ผู้บันทึก : นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 1 ก.ค. 2553 ถึงวันที่ : 1 ก.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 ประชากรและสังคม 2553 | |
วันที่บันทึก 29 ก.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การประชุมวิชาการประจำปีนี้ คือการพิจารณาถึงความยืนยาวของชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนไปถ้าเทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน นั่นคือ คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีร่างกายที่แข็งแรง หากเรามีการปรับเปลี่ยนคำนิยามใหม่ของผู้สูงอายุว่าหมายถึง ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็น 65 ปี ขึ้นไปให้สอดคล้องกับปรากฎการณ์การเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ยที่เหลืออยู่ ผลการเปลี่ยนคำนิยาม “ผู้สูงอายุ” การเปลี่ยน นิยามผู้สูงอายุจาก 60 ปีขึ้นไป เป็นอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุเกษียณจากการทำงานในองค์กรต่างๆทั้งทางรัฐและเอกชนแต่ ละองค์กรอาจกำหนดอายุเกษียณแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน การเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุตามที่เสนอนี้ น่าจะมีผลตามมาอีกหลายประการคือ 1. เมื่อเราเปลี่ยนนิยามของผู้สูงอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปีขึ้นไปแล้วเราก็สามารถเปรียบเทียบตัวชึ้วัดเกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศ ไทยกับนานาประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะผู้สูงอายุตามนิยามที่ใช้กันอยู่เป็นสากล คือ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 2. นิยามใหม่ จะทำให้จำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรรุ่นอายุ 60-64 ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสามของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมด ประชากรกลุ่มนี้น่าจะไปรวมอยู่กับประชากรวัยแรงงาน ซึ่งจะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่ประชากรสูงอายุลดจำนวน ลง 3. เมื่อเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุย่อมกระทบกับสวัสดิการที่รัฐจะจัดสรรให้กับผู้ สูงอายุการให้สวัสดิการผู้สูงอายุโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ย่อมแตกต่างจากเริ่มเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไปอย่างมาก เพราะจำนวนคนที่ได้รับสวัสดิการจะลดน้อยลงไปปีละประมาณ 2.5 ล้านคน ในแต่ละปี การให้สวัสดิการบำนาญหรือเบี้ยยังชีพต่างๆก็จะลดระยะเวลาลง ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงประชากรประการหนึ่งคือเรา ต้องตระหนักว่า ประชากรสูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นอย่างเร็วมากในขณะที่ประชากรรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นช้า หรือเกือบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยแล้ว ขณะที่คลื่นประชากรไทยเฉพาะ “รุ่นเกิดล้าน” ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2506-2526 กำลังเคลื่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในอีก 13 ปีข้างหน้า คนรุ่นเกิดล้านจะมีอายุครบ 60 ปี หากยังไม่เปลี่ยนนิยามคนรุ่นนี้จะเป็นคลื่นประชากรสูงอายุที่ใหญ่มากจนยากจะ จินตนาการ
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
– ปรับปรุงเนื้อหาแนวการพัฒนาด้านการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดนิยามใหม่ – นำความรู้ แนวคิดใหม่มาพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อการวิจัยเชิงคุณภาพ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
- การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน |
(435)