ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ

ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ซื้อหนังสือ
  เมื่อวันที่ : 4 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 7 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ศูนย์บรรณสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ขออนุญาตไปซื้อหนังสือและสื่อการศึกษาในงานสัปดาห์แห่งชาติ
  วันที่บันทึก  15 มิ.ย. 2553

 รายละเอียด
               ในการเดินทางไปดูหนังสือจากร้านค้า และสำนักพิมพ์ต่างๆทั่วประเทศ ได้เดินทางไป ร่วมกับบรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์ วิทยพัฒนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในวันที่ 4 เมษายน 2553 เดินทางไปดูหนังสือที่ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากมีหนังสือเล่มจริง และสามารถเปิดดูเนื้อหาภายในหนังสือได้ และอ. นภาวรรณ ได้คัดเลือกหนังสือบางเล่ม โดยออกเป็นใบเสนอราคา ส่วนใน วันที่ 6 เมษายน 2553 เดินทางไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ พร้อมกับคณะ เพื่อตรวจสอบและค้นหาเอกสาร ตำราวิชาการ ซึ่งมีร้านค้าจากสำนักพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก พบปัญหาคือ สำนักพิมพ์ไม่สามารถนำหนังสือตำรามาวางได้หมด จึงดูได้จากรายการหนังสือบางส่วน และไม่สามารถออกเป็นใบเสนอราคาให้ก่อนได้ แต่มีข้อดีในกรณีที่ต้องการหนังสือประเภทอื่น เช่น นวนิยาย หนังสือสุขภาพสำหรับประชาชน ฯลฯ เนื่องจากมีส่วนลด 70 %ของราคาหนังสือหากห้องสมุดที่ต้องการหนังสือประเภทดังกล่าว สามารถซื้อได้ในราคาถูก ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 1. เตรียมตัวก่อนไปซื้อหนังสือ – เช็คหนังสือแต่ละหมวด(8ภาควิชา)ได้แก่หนังสือทางการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลพื้นฐานและวิชาชีพทางการพยาบาล จริยศาสตร์และกฎหมายทางการพยาบาล การพยาบาลสูติศาสตร์ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต การพยาบาลอนามัยชุมชน การบริหารและการวิจัยทางการพยาบาลและหนังสือหมวดวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่หนังสือทางด้านการพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ชีวเคมี โภชนาการ ฟิสิกส์ เคมี พยาธิ จิตวิทยา และหนังสือเกี่ยวกับโรคต่างๆ – นำรายการหนังสือในแต่ละภาควิชาที่มีอยู่ในห้องสมุดว่ามีหนังสืออะไรบ้าง และให้อาจารย์ในแต่ละภาควิชาดูว่าต้องการหนังสืออะไรเพิ่มเติม – จากที่อาจารย์แต่ละภาคดูแนวโน้มการต้องการหนังสือพบว่าอาจารย์ต้องการ หนังสือด้านการพยาบาลและสาขาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าประกอบ การเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา เช่น – ภาควิชาสูติศาสตร์เพิ่มหนังสือ ได้แก่สูติศาสตร์ ของรามา จุฬา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และการพยาบาลสูติศาสตร์ระยะคลอด – ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงในการ พยาบาล และการป้องกันความเสี่ยงในการพยาบาล – ภาควิชาจริยศาสตร์และกฎหมายเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล การคุ้มครองสิทธิผู้ร่วมวิจัย และเกี่ยวกับสิทธิเด็ก – ภาควิชาพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพิ่มหนังสือเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ การส่งเสริมสุขภาพ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดัน การตรวจพิเศษต่างๆ การจัดการความเจ็บปวด การล้มเหลวของของอวัยวะ การบำบัดในภาวะวิกฤต การประเมินสุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สมองเสื่อม และหนังสือเกี่ยวกับการพยาบาลโรคตับ / ต่อมไร้ท่อ มะเร็ง เป็นต้น – ภาควิชาบริหารและการวิจัยเพิ่มหนังสือ ได้แก่ บริหารการพยาบาลในชุมชน ภาวะผู้นำทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล การทำงานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล – ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ 1. การบำบัดแบบต่างๆ เช่นพฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด 2. ยาเสพติดและการพยาบาล เช่น แอลกอฮอล์ กระท่อม กัญชา 3. โรคจิตเภท 4. โรคซึมเศร้า 5. การพยาบาลทางจิตเวช 6. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น 7. จิตวิทยา จิตวิทยาพัฒนาการ – ภาควิชาการพยาบาลเด็ก เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ การส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งเด็กปกติและเด็กป่วย(ทุกช่วงวัย) และหนังสือการพยาบาลเด็กเฉพาะโรค – ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน เพิ่มหนังสือเกี่ยวกับ กระบวนการเยี่ยมบ้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย และนวตกรรมใหม่ๆทางสาธารณสุข – ภาควิชาการศึกษาทั่วไป เพิ่มหนังสือ ได้แก่ 1. ชีวเคมีกับการประยุกต์ใช้ทางสุขภาพ 2. ชีวเคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. พยาธิสรีรวิทยาของเซลล์ เช่น พันธุวิศวกรรม พยาธิสรีรกับการพยาบาล พันธุ์ศาสตร์ของเซลล์ 4. โภชนบำบัด 5. ทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย 6. เพศศึกษา : ในวัยเจริญพันธุ์ 7. นวัตกรรมทางการพยาบาล 8. จุลชีวสำหรับพยาบาล 9. การตรวจ Lab และตรวจพิเศษสำหรับพยาบาล 10. เศรษฐศาสตร์สำหรับพยาบาล 2. ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การเลือกหนังสือ 1.เลือกให้ตรงกับนโยบายและสอดคล้องกับหลักสูตรของวิทยาลัย 2. ดูงบประมาณ 3. ดูเนื้อหาให้มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อผู้ใช้มากที่สุด 4. ดูผู้แต่ง 5. จำนวนครั้งที่พิมพ์ 3. สิ่งที่ได้อื่นๆ – ได้รู้จักแหล่งสำนักพิมพ์ และร้านจำหน่ายหนังสือเพิ่มขึ้น – ได้ดูหนังสือหลากหลายจากสำนักพิมพ์ต่างๆและที่สำคัญได้ดูเนื้อหาจากตัวเล่ม จริงๆ – ต้องการหนังสืออ่านคลายเครียด เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ด้านสุขภาพสำหรับประชาชน ลดราคา 70% – จากที่ได้ไปร่วมกับเครือข่ายในครั้งนี้ มีความสัมพันธ์ในการทำงานมากขึ้น แต่ในการเลือกซื้อหนังสือแต่ละสถาบันก็ไปเลือกของสถาบันตัวเอง เพราะแต่ละสถาบันจัดการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เขาจะเลือกหนังสือทุกภาควิชาของเขา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เขาจะเลือกหนังสือเกี่ยวกับด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 4. ข้อเสนอแนะ – ตัวแทนอาจารย์ในแต่ละภาควิชาเป็นผู้คัดเลือกหนังสือ และเวลาอาจารย์ไปประชุม ถ้ามีเวลาช่วยให้อาจารย์แวะไปดูหนังสือที่ศูนย์จุฬาลงกรณ์หรือที่แหล่งใกล้ ที่ประชุม – และจากการไปในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ได้ไปกับอาจารย์จำนวน 1 ท่าน คืออาจารย์นภาวรรณ เพราะได้ปรึกษาหารือในการเลือกหนังสือแต่ถ้าอาจารย์ไปมากกว่านี้ก็ดีเพราะจะ ได้หนังสือที่ตรงกับภาควิชาที่สอนหรือได้หนังสือหลากหลาย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              แนวทางการคัดเลือกและสั่งซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลด้านการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด

(302)

Comments are closed.