ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศและการช่วยเหลือแก้ไข

ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศและการช่วยเหลือแก้ไข
ผู้บันทึก :  นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 4 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ตรัง
  เรื่อง/หลักสูตร :  ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศและการช่วยเหลือแก้ไข
  วันที่บันทึก  15 ก.ค. 2553

 รายละเอียด
               1.ระบบทะเบียนเพิ่มส่วนของการจัดการภาระงานสอนของอาจารย์ การตั้งค่าผู้จัดภาระงานสอน 2.การเชื่อมต่อระหว่างวิทยาลัย ด้วยระบบเครือข่าย VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถ คงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ ด้วยการ เข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น 3.การประชุมด้วยวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ เป็นการประชุมหรือสนทนาหลายๆคนพร้อมกันโดยอยู่กันคนละสถานที่ผ่านกล้องวีดี โอและไมโครโฟน โดยใช้งานการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ต้องใช้อุปกรณ์ขั้นต่ำดังนี้คือ -ความเร็วอินเตอร์เน็ตต้องไม่น้อยกว่า4เม็กกะบิตต่อวินาที -กล้องวีดีโอต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 25 เฟรมต่อวินาที -ไมโครโฟนแบบสเตอริโอ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              1.ใช้งานในการจัดภาระงานสอนในระบบทะเบียน 2.ใช้ในการเชื่อมต่อกับสถาบันพระบรมราชชนกผ่านเครือข่าย VPN 3.เพื่อให้ผู้บริหาร ใช้งานการประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเร็นช์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การใช้งานระบบทะเบียนและประมวลผลการศึกษา

(328)

การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง มิติที่ท้าทาย

การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง มิติที่ท้าทาย
ผู้บันทึก :  นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์, นางยุพิน ทรัพย์แก้ว, นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ และนางสาวมัลลี อุตตมางกูร
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 27 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลภาคใต้
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง มิติที่ท้าทาย
  วันที่บันทึก  6 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง : มิติที่ท้าทายการพยาบาล ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันดับแรกและทวีความรุ่นแรงมาก ขึ้นในศตวรรษที่ 21 เรียกว่าเป็นการระบาด คือ แพร่กระจายทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจากรายงานขององค์การอนามัยโลก ปี คศ.2005 สาเหตุการตายการป่วยและทุพพลภาพร้อยละ 60 เกิดจากเรื้อรัง และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 73 ในปี คศ.2020 (WHO 2002) หากไม่หาทางป้องกันและจัดการอย่างเป็นระบบ รายงานสถานะสุขภาพของคนไทยในปี พ.ศ. 2546 – 2550 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเรื้องรัง ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง จากข้อมูลพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอันดับต้นๆ ก็เป็นภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง คือ โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง นอกจากนี้การเข้าสู่สังคมสูงอายุที่เป็น Baby Boomer แรกซึ่งจะมีอายุ 65 ปี ในปีคศ.2011 กลุ่มผู้สูงอายุนี้จะมีโรคเรื้อรังสะสมเพิ่มขึ้น ที่เกิดโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ และวัยกลางคนและจะเป็นภาวะเรื้อรังหลายอย่าง ข้อมูลขององค์กรอนามัยโลกพบว่าภาวะเรื้อรัง 4 อันดับแรก คือโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระบบบริการสุขภาพจำเป็นจะต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับภาระนี้ และปรับปรุงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรัง ปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้น การพัฒนาการสาธารณสุข Bacteriology , Immunology และเภสัชวิทยา ทำให้อัตราตายจากโรคเฉียบพลันลดลง การประสบความสำเร็จทางการแพทย์มีผลทำให้คนมีอายุยืนยาวเกิดโรคเรื้อรังเพิ่ม ขึ้นและสามารถค้นพบโรคได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การมีอายุยืนยาวมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและโรคที่กลายเป็นภาวะ เรื้อรัง เช่น ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้รอดชีวิตจาก โรคมะเร็งเพิ่มขึ้น วัยรุ่นที่มีอัมพาตจากอุบัติเหตุที่มีชีวิตยืนยาวจากการฟื้นฟูสภาพ และการดูแลต่อเนื่อง จากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถมีชีวิตยืนยาวจากการบำบัดทางไตหรือการปลูก ถ่ายไต การเพิ่มขึ้นและการขยายชุมชนเมืองทำให้ขาดแหล่งประโยชน์และบริการที่จำเป็น สำหรับการมีสุขภาพดี เช่น ที่อยู่อาศัย น้ำดื่ม น้ำใช้ สิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะมูลฝอย ความยากจน ความอดทน ชีวิตความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต ความเครียด และบริการสุขภาพ วิถีชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มอัลกอฮอล์ รับประทานอาหารไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ ความหมายของการเจ็บป่วยเรื้อรัง ความหมายของโรคกับความเจ็บป่วย (DISEASE VS. ILLNESS) โรคและความเจ็บป่วยมีความแตกต่างกันคำว่าโรค หมายถึงภาวะที่วิชาชีพสุขภาพ ให้ความหมายด้วยพยาธิสรีรภาพด้วยรูปแบบชีวภาพการแพทย์เป็นการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย (SIRUCTURE & FUNCTION) ในทางตรงกันข้าม ความเจ็บป่วยเป็นประสบการณ์ของมนุษย์เกี่ยวกับอาการและความทุกข์ทรมาน และมีความหมายถึงการรับรู้ต่อโรคที่เป็นการมีชีวิตอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น และการตอบสนองของบุคคลและครอบครัวแม้ว่าพยาบาลต้องให้ความสำคัญกับพยาธิสภาพ ของโรคเรื้อรัง แต่ต้องเข้าใจประสบการณ์ความเจ็บป่วยด้วยเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย เรื้อรังระยะยาว ความผิดปกติชนิดเฉียบพลันกับเรื้อรัง การเกิดโรคเฉียบพลัน มีอาการเริ่มต้นทันทีทันใด อาการและอาการแสดงเกิดจากกระบวนการของโรค และเกิดในเวลาสั้น มีการฟื้นหายและกลับสู่ปกติหรืออาจเสียชีวิต ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดขึ้นยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด ความอยู่รอดและความตายจะดำเนินไปด้วย การเจ็บป่วยกลายเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล เช่น เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง เข้าสู่ระยะโรคสงบ แต่บุคคลนั้นก็ยังคงถูกตราว่าคนๆ นั้น เป็นมะเร็ง ภาวะเรื้อรังมีหลายลักษณะและแบบแผน การเริ่มเป็นแตกต่างกัน อาจเกิดทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป มีระยะโรคกำเริบหรือเข้าสู่ระยะโรคสงบโดยไม่มีอาการเป็นเวลานาน มีความผาสุกและควบคุมอาการได้ซึ่งต้องอาศัยความสมดุลระหว่างการปฏิบัติตาม แผนการรักษา และรักษาคุณภาพชีวิต (LUBKIN & LARSEN , 2006) ความหมายของภาวะเรื้อรัง (Chronicity) การให้ความหมายของภาวะเรื้อรังมีความซับซ้อน นักวิชาการหลายท่านพยายามให้ความหมาย และมีความแตกต่างกันเริ่มจากคณะกรรมการโรคเรื้อรัง (Commission On Chronic lllness) ซึ่งอธิบายลักษณะของโรคเรื้อรังว่าเป็นความบกพร่องหรือเบี่ยงเบนจากปกติที่ มีลักษณะต่อไปนี้ 1 อย่างหรือมากกว่า คือ (Lubkin & Larsen , 2006 : 5) 1. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร 2. มีความพิการหลงเหลืออยู่ 3. พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับคืนสู่ปกติ 4. ต้องการการฟื้นฟูสภาพ หรือ 5. ต้องการการติดตามเพื่อนิเทศ สังเกตอาการ และการดูแลเป็นระยะเวลานานการประชุม ระดับชาติเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ได้เพิ่มเติมมิติของเวลาเข้าไปในลักษณะของภาวะเรื้อรัง คือ โรคเรื้อรังหรือความบกพร่องที่เกิดขึ้นเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยะ เฉียบพลันเกิน 30 วัน หรือต้องติดตามประเมินและฟื้นฟูสภาพเป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่านั้น องค์การอนามัยโลกได้ให้คำกำจัดความภาวะเรื้อรังว่า (Chronic Conditions) ไปอย่างช้า ๆ ต้องจัดการอย่างต่อเนื่องเป็นปี ๆ หรือสิบ ๆ ปี และมีภาวะปัญหาสุขภาพหลายอย่างมากกว่าคำกำจัดความดั้งเดิมคือความเจ็บป่วย เรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคหืด นอกจากนั้นรวมถึงโรคติดเชื้อ (HIV/AIDS) และความผิดปกติทางจิต (WHO,2002) นอกจากนั้น การให้นิยามของภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเฉพาะบางโรคอาจมีความยากลำบาก เช่น การเกิดโรคมะเร็ง อาจเริ่มต้นก่อนปรากฏอาการหลายปี และเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ การรับประทานอาหาร วิถีชีวิต พันธุกรรม ดังนั้น ระยะเวลาของการเกิดโรคอาจมีการถกเถียงกันว่าเริ่มต้นเมื่อตรวจชิ้นเนื้อหรือ ก่อนหน้านั้นซึ่งมีผลต่อการป้องกันการเกิดโรค การให้ความหมายของความเจ็บป่วยเรื้อรัง เพื่อกำหนดขอบเขตของทิศทางให้ชัดเจนและครอบคลุมขอบเขตของความเรื้อรังไปจน ถึงความพิการ จะพบปัญหาในการวัดความพิการว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย สภาวะและความรุนแรงของโรค แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่น อายุ ระยะพัฒนาการ การปรับตัว การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และความจำกัดในกิจวัตรประจำวัน การให้ความหมายของภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในทัศนะทางการพยาบาลโดย Curtin & Lubkin (1995) ทำให้ความสมบูรณ์ขึ้นและครอบคลุมภาวะต่าง ๆ คือ “การเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไม่สามารถกลับสู่ปกติ ความเสื่อมจากโรคสะสม หรือซ่อนเร้น สงบ หรือมีความบกพร่อง ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของบุคคลเพื่อการดูแลสนับสนุน และการดูแลตนเอง ธำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ และป้องกันภาวะทุพพลภาพที่เพิ่มขึ้น การให้ความหมายนี้ทำให้เข้าใจทุกมิติของความเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบจากความเจ็บป่วย ผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อชีวิตของผู้ป่วยทุกด้าน และมีความแตกต่างของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ ความเสี่ยงและการให้คุณค่า ระบบสนับสนุน และปัจจัยอื่นที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปี เป็น Multiple Sclerosis อาจมีประสบการณ์ความเจ็บป่วยแตกต่างจากผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่อายุเท่ากัน และโรคเดียวกันดังนั้นแต่ละบุคคลจึงมีประสบการณ์ความเจ็บป่วยเป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง ผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรังมีดังนี้ 1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ความเจ็บป่วยเรื้อรังยื่นเข้าไปในทุกระยะของการเจริญเติบโต และพัฒนาการ อาจไม่สามารถกระทำพัฒนกิจในช่วงวัยต่าง ๆ ได้สำเร็จอาจล่าช้า หรือหยุดชะงัก เช่น การเจ็บป่วยในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยกลางคน และวัยสูงอายุ 2. คุณภาพชีวิตกับชีวิตที่ยืนยาว ความสามารถและการประสบความสำเร็จในการปรับตัวต่อ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง มีความหมายต่อคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นคุณค่าที่ต้องใช้ความพยายามและสู้ชีวิตต่อ ไป โรคเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องความเข็มแข็ง อดทน และความแข็งแกร่งซึ่งเป็นโครงสร้างบุคลิกภาพเรียกว่า Hardiness Personality ที่ประกอบด้วยลักษณะของบุคคลที่เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีผลต่อเหตุการณ์ ที่ประสบ (Control) มีความสามารถในการเข้าไปเกี่ยวข้องหรือมีข้อผูกพันอย่างลึกซึ้ง (Commitment) และมองเหตุการณ์อย่างท้าทาย (Challenge) (Kobase,1979) ดังนั้นในโรคเดียวกัน คนแต่ละคนมีความสามารถในการปรับตัวแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับโรค อายุระยะพัฒนาการ ความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพ และการรักษา รวมทั้งครอบครัว และชุมชน และวิชาชีพสุขภาพ/ระบบสุขภาพ 3. อิทธิพลของสังคม สังคมมักให้ความหมายเจ็บป่วย และความอ่อนแอโดยมุ่งที่โรคเป็นหลัก จึงทำให้ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังเสียโอกาส และไม่เกิดผลดี ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังควรจะได้รับการพิจารณาว่าสามารถปรับเปลี่ยนมากกว่าจะมอง ว่าเป็นคนที่ไม่สร้างผลผลิต (Nonproductive) ซึ่งจะนำไปสู่การช่วยเหลือให้เต็มศักยภาพ และมีคุณค่า เกิดผลผลิตได้นอกจากนี้การกำหนดนโยบาย และกฎหมายจะช่วยให้เกิดการสนับสนุนผู้ป่วยเรื้อรัง ลดการตราบาปต่อผู้ป่วย และจัดการทางการเงิน การคลัง 4. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ภาวะเรื้อรังมีผลต่อเศรษฐกิจ การเงิน ค่าใช้จ่าย ทางด้านบริการ สุขภาพ เช่น ผลกระทบจากการเป็นเบาหวาน ที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายโดยตรงและภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถประกอบวิชาชีพ อัตราป่วยก่อนวัยอันควร ซึ่งสถาบันแพทย์เสนอว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่ควรจะมีการปรับปรุงคุณภาพ ของบริการสุขภาพอย่างยิ่ง เมื่อหันกลับมาพิจารณาผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง 5 อย่างหรือมากกว่า ต้องติดตามการรักษา มาตรวจตามนัดถึง 15 ครั้งต่อไป และใช้ยาประมาณ 50 ชนิดต่อไป ที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง และจากสิทธิประโยชน์พึงได้จากรัฐ 5. เจตคติของวิชาชีพสุขภาพต่อภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง วิชาชีพสุขภาพสามารถมีมุมมองเชิงบวก ต่อภาวะเรื้อรังได้ และช่วยบุคคลให้พัฒนาเต็มตามความสามารถ มีมุมมองทางบวกต่อครอบครัว หรือสังคม และในขณะเดียวกัน การมีเจตคติทางลบ มีผลต่อการฟื้นฟูสภาพเช่นเดียวกัน การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังไม่ใช่การดูแลเพื่อช่วยให้รักษาชีวิตที่หน่วยฉุกเฉิน เท่านั้นแต่จำเป็นจะต้องให้ความรู้สนับสนุนการจัดการตนเองกับผู้ป่วยถึงผลใน ระยะยาว และการดูแลต่อเนื่องตามวิถีโคจรของความเจ็บป่วย (Trajectory) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้เสนอระบบการป้องกันและการจัดการภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เรียกว่า Innovative Care for Chronic Conditions (ICCC) ซึ่งเป็นการขยายจากรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (Chronic Care Mode) ของ Wagner , et al (1999) นวตกรรมการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นการเสนอความคิดวิธีการและโปรแกรมใหม่ เพื่อป้องกันและจัดการภาวะเรื้อรัง ซึ่งนวตกรรม (Innovation) มีความหมายว่าบูรณาการองค์ประกอบพื้นฐานจากระดับ Micro,Meso, และ Macro ของระบบบริการสุขภาพ แต่จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ แนวคิดของภาวะเรื้อรังเสียใหม่โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและ ครอบครัว ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญ ผู้ป่วยมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดผลลัพธ์ ผู้ป่วยไม่ได้เป็นเพียงผู้ตามแต่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญที่จะทำให้เกิดสุขภาพ ดี รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง พัฒนาขึ้นโดย Edward H. Wagner ซึ่งเป็นแพทย์ แห่งสถาบัน Group Health Cooperative of Puget Sound’s MacColl Institute for Health Care. Innovation เป็นรูปแบบสำหรับให้การดูแลผู้ป่วยด้วยระบบปฐมภูมิที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เพื่อนำไปใช้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่มีประวัติเสี่ยง เนื่องจากผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ติดบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF โรคหืด และภาวะซึมเศร้าไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องออกแบบใหม่เพื่อมีคุณภาพและได้มาตรฐาน การสร้างรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และกรอบแนวคิดมีลักษณะเปรียบเป็นหมู่ดาว 3 กลุ่ม ที่คาบเกี่ยวกัน ประกอบด้วย 1) ชุมชนทั้งหมด ที่มีแหล่งประโยชน์มากมาย รวมทั้งนโยบายสาธารณะนโยบายเอกชน 2) ระบบบริการสุขภาพรวมถึงระบบการจ่าย และ 3) องค์กรผู้ให้การดูแลไม่ว่าจะเป็นระบบบูรณาการ คลินิก หรือเครือข่าย ในระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่เหมือน 3 หมู่ดาวของจักรวาลนี้ การทำงานอาจช่วยเหลือหรือเป็นอุปสรรคต่อการดูแลให้เต็มที่โดยรูปแบบการดูแล ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ แหล่งประโยชน์ชุมชน และนโยบายชุมชน หน่วยงานบริการสุขภาพ การสนับสนุนการจัดการตนเอง การออกแบบระบบให้บริการ การสนับสนุนการตัดสินใจ และระบบความรู้และข่าวสารทางคลินิก โดยต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ป่วย (ที่รับรู้และมีส่วนร่วม) กับทีม เกิด ผลลัพธ์ทางด้านการทำหน้าที่และผลลัพธ์ทางคลินิก (Bodenheimer, et al 2002) การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง : มิติท้าทายของการพยาบาล การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ท้าทายในศตวรรษที่ 21 คือ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศและของโลกพยาบาลสามารถรับผิดชอบกับภารกิจนี้โดย อาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการศึกษาวิจัย ปรับปรุงโปรแกรมการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง และการใช้หลักการของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังลงสู่การปฏิบัติทางคลินิก ความหมายของสิ่งที่กล่าวว่าท้าทายคืออะไร ผู้ป่วยเรื้อรังเป็นประชากรที่มีความต่าง เช่น ปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต และอื่นๆ ถึงแม้ว่ามีความต่าง แต่ความเหมือน คือไม่หายขาด ต้องการการรักษาตลอดชีวิต ต้องติดตาม และจำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะ การจัดการตนเองเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์สุขภาพ และหลีกเลี่ยงการกำเริบของการเจ็บป่วย (WHO, 2002) ในขณะที่ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ทุกวัย ตลอดกระบวนการของชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังจึงแตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยเฉียบพลัน ในสถานการณ์ปัจจุบันมักมุ่งที่การรักษาภาวะเฉียบพลัน ซึ่งถ้าความสนใจน้อยกับการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยครอบครัว การป้องกันและการให้การดูแลต่อเนื่องการดูแลที่เกิดผลลัพธ์ทางบวกต่อรูปแบบ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (chronic care model) ของ Wangner และคณะคือผลลัพธ์ทางคลินิกและความสามารถในการทำหน้าที่ ส่วน Innovative care for chronic condition (ICCC) ซึ่งปรับโดยองค์การอนามัยโลก ที่อ้างว่าจะเหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนาด้วย แนวคิดหลักของรูปแบบทั้ง 2 นี้ต้องการวางแผนการดูแลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างระบบบริการ สุขภาพที่ต้องเริ่มจากการเชื่อมโยง การเตรียม การให้ข้อมูล และการเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว ทีมสุขภาพ และชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง การใช้ภาวะผู้นำและมีแรงดึงดูดใจ การจัดระบบระเบียบ และเตรียมทีมสุขภาพ สนับการจัดการตนเองและป้องกันปัญหา พัฒนาและกระตุ้นให้ใช้ระบบข้อมูล และกำหนดนโยบายของสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิก และความสามารถในการทำหน้าที่/คุณภาพชีวิต สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ (ICN) เป็นองค์กรวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับภาวะเจ็บป่วย เรื้อรัง โดยการกำหนดหัวข้อในวันพยาบาลสากล ปี คศ.2010 “พยาบาลนำชุมชนสร้างสรรค์คุณภาพ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง” ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบต่อความรุนแรงของปัญหา และความเร่งด่วนในการร่วมแก้ปัญหา และรวมพลังพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้ด้วยฐานคิดหลักของวิชาชีพการพยาบาล เช่น การดูแลสุขภาพองค์รวม ปรัชญาการดูแลตนเองการดูแลที่มุ่งผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการดูแล และการดูแลต่อเนื่องล้วนเป็นรากฐานสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง Bodenheimer , McGregor และ Stothart (2005) อ้างว่าพยาบาลเป็นผู้นำในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังจากหลายการศึกษาแสดงให้เห็น ถึงบทบาทหลักของพยาบาลในการใช้องค์ประกอบของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จากหลายการศึกษาแสดงให้เห็นถึงบทบาทหลักของพยาบาลในการใช้องค์ประกอบของรูป แบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การสื่อสารมีประสิทธิภาพ การใช้กลวิธีและฝึกทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พยาบาลเป็นผู้นำ (nurse led program) ที่มีผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อุปสรรคที่เกิดขึ้น คือการศึกษา การจ่ายประกัน และบางสถาบันใช้พยาบาลไม่คุ้ม ซึ่งต้องขจัดอุปสรรคเหล่านี้ด้วยการพัฒนาศักยภาพและการเตรียมทางด้านการ ศึกษา และการฝึกอบรม จากการปฏิบัติการพยาบาลทั่วไปและการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ที่เป็นการจัดการกลุ่มผู้ป่วย (Care management) และการจัดการรายกรณีในผู้ที่มีปัญหาซับซ้อน รวมทั้งการสร้างระบบบริการผู้ป่วยเรื้อรัง สรุป ความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง มีความซับซ้อน ที่เป็นความต้องการซึ่งเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยและการรักษา ความต้องการโดยทั่วไป และความต้องการในระยะพัฒนาการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นการดูแลระยะยาว ที่เป็นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วยครอบครัว และทีมสุขภาพ รวมถึงแวดล้อมและแหล่งประโยชน์ในชุมชน การจัดการดูแลตนเอง เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยบริการสุขภาพที่ต้องเสริมพลังให้กับผู้ป่วยและครอบ ครัวพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวพยาบาลมีบทบาทสำคัญมากในระบบสุขภาพ ที่มีส่วนร่วมในทีมสุขภาพ เพื่อป้องกันและจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เริ่มตั้งแต่ประชาชนที่มีสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังที่อาการรุนแรงและโรคก้าวหน้า รวมทั้งผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต การออกแบบระบบการดูแล แนวคิด การดูแลตนเองต่อเนื่องในการดูแลการดูแลที่มุ่งผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์ กลาง แนวคิดหลักเหล่านี้ถูกเตรียมมาในวิชาชีพการพยาบาลซึ่งช่วยให้การดูแลผู้เจ็บ ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การเรียนการสอนรายวิชาทางการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในคลินิกและในชุมชน

(745)

คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 ประชากรและสังคม 2553

คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 ประชากรและสังคม 2553
ผู้บันทึก :  นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 1 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 ประชากรและสังคม 2553
  วันที่บันทึก  29 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประชุมวิชาการประจำปีนี้ คือการพิจารณาถึงความยืนยาวของชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนไปถ้าเทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน นั่นคือ คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีร่างกายที่แข็งแรง หากเรามีการปรับเปลี่ยนคำนิยามใหม่ของผู้สูงอายุว่าหมายถึง ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็น 65 ปี ขึ้นไปให้สอดคล้องกับปรากฎการณ์การเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ยที่เหลืออยู่ ผลการเปลี่ยนคำนิยาม “ผู้สูงอายุ” การเปลี่ยน นิยามผู้สูงอายุจาก 60 ปีขึ้นไป เป็นอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุเกษียณจากการทำงานในองค์กรต่างๆทั้งทางรัฐและเอกชนแต่ ละองค์กรอาจกำหนดอายุเกษียณแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน การเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุตามที่เสนอนี้ น่าจะมีผลตามมาอีกหลายประการคือ 1. เมื่อเราเปลี่ยนนิยามของผู้สูงอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปีขึ้นไปแล้วเราก็สามารถเปรียบเทียบตัวชึ้วัดเกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศ ไทยกับนานาประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะผู้สูงอายุตามนิยามที่ใช้กันอยู่เป็นสากล คือ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 2. นิยามใหม่ จะทำให้จำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรรุ่นอายุ 60-64 ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสามของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมด ประชากรกลุ่มนี้น่าจะไปรวมอยู่กับประชากรวัยแรงงาน ซึ่งจะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่ประชากรสูงอายุลดจำนวน ลง 3. เมื่อเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุย่อมกระทบกับสวัสดิการที่รัฐจะจัดสรรให้กับผู้ สูงอายุการให้สวัสดิการผู้สูงอายุโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ย่อมแตกต่างจากเริ่มเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไปอย่างมาก เพราะจำนวนคนที่ได้รับสวัสดิการจะลดน้อยลงไปปีละประมาณ 2.5 ล้านคน ในแต่ละปี การให้สวัสดิการบำนาญหรือเบี้ยยังชีพต่างๆก็จะลดระยะเวลาลง ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงประชากรประการหนึ่งคือเรา ต้องตระหนักว่า ประชากรสูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นอย่างเร็วมากในขณะที่ประชากรรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นช้า หรือเกือบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยแล้ว ขณะที่คลื่นประชากรไทยเฉพาะ “รุ่นเกิดล้าน” ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2506-2526 กำลังเคลื่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในอีก 13 ปีข้างหน้า คนรุ่นเกิดล้านจะมีอายุครบ 60 ปี หากยังไม่เปลี่ยนนิยามคนรุ่นนี้จะเป็นคลื่นประชากรสูงอายุที่ใหญ่มากจนยากจะ จินตนาการ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – ปรับปรุงเนื้อหาแนวการพัฒนาด้านการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดนิยามใหม่ – นำความรู้ แนวคิดใหม่มาพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อการวิจัยเชิงคุณภาพ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน

(434)

การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ
 ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 2 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 5 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ
  วันที่บันทึก  9 ก.ค. 2553

 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการ ประชุม มีดังนี้ ความรู้เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ ๑. บันได ๘ขั้นของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ -โจทย์คำถามวิจัย – ออกแบบการวิจัยรวมทั้งวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล – เก็บรวบรวมบันทึกและจัดการแฟ้มข้อมูล – อ่านทำความเข้าใจและจับประเด็นหลักที่สอดคล้องกับโจทย์ – ให้รหัสข้อมูล – แยกแยะและจัดทำกลุ่มข้อมูล – เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาแบบแผนและความหมาย -หาข้อสรุปที่เป็นสาระหลักเพื่อตอบโจทย์ ๒. การให้รหัสข้อมูล (coding)หรือการทำดัชนีข้อมูล (indexing categories) คือ การจัดระบบข้อมูลโดยการคิดเลือกคำบางคำเพื่อมาใช้ในการจำแนกข้อมูล จัดกลุ่มหรือจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่รวบรวมจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ(การติด ป้ายชื่อ)เพื่อให้รู้ว่าข้อความไหนเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลและการตีความข้อมูล ๓. ขั้นตอนการให้รหัส/ทำดัชนีข้อมูล – เตรียมรายการคำข้อความไว้ชุดหนึ่ง -ปรับปรุง(รหัส/ดัชนี)ไว้ชุดหนึ่ง -เพิ่มเติมรหัส/ดัชนีใหม่ ตัดรหัส/ดัชนี เก่า -ทำคำจำกัดความของรหัส/ดัชนี ตัดสินใจว่าจะใช้รหัส/ดัชนี ตัวนั้นว่าอะไร -อ่านบันทึกภาคสนามและเขียนรหัส/ดัชนี ตรงกับข้อความในบันทึก ๔. ประเภทของการให้รหัส -การให้รหัสแบบเปิด ( open- coding ) -การให้รหัสตามแนวคิดที่สัมพันธ์กัน ( axial/theoretical coding ) -การให้รหัสแบบคัดสรร หรือการหาแก่นของเรื่อง ( selective/focused coding ) ๕. การเขียนรายงาน/บทความ การวิจัยเชิงคุณภาพ องค์ประกอบของรายงาน -ชื่อเรื่อง -บทคัดย่อหรือสารสังเขป -บทนำ -วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง -ระเบียบวิธีวิจัย -ผลการศึกษา -สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ -ส่วนอื่นๆ ข้อควรพิจารณาในการเขียนรายงาน/บทความ -ความถูกต้อง -ความครบถ้วนสมบูรณ์ ลักษณะพิเศษของรายงานเชิงคุณภาพ -ข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นความบรรยายให้เห็นภาพชัดเจน -ผู้เขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพควรมีทักษะในการเขียนอย่างดี


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การผลิตผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ

(563)

ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ

ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ซื้อหนังสือ
  เมื่อวันที่ : 4 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 7 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ศูนย์บรรณสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ
  วันที่บันทึก  15 มิ.ย. 2553

 รายละเอียด
               ในการเดินทางไปดูหนังสือจากร้านค้า และสำนักพิมพ์ต่างๆทั่วประเทศ ได้เดินทางไป ร่วมกับบรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์ วิทยพัฒนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในวันที่ 4 เมษายน 2553 เดินทางไปดูหนังสือที่ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากมีหนังสือเล่มจริง และสามารถเปิดดูเนื้อหาภายในหนังสือได้ และอ. นภาวรรณ ได้คัดเลือกหนังสือบางเล่ม โดยออกเป็นใบเสนอราคา ส่วนใน วันที่ 6 เมษายน 2553 เดินทางไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ พร้อมกับคณะ เพื่อตรวจสอบและค้นหาเอกสาร ตำราวิชาการ ซึ่งมีร้านค้าจากสำนักพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก พบปัญหาคือ สำนักพิมพ์ไม่สามารถนำหนังสือตำรามาวางได้หมด จึงดูได้จากรายการหนังสือบางส่วน และไม่สามารถออกเป็นใบเสนอราคาให้ก่อนได้ แต่มีข้อดีในกรณีที่ต้องการหนังสือประเภทอื่น เช่น นวนิยาย หนังสือสุขภาพสำหรับประชาชน ฯลฯ เนื่องจากมีส่วนลด 70 %ของราคาหนังสือหากห้องสมุดที่ต้องการหนังสือประเภทดังกล่าว สามารถซื้อได้ในราคาถูก ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 1. เตรียมตัวก่อนไปซื้อหนังสือ – เช็คหนังสือแต่ละหมวด(8ภาควิชา)ได้แก่หนังสือทางการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลพื้นฐานและวิชาชีพทางการพยาบาล จริยศาสตร์และกฎหมายทางการพยาบาล การพยาบาลสูติศาสตร์ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต การพยาบาลอนามัยชุมชน การบริหารและการวิจัยทางการพยาบาลและหนังสือหมวดวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่หนังสือทางด้านการพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ชีวเคมี โภชนาการ ฟิสิกส์ เคมี พยาธิ จิตวิทยา และหนังสือเกี่ยวกับโรคต่างๆ – นำรายการหนังสือในแต่ละภาควิชาที่มีอยู่ในห้องสมุดว่ามีหนังสืออะไรบ้าง และให้อาจารย์ในแต่ละภาควิชาดูว่าต้องการหนังสืออะไรเพิ่มเติม – จากที่อาจารย์แต่ละภาคดูแนวโน้มการต้องการหนังสือพบว่าอาจารย์ต้องการ หนังสือด้านการพยาบาลและสาขาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าประกอบ การเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา เช่น – ภาควิชาสูติศาสตร์เพิ่มหนังสือ ได้แก่สูติศาสตร์ ของรามา จุฬา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และการพยาบาลสูติศาสตร์ระยะคลอด – ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงในการ พยาบาล และการป้องกันความเสี่ยงในการพยาบาล – ภาควิชาจริยศาสตร์และกฎหมายเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล การคุ้มครองสิทธิผู้ร่วมวิจัย และเกี่ยวกับสิทธิเด็ก – ภาควิชาพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ การส่งเสริมสุขภาพ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดัน การตรวจพิเศษต่างๆ การจัดการความเจ็บปวด การล้มเหลวของของอวัยวะ การบำบัดในภาวะวิกฤต การประเมินสุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สมองเสื่อม และหนังสือเกี่ยวกับการพยาบาลโรคตับ / ต่อมไร้ท่อ มะเร็ง เป็นต้น – ภาควิชาบริหารและการวิจัยเพิ่มหนังสือ ได้แก่ บริหารการพยาบาลในชุมชน ภาวะผู้นำทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล การทำงานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล – ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ 1. การบำบัดแบบต่างๆ เช่นพฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด 2. ยาเสพติดและการพยาบาล เช่น แอลกอฮอล์ กระท่อม กัญชา 3. โรคจิตเภท 4. โรคซึมเศร้า 5. การพยาบาลทางจิตเวช 6. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น 7. จิตวิทยา จิตวิทยาพัฒนาการ – ภาควิชาการพยาบาลเด็ก เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ การส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งเด็กปกติและเด็กป่วย(ทุกช่วงวัย) และหนังสือการพยาบาลเด็กเฉพาะโรค – ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ กระบวนการเยี่ยมบ้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย และนวตกรรมใหม่ๆทางสาธารณสุข – ภาควิชาการศึกษาทั่วไป เพิ่มหนังสือ ได้แก่ 1. ชีวเคมีกับการประยุกต์ใช้ทางสุขภาพ 2. ชีวเคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. พยาธิสรีรวิทยาของเซลล์ เช่น พันธุวิศวกรรม พยาธิสรีรกับการพยาบาล พันธุ์ศาสตร์ของเซลล์ 4. โภชนบำบัด 5. ทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย 6. เพศศึกษา : ในวัยเจริญพันธุ์ 7. นวัตกรรมทางการพยาบาล 8. จุลชีวสำหรับพยาบาล 9. การตรวจ Lab และตรวจพิเศษสำหรับพยาบาล 10. เศรษฐศาสตร์สำหรับพยาบาล 2. ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การเลือกหนังสือ 1.เลือกให้ตรงกับนโยบายและสอดคล้องกับหลักสูตรของวิทยาลัย 2. ดูงบประมาณ 3. ดูเนื้อหาให้มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อผู้ใช้มากที่สุด 4. ดูผู้แต่ง 5. จำนวนครั้งที่พิมพ์ 3. สิ่งที่ได้อื่นๆ – ได้รู้จักแหล่งสำนักพิมพ์ และร้านจำหน่ายหนังสือเพิ่มขึ้น – ได้ดูหนังสือหลากหลายจากสำนักพิมพ์ต่างๆและที่สำคัญได้ดูเนื้อหาจากตัวเล่ม จริงๆ – ต้องการหนังสืออ่านคลายเครียด เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ด้านสุขภาพสำหรับประชาชน ลดราคา 70% – จากที่ได้ไปร่วมกับเครือข่ายในครั้งนี้ มีความสัมพันธ์ในการทำงานมากขึ้น แต่ในการเลือกซื้อหนังสือแต่ละสถาบันก็ไปเลือกของสถาบันตัวเอง เพราะแต่ละสถาบันจัดการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เขาจะเลือกหนังสือทุกภาควิชาของเขา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เขาจะเลือกหนังสือเกี่ยวกับด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 4. ข้อเสนอแนะ – ตัวแทนอาจารย์ในแต่ละภาควิชาเป็นผู้คัดเลือกหนังสือ และเวลาอาจารย์ไปประชุม ถ้ามีเวลาช่วยให้อาจารย์แวะไปดูหนังสือที่ศูนย์จุฬาลงกรณ์หรือที่แหล่งใกล้ ที่ประชุม – และจากการไปในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ได้ไปกับอาจารย์จำนวน 1 ท่าน คืออาจารย์นภาวรรณ เพราะได้ปรึกษาหารือในการเลือกหนังสือแต่ถ้าอาจารย์ไปมากกว่านี้ก็ดีเพราะจะ ได้หนังสือที่ตรงกับภาควิชาที่สอนหรือได้หนังสือหลากหลาย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              แนวทางการคัดเลือกและสั่งซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลด้านการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด

(301)