข ในภาพรวม เขต 6 ร้อยละ 62.93 จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 64.43 จังหวัด สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 63.96 จังหวัดชุมพร ร้อยละ 62.68 และพัทลุง ร้อยละ 60.87 – การจัดซื้อยา บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 25 – การพัฒนาตรวจสอบภายในการบริหารจัดการ การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ บรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 66.66 – การพัฒนาทักษะและแนวคิดพื้นบ้าน การเจรจาไกล่เกลี่ยด้านสาธารณสุขต่อสันติวิธีบรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 100


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – ด้านการนิเทศงานสาธารณสุข


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - ด้านการนิเทศงานสาธารณสุข

(285)

รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2553

รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2553
 ผู้บันทึก :  นางสาวอมรา ภิญโญ
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  นิเทศงานราชการสาธารณสุขระดับเขต
  เมื่อวันที่ : 6 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 8 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานสาธารณสุขเขต 6
  จังหวัด :  มุกดาหาร
  เรื่อง/หลักสูตร :  รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2553
  วันที่บันทึก  29 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้กำหนดไว้ 3 ภารกิจ 4 ประเด็นหลัก 13 หัวข้อ 21 ตัวชี้วัด ซึ่งในส่วนของเขตตรวจราชการที่ 6 ได้ดำเนินการตรวจราชการและนิเทศงานฯ รอบที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2553 ผลจากการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2553 เขต 6 พบว่า คณะที่ 1 การติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนและการตรวจราชการแบบบูรณาการ การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับเป้าหมายการดำเนินการ รพ.สต. เป็นอำเภอละ 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 122 แห่ง ใน 4 จังหวัด และจากการประเมิน พบว่าในภาพรวมเขต 6 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 91.80 ซึ่ง จากการตรวจราชการในครั้งนี้ พบว่าทุกจังหวัดในเขต 6 ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะในรอบที่ 1 อย่างครบถ้วนทุกจังหวัด คือ การจัดตั้ง คณะกรรมการ รพ.สต.ทุกระดับ ทั้งระดับจังหวัด / อำเภอ และตำบล แต่ก็ยังพบปัญหาอุปสรรค ในเรื่องการขาดแคลนของบุคลากร, การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำป้ายชื่อ รพ.สต. เป็นต้น ได้มีข้อเสนอแนะ 1. ให้มีการจัดทำแผนแม่บทที่ครอบคลุมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และบริบทของพื้นที่โดยสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดแผนให้ครอบคลุมทุกระดับ พร้อมทั้งควบคุมกำกับให้เป็นไปตามแผน คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ระดับจังหวัด พบว่าทุกจังหวัด ยังไม่มีการจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัดโดยมีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วม เป็นคณะกรรมการและจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการระดับจังหวัดอย่างชัดเจนเป็น รูปธรรม แต่ในทุกจังหวัดสามารถบูรณาการ การให้บริการทุกระดับไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และ Excellenc เข้ากันได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดชุมพร ซึ่งใช้ระบบ One CUP ทำให้การเข้าถึงบริการของประชาชนเป็นไปได้อย่างสะดวกขีดความสามารถการบริการ ของเขตอยู่ในระดับสูง เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถพัฒนา Excellenc ในระดับสูงได้หลายประเภท คือ หัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุ ไต ทารกแรกเกิด หลอดเลือดสมองในแง่คุณภาพของสถานบริการในภาพรวมเขต หลายแห่งต้องเร่งพัฒนาให้ได้รับการรับรอง HA ระดับ 3 ในขณะที่หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มาตรฐานการบริการของห้องปฏิบัติการและการพยาบาลอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาส่วนใหญ่ในระดับเขต คือ การขาดแคลนกำลังคนด้านการแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมถึงอาคารสถานที่เก่า และการขาดแคลนครุภัณฑ์ ยกตัวอย่าง เครื่องช่วยหายใจ ซึ่ง มีข้อเสนอให้เขตต้องกระตุ้นให้เกิดแผนบูรณาการการบริการที่เป็นรูปธรรม และสนับสนุนกำลังคน อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ส่วนการดำเนินงานพัฒนาระบบส่งต่อในภาพรวมยังมีการปฏิเสธการส่งต่อในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิเสธการส่งต่อผู้ป่วยในเขต และข้ามเขตยังมีอัตราการถูกปฏิเสธในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากข้อมูลการส่งต่อไม่ชัดเจน และพบว่าข้อมูลการส่งกลับไปรักษาต่อเนื่อง ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน การจัดตั้ง Call Center เริ่มดำเนินการในทุกจังหวัดการเชื่อมข้อมูลโดยแพทย์คุยกับแพทย์ โดยประชุมสายจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบที่ดี และมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจที่ดีในการส่งต่อ แต่การจัดทำข้อมูล realtime online ยังไม่ปรากฎ และพบว่าการกำหนดแนวทางการไขปัญหาร่วมกันในระดับเขตยังไม่ ชัดเจน สำหรับค่า CMI พบว่ามีค่าสูงขึ้นกว่าในรอบที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามในระดับโรงพยาบาล ชุมชนของเขต พบว่ายังมีค่า CMI ที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการบริการน้อยกว่าที่ควรส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป ต้องรับภาระในการบริการมากขึ้น สำหรับการดำเนินการ ของศูนย์ แจ้งเหตุ พบว่าทุกจังหวัดมีการดำเนินงานที่ชัดเจนแล้วทุกจังหวัดแต่ที่ยังพบปัญหาคือ ยังไม่สามารถจัดหาหน่วยบริการให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่เพราะ อบต. หลายพื้นที่ยังไม่มีหน่วยบริการและไม่สามารถจัดหาหน่วยบริการมาให้บริการ ได้มีข้อเสนอแนะ คือ 1. ในระดับเขต ควรมี Service plan ที่ชัดเจน เพื่อให้จังหวัดสามารถวางแผนพัฒนาสอดคล้อง และเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ ในเครือข่ายเขตได้ง่าย 2. วางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิควรมีการประเมินสมรรถนะ ของบุคลากรก่อน เพื่อการพัฒนาตามส่วนขาดที่แท้จริง 3. จัดทำ Service plan ของหน่วยบริการที่มีการเชื่อมโยงกันทั้ง 4 ระดับ ควรจัดทำในระดับจังหวัด และนำเข้าบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด และพัฒนาระบบส่งต่อทุกจังหวัดคือให้สร้างความเข้มแข็งของ Call center แต่ละแห่งโดยการสนับสนุนกำลังคนและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เต็มที่ และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นร่วมกันทั้งในระดับจังหวัด และระดับเขตอย่างสม่ำเสมอ คณะที่ 3 การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การขับเคลื่อนและบูรณาการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวมระดับ จังหวัด พบว่าจังหวัดมีการดำเนินงานที่เน้นบูรณาการ มาตรฐานหลักเกณฑ์ รูปแบบและกลไกการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม รักษาและฟื้นฟูโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากส่วนกลางลงสู่ระดับปฏิบัติในแต่ละ อำเภอและตำบล โดยดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกจังหวัดให้ความสำคัญประกาศเป็นนโยบายหลัก ในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้นแต่ ยังพบประเด็นปัญหาการอ่านผลเซลล์ล่าช้า เนื่องจากข้อจำกัดของบุคลากรของรัฐอ่านผล การป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพาหะ ทุกจังหวัดมีแผนบูรณาการด้านอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด โดยมีหลายหน่วยงานร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง จากผลการวิเคราะห์กลุ่มเสี่ยง พบว่าผลิตภัณฑ์น้ำแข็งและน้ำบริโภคฯ เส้นก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน ทุกจังหวัดมีทีม SRRT ครอบคลุมทุกอำเภอ แต่จากผลการประเมินตนเองพบว่าส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การดูแลสุขภาพมารดาและทารก พบว่าการตายของมารดามี แนวโน้ม ลดลง ไม่เกินเกณฑ์ ส่วนทารกตายปริกำเนิด ยังพบเกินเกณฑ์อีกเล็กน้อยในบางจังหวัด การดูแลสุขภาพในกลุ่มเยาวชนและยังพบวัยรุ่นมีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุน้อยกว่า 20 ปีเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดใน เขต 6 1. จัดให้มีกลไกบูรณาการแผนงานระหว่างกลุ่มงานต่างๆ ในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องตลอดจนประสานบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้เป็นระบบ 2. มีการประเมินผลหลังอบรม และการประเมินมาตรฐานทีม SRRT จังหวัดจึงควรมีการติดตาม / ชี้แนะ และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพทีม SRRT 3. มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงควรมีการแก้ปัญหาในเชิงรุกเพื่อ แก้วิกฤต ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น การสร้างความรู้ความตระหนักในสถานศึกษา การใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่น ฯลฯ รวมถึงการติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง จะช่วยให้รูปแบบการดำเนินงานชัดเจนขึ้น คณะที่ 4 การบริหารจัดการระบบสุขภาพ มีปัญหาการขาดสภาพคล่องในทุกจังหวัดของบางสถานบริการ โดยเฉพาะ รพ. ที่มีปัญหาต่อเนื่องในการตรวจฯ รอบที่ 1 นอกจากนี้พบว่า ความเข้มข้นการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล การแก้ไขปัญหาหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ของแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน และหน่วยบริการหลายแห่งมี ข้อมูลที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ หรือเกินเกณฑ์ที่เกินกำหนด หรือมีบางรายการที่ผิดปกติ การบริหารจัดการเวชภัณฑ์ พบว่าตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด คือ การจัดซื้อยาจากองค์กรเภสัชกรรมของโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป มีผ่านเกณฑ์ทุกระดับ คือจังหวัดพัทลุง มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร สายวิชาชีพ ทั้งนี้เนื่องจาก การผลิตบุคลากรไม่เพียงพอ มีปัญหาการกระจุกตัวของข้าราชการในพื้นที่เขตอำเภอเมืองและ ใกล้เคียง รวมถึงการลาออกของข้าราชการในปีงบประมาณ 2553 จำนวนมากโดยเฉพาะสาขาแพทย์และ ทันตแพทย์ และรวมถึงการสูญเสียบุคลากรบางตำแหน่งที่ต้องถูกยุบตำแหน่ง / สงวนตำแหน่ง ทำให้ไม่สามารถหาบุคคลมาทดแทนได้ และประการสำคัญคือการไม่ได้รับบรรจุแต่งตั้งของนักเรียนทุนในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและลูกจ้างอื่นๆ เนื่องด้วยการจัดสรรตำแหน่งมีจำนวนจำกัด ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ความพึงพอใจในระบบการทำงาน พบว่า บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพึงพอใจสูงสุดร้อยละ 65.69 รองลงมาจังหวัด สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 65.34 จังหวัดพัทลุง 63.28 และจังหวัดชุมพร 61.42 ตามลำดับ การเข้าร่วมดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลในภาพรวมเขต 6 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในรอบที่ 1 และพบว่า จังหวัดที่กองทุนมีการจัดทำแผนปฏิบัติการสอดคล้องกับแผนบูรณาการสุขภาพระดับ จังหวัด สูงสุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 100 รองลงมาจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 99.23 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 42 และจังหวัดชุมพร ร้อยละ 14 ตามลำดับ แต่ยังพบปัญหา กองทุนฯบางแห่งจัดสรรเงินให้สถานบริการ และองค์กรชุมชนล่าช้าหรือไม่ต่อเนื่อง ได้มีข้อเสนอแนะ คือ 1. คณะ CEO อำเภอ จังหวัดควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การลงบัญชี วิเคราะห์ ข้อมูลที่เป็นปัญหา และนำเสนอผู้บริหารเพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจเชิงบริหารอย่างต่อเนื่อง 2. รายการยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิต แต่ทางโรงพยาบาลไม่ได้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรมซึ่งอาจจะมีสาเหตุต่างๆ เช่น ปัญหาคุณภาพยา หรือราคายาขององค์การเภสัชกรรมราคาสูงกว่าผู้ผลิตยารายอื่น ควรแจ้งข้อมูลให้องค์การเภสัชกรรมรับทราบด้วย เพื่อองค์การเภสัชกรรมจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป 3. ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฎ ในการผลิตบุคลากรที่ขาดแคลน และให้บริหารจัดการในระบบเครือข่ายภายในจังหวัดโดยบูรณาการใช้ทรัพยากรร่วม กันในการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน 4. นำเรื่องกองทุนสุขภาพตำบลเข้าสู่เวทีประชุมประจำเดือนของสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับผู้บริหารท้องถิ่น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การนิเทศงานด้านสาธารณสุข


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การนิเทศงานด้านสาธารณสุข

(418)

พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)

พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
ผู้บันทึก :  นางขวัญธิดา พิมพการ และคณะ
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนาบุคลากร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 30 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 31 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554

 รายละเอียด
การประชุมวิชาการ เรื่อง พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางและสามารถพัฒนาสมรรถนะแห่งตนสำหรับการเป็น APN และการมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ   ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ- ความสำเร็จในงานผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

* การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาซับซ้อนที่จำเป็นต้องใช้วิธีจัดการดูแลที่แตกต่างไปจากวิธีการใช้กันอยู่

* ความ มุ่งมั่น ทุ่มเท ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พยายามแสวงหาผู้สนับสนุน ที่ปรึกษา แสวงหาความรู้ใหม่ๆ หลักฐานเชิงประจักษ์ใหม่ๆ และมีการนำมาใช้ ที่สำคัญคือต้องประเมินผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงตลอดเวลา

* เข้าใจบทบาทและสมรรถนะของ APN มีแนวทางในการพัฒนาตนเอง

*ปฏิบัติ direct care จน เป็นที่ยอมรับในฝีมือและความแม่นยำ รู้จริง รู้สึกเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนรู้ทุกแง่มุมของระบบบริการสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายของตนเอง

* เป็น ผู้มีความคิดเป็นระบบ มองสถานการณ์เชิงระบบสามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของระบบการดูแล ไม่ยึดติดการทำงานเฉพาะงานในหอผู้ป่วยของตน แต่ทำงานเชื่อมโยงการดูแลในทุกๆ จุดหรือทุกหน่วยบริการแม้กระทั่งที่บ้านและในชุมชน และใช้หลายกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน

* มี ความสามารถในการประเมินผลลัพธ์ และสามารถดึงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้อื่นเห็นได้ สามารถหาช่องทางในการแสดงผลงานและผลลัพธ์ มีความกล้าแสดงตัวตนด้วยผลงานและผลลัพธ์

*  การ เป็นคนดี คนมีน้ำใจอยากช่วยเหลือผู้อื่น อยากช่วยผู้ป่วยและครอบครัวให้พ้นทุกข์ ทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง เสียสละ ให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงานทุกระดับและทุกฝ่าย

                    – ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและการจัดการผลลัพธ์ในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป้าหมายของการบริการสุขภาพ ต้องมีความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้สูงสุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการรักษา

- PMHN Practice ในระบบบริการสุขภาพยุคความรู้ คุณภาพ และความเท่าเทียม ซึ่งขอบเขตและสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประกอบด้วย ๙ สมรรถนะ

สมรรถนะที่๑ มีความสามารถในการพัฒนา จัดการ และกำกับระบบการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรค

สมรรถนะที่๒ มีความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน

สมรรถนะที่๓ มีความสามารถในการประสานงาน

สมรรถนะที่๔ มีความสามารถในการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสอน การฝึก การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ

สมรรถนะที่๕ มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มที่ตนเองเชี่ยวชาญ

สมรรถนะที่๖ มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะที่๗ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

สมรรถนะที่๘ มีความสามารถในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

สมรรถนะที่๙ มีความสามารถในการจัดการ และประเมินผลลัพธ์

- Adult and geriatric PMHNP การพัฒนาบทบาท APN ซึ่ง การประเมินภาวะสุขภาพ คลอบคลุมกาย จิต สังคม จิตวิญญาณ มีการใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อบอกความรุนแรงของอาการ และการประเมินผลลัพธ์ของการให้การพยาบาล การเลือกใช้เครื่องมือนั้นต้องพิจารณาว่ามีความเที่ยงตรงที่เชื่อถือได้

- Child and adolescent PMHNP การ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ควรศึกษาร่วมกับแหล่งทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิตที่ปรากฏอยู่ในตัวของทุกคน และเป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อตัวผู้ป่วย เช่น บิดามารดา ผู้ดูแล เป็นต้น

- PMHNP: Professional practice and ethical reasoning การ ตัดสินใจเชิงจริยธรรม เป็นกระบวนการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ที่นำเอาขั้นตอนในการวิเคราะห์คุณค่าและความเชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแนวคิดทางจริยธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม เพื่อบอกว่าสิ่งใดควรทำ-ไม่ควรทำ ถูก-ไม่ถูก

- Evidence-based PMHNP ทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิพากษ์งานวิจัย เน้นความเหมาะสม คุ้มค่า

- PMHNP: Change agent and case management, APN  จะต้องมี Intervention เน้นการพยาบาล Direct care ที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติเองอย่างเฉพาะเจาะจงกับเป้าหมาย และเป็นต้นแบบในการเป็นเจ้าของ Intervention นั้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ประยุกต์ใช้ในการบริการวิชาการและพัฒนาบุคลากร ในฐานะพยาบาลวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)

(2004)