ผู้บันทึก : นายสิงห์ กาญจนอารี | |
กลุ่มงาน : งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายบริหาร | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการ | |
เมื่อวันที่ : 2 มี.ค. 2553 ถึงวันที่ : 5 มี.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ | |
วันที่บันทึก 9 ก.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการ ประชุม มีดังนี้ ความรู้เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ ๑. บันได ๘ขั้นของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ -โจทย์คำถามวิจัย – ออกแบบการวิจัยรวมทั้งวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล – เก็บรวบรวมบันทึกและจัดการแฟ้มข้อมูล – อ่านทำความเข้าใจและจับประเด็นหลักที่สอดคล้องกับโจทย์ – ให้รหัสข้อมูล – แยกแยะและจัดทำกลุ่มข้อมูล – เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาแบบแผนและความหมาย -หาข้อสรุปที่เป็นสาระหลักเพื่อตอบโจทย์ ๒. การให้รหัสข้อมูล (coding)หรือการทำดัชนีข้อมูล (indexing categories) คือ การจัดระบบข้อมูลโดยการคิดเลือกคำบางคำเพื่อมาใช้ในการจำแนกข้อมูล จัดกลุ่มหรือจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่รวบรวมจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ(การติด ป้ายชื่อ)เพื่อให้รู้ว่าข้อความไหนเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลและการตีความข้อมูล ๓. ขั้นตอนการให้รหัส/ทำดัชนีข้อมูล – เตรียมรายการคำข้อความไว้ชุดหนึ่ง -ปรับปรุง(รหัส/ดัชนี)ไว้ชุดหนึ่ง -เพิ่มเติมรหัส/ดัชนีใหม่ ตัดรหัส/ดัชนี เก่า -ทำคำจำกัดความของรหัส/ดัชนี ตัดสินใจว่าจะใช้รหัส/ดัชนี ตัวนั้นว่าอะไร -อ่านบันทึกภาคสนามและเขียนรหัส/ดัชนี ตรงกับข้อความในบันทึก ๔. ประเภทของการให้รหัส -การให้รหัสแบบเปิด ( open- coding ) -การให้รหัสตามแนวคิดที่สัมพันธ์กัน ( axial/theoretical coding ) -การให้รหัสแบบคัดสรร หรือการหาแก่นของเรื่อง ( selective/focused coding ) ๕. การเขียนรายงาน/บทความ การวิจัยเชิงคุณภาพ องค์ประกอบของรายงาน -ชื่อเรื่อง -บทคัดย่อหรือสารสังเขป -บทนำ -วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง -ระเบียบวิธีวิจัย -ผลการศึกษา -สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ -ส่วนอื่นๆ ข้อควรพิจารณาในการเขียนรายงาน/บทความ -ความถูกต้อง -ความครบถ้วนสมบูรณ์ ลักษณะพิเศษของรายงานเชิงคุณภาพ -ข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นความบรรยายให้เห็นภาพชัดเจน -ผู้เขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพควรมีทักษะในการเขียนอย่างดี
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การผลิตผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ |
(564)