ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัยในสังกัด

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัยในสังกัด
 ผู้บันทึก :  นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฎิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 30 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 31 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิทยาลัยในสังกัด
  วันที่บันทึก  13 ก.ย. 2553

 รายละเอียด
               เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ติดตั้งและตั้งค่าระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใหม่ที่พัฒนาโดยสบช. (วสส.ชลบุรีเป็นผู้พัฒนาหลัก) แล้วให้วิทยาลัยแต่ละแห่งนำข้อมูลต่างๆมาทำการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลเพื่อ การตัดสินใจ กระผมได้ทำการติดตั้งไว้ที่เซิฟเวอร์ของวิทยาลัยคือ http://58.137.175.54/manage และได้ทำการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลเดิมที่มีมาลงบางส่วนลงไปแล้วคือ ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลความเชี่ยวชาญ และข้อมูลครุภัณฑ์ ส่วนข้อมูล การเงิน ข้อมูลแผนฯ ข้อมูลงานวิจัยและข้อมูลงานประกันฯยังไม่ได้บันทึกลงฐานข้อมูลเนื่องจากไม่ ได้ส่งผู้เข้าประชุมตามที่สบช.ได้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบข้อมูลเข้าร่วม บันทึกข้อมูลด้วย ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้รับผิดชอบข้อมูลที่ยังไม่ได้บันทึกลง มาทำการรับรหัสผ่านและศึกษาวิธีการลงข้อมูลภายใน เดือนกันยายน 2553 ต่อไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การติดตั้งและตั้งค่าระบบฐานข้อมูล

(257)

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
 ผู้บันทึก :  นาง อารยา วชิรพันธ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 29 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 1 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย  สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสาตร์  จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่   วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ซึ่งใช้วิธีการสอนแบบเก็บข้อมูลโดยจากตามสภาพจริง  และเน้นหัวใจความเป็นมนุษย์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ประยุกต์การจัดการเรียนแบบเก็บข้อมูลโดยจากตามสภาพจริงและเน้นหัวใจความเป็นมนุษย์  ในปีการศึกษาต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(346)

สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข

สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข
ผู้บันทึก :  นางสาวมัลลี อุตตมางกูร และนางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 28 เม.ย. 2554   ถึงวันที่  : 29 เม.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะสาธารณสุขศาสตร์
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

ภาวะวิกฤตในโลกเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องเผชิญ ซึ่งมีประเด็นที่เด่นชัด คือ

1. โรคอุบัติใหม่

2. โรคอุบัติซ้ำ

3. ภาวะวิกิฤตเศรษฐกิจ

4. ความมั่นคงทางอาหาร

           ซึ่งทั้ง 4 ประเด็นมีความเชื่อมโยงกันและกัน   โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ  อัตราป่วยยังไม่ลดลง การรักษาพยาบาลมีความซับซ้อนมากขึ้น  ใน 30 ปีที่ ผ่านมาพบเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำเป็นจำนวนมากกว่า 30 เชื้อ  ซึ่งเกิดจากมีสารเคมีต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมส่งผลให้นิเวศวิทยาไม่สมดุล  การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง   เชื้อไม่เคยก่อโรคกลับเปลี่ยนแปลงมาเป็นเชื้อก่อโรคได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคที่คงอยู่ในสัตว์ กลับมาก่อโรคในคน  เช่น โรคไข้หวัดนก โคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  เป็นต้น    จากภาวะโรคร้อนเกิดการระบาดของมาลาเรียในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิด  เช่น ภูฎาน   โรคไข้เลือดออกพบในหลากหลายประเทศมากขึ้น  เช่นเดียวกับโรคที่นำด้วยแมลง

               ภาวะวิกฤตเศษรฐกิจเกิดทั่วโลก  ได้รับผลกระทบที่ประเทศพัฒนาแล้ว  ประเทศกำลังพัฒนา   ประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือประเทศยากจนทั่วโลก  ได้รับผลกระทบในการจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขโดยตรง จึงเป็นโอกาสนำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพ

                ภาวะโลกร้อน  ผลกระทบโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  มีผลทำให้เกิดอุบัติภัยตั้งแต่น้ำท่วม  ดินถล่ม  ไซโคลน  เฮอร์ริเคน  ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  ทำให้บางพื้นที่ทรัพยากรน้ำจะขาดแคน  รวมทั้งผลกระทบต่อการเกิดโรค  ปัญหาการเกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคไม่ติดต่อ

                ภาวะวิกฤตทางอาหารเกิดขึ้นเนื่องจากมีพหุปัจจัยตั้งแต่ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น  ความต้องการผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้น  และการนำผลิตภัณฑ์ด้านอาหารไปทำพลังงานทดแทน  ภาวะวิกฤตด้านอาหารเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร  สุขอนามัยของอาหาร  ภาวะวิฤกตทางอาหารส่งผลต่อโรคไม่ติดต่อในเด็ก  เช่นโรคโลหิตจาง  การขาดสารอาหารยังมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

                นอกจากภาวะวิกฤตดังกล่าว  มีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการคือ

                                1). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

                                2.).จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

                 โดยสรุปมีข้อเสนอแนะดังนี้

                1). ดำเนินการเชิงรุกในการป้องกัน

                2).สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและยั่งยืน

                3). ส่งเสริมระบบสาธารณสุขมูลฐาน

                4).รักษาสมดุลระหว่างการป้องกันอย่างเท่าเทียม ให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันและรักษา

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(272)

การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก

การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก
  ผู้บันทึก :  นายอนุศิษฏ์ ศรีเมือง
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 19 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 21 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  29 ก.ค. 2553

 รายละเอียด
               ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์ 1. มีนโยบายการประชาสัมพันธ์ และแผนการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก 2. ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้การสนับสนุนกระตุ้นด้านการจัดกิจกรรมและงบ ประมาณ 3. หาพันธมิตรช่วยในการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ 4. จัดหาบุคลากรที่มีใจรักมาทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ มี Service mind ทำงานด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ 5. จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทันสถานการณ์ และน่าสนใจของกลุ่มเป้าหมาย สถาบันพระบรมราชชนก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันพระบรมราชชนก” ระดมความคิดเห็นนักประชาสัมพันธ์ในเครือข่าย ร่วมพัฒนา วางแผนและกำหนดทิศทางการประชาสัมพันธ์องค์กร ปี 2524 – 2556 เดินหน้าสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ที่เข้มแข็งในอนาคต เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 เวลา 9.30 น. นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง“การพัฒนาเครือข่ายประชา สัมพันธ์สถาบันพระบรมราชชนก” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันพระบรมราชชนก พัฒนาแผนการประชาสัมพันธ์องค์กรให้มีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการระดมความคิดเห็นจากนักประชาสัมพันธ์ในเครือข่ายเพื่อร่างแผนการ ดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2554 – 2556 รวมทั้งให้นักประชาสัมพันธ์ได้พัฒนาทักษะด้านการวางแผนการประชาสัมพันธ์และ ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี ตลอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการประชาสัมพันธ์อย่างกว้าง ขวาง ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันพระบรมราชชนกให้เข้มแข็งใน อนาคต โดยได้รับเกียรติจาก นางจินตนา แพ่งนุเคราะห์ ที่ปรึกษาด้านการตลาด ในเครือบริษัท วังขนาย จำกัด เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันพระบรมราชชนกมีนโยบายเสริมสร้างความร่วมมือของเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนกในส่วนกลางและวิทยาลัยในสังกัด ที่เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเผยแพร่บทบาทภารกิจให้สาธารณชนได้รับ รู้และเข้าใจ ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงกันเพื่อสร้างความยอมรับ ศรัทธาแก่บุคลากรในสถาบันและสาธารณชนภายนอก โดยใช้กลวิธีที่หลากหลายทั้งการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอก นอกจากนี้ควรจัดให้มีระบบการรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อ สร้างความศรัทธาให้เกิดแก่องค์กร เช่น การจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้านสุขภาพ หรือโพล ทั้งนี้การจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ควรมีความสอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน คือเป็นแผนกิจกรรมร่วมกัน 70% และแผนกิจกรรมเฉพาะแต่ละวิทยาลัย 30% ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ทั้งในกลุ่มอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา การจัดทำโพลด้านสุขภาพ การจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แผนกิจกรรมภาพรวมและแผนกิจกรรมของวิทยาลัย ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของงานประชาสัมพันธ์ การกำหนดกรอบอัตรากำลังและขอบเขตงานของนักประชาสัมพันธ์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์สถาบัน โดยสถาบันพระบรมราชชนกจะได้นำข้อสรุปที่ได้เสนอผู้บริหาร และเสนอเรื่องการประชาสัมพันธ์ไว้ในแผนกลยุทธ์ปี 2554 ของสถาบันและวิทยาลัย รวมทั้งเร่งจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ของสถาบันฯส่วนกลาง ปี 2554 และจัดทำทำเนียบผู้รับผิดชอบงานด้านประชาสัมพันธ์วิทยาลัยในสังกัดต่อไป


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – ปรับปรุงใช้ในงานประชาสัมพันธ์ทั้งทางเชิงรุก แผนระยะสั้นและระยะยาว ในงานขององค์กร


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การทำงานประชาสัมพันธ์ในการสื่อสารกับเครือข่ายวิทยาลัยยาบาลทั่วประเทศและสถาบันพระบรมราชชนก

(250)

การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”

การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
ผู้บันทึก :  นางเกษร ปิ่นทับทิม,นางธมลวรรณ แก้วกระจก และ นางยุพิน ทรัพย์แก้ว
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ”
  วันที่บันทึก  15 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               1. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ปกติร่างกายของคนเราจะมีการสร้างและทำลายของกระดูกที่สมดุลกัน ถ้าขาดความสมดุลของการสร้างและการทำลายก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ภาวะกระดูกพรุนพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะในผู้หญิงจะมีการทำลายกระดูกมากจากระดับฮอร์โมน เพศหญิงลดลง ส่วนในผู้ชายเกิดจากการสร้างกระดูกน้อยโดยเฉพาะในคนที่ดื่มสุรา ในการรักษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ป้องกันการเกิดการหักซ้ำของกระดูก ลดโอกาสเสี่ยง พัฒนากระดูก คงความหนาแน่นของมวลกระดูกไว้ ลดปวด ลดความพิการหรือผิดรูป การรักษาได้แก่ 1) ไม่ผ่าตัด ไม่รับประทานยา วิธีนี้ดีที่สุดเพราะเป็นการเข้าใจโรค การป้องกัน / ลดความเสี่ยง ซึ่งได้แก่ การดื่มนมเพื่อเสริมแคลเซี่ยม การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง (เต้าหู้ทอดเป็นก้อน น้ำเต้าหู้ ปลาทะเลตัวเล็ก เนื้อสัตว์ ธัญพืช ผัก) ดื่มกาแฟไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน ไม่ดื่มสุรา (การดูดซึม แคลเซี่ยมไม่ดี) ออกกำลังกายที่ถูกต้อง ตรวจวัดมวลกระดูก รับแสงแดดบ้าง 2) การรักษาโดยการใช้ยา ควรเลือกใช้ยาที่สร้างมากกว่าทำลายกระดูก ได้แก่ ยา Calcitonin, bisphophonate และ protaxose การให้ฮอร์โมน (parathyroid hormone) และวิตามินเค และดี 2. Alternative medicine ประกอบด้วย การแพทย์แผนจีน ได้แก่ การนวดในผู้ป่วยเรื้อรัง นวด กดจุดบรรเทาอาการอาเจียน การใช้ค้อนเคาะกระตุ้นผิวหนัง อ้ายเขียวใช้บรรจุสมุนไพร และครอบแก้วใช้กระตุ้นจุดลมปราณ การฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ โรคหลอดเลือดสมอง โรคภูมิแพ้ ส่วนการแพทย์แผนไทยได้แก่ การใช้ลูกประคบเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนโลหิต ฤษีดัดตน การรับประทานสมุนไพร เช่น ใบบัวบก ฟ้าทะลายโจรเพื่อแก้เจ็บคอ เวลามีไข้ หนาวต้องกินสมุนไพรร้อนๆ สมุนไพรถ้ารับประทานมากเกินไปและต่อเนื่องอาจมีผลต่อตับได้ 3. Neuropathic pain เป็นการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการรับรู้ ความรู้สึกของเส้นประสาท โดยมีสาเหตุมาจาก การบาดเจ็บ โรคทางเมตาบอลิซึม (เบาหวาน) การติดเชื้องูสวัด HIV และมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งความปวดจะทำให้คุณภาพชีวิตถดถอย ส่วนการวินิจฉัยพบว่า ลักษณะการปวดจะเป็นแบบเข็มทิ่มๆแทงๆ หรือพบว่าโรคได้หายไปแล้วแต่มาปวดทีหลัง การรักษาเน้นที่การลดอาการปวดให้มากที่สุด อยู่กับมันให้ได้ เพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่ นั่งสมาธิปฏิบัติธรรม และการระงับปวดนั้นมีหลายวิธี เช่น การใช้ยา ได้แก่ ยาต้านการซึมเศร้า การต้านการชัก Opioids ยาทา capsaicin ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น การผ่าตัดกรณีเส้นประสาทเสียไป และเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในกรณีเป็นงูสวัดต้องรีบรักษาเพื่อไม่ให้ปวดเรื้อรัง 4. การปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) อาการปวดหลังพบได้บ่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกเสื่อม เส้นเอ็นอักเสบ รากประสาทอักเสบ กระดูกหัก ยุบ การรักษาอาการปวดมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ลดปวด อักเสบ เกร็ง โดยการรับประทานยาแก้ปวด/อักเสบ/ เกร็ง 2) ไปหานักกายภาพบำบัดให้ดึง ขยำ 3) ไปหาแพทย์ทางเลือกให้ฝังเข็ม หลักในการรักษานั้นเพื่อลดปวด สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ที่สำคัญต้องใช้ยาระงับปวดให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่ควรให้ยามากจนทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้อาเจียน และหลับตลอดเวลา การรักษาอาการปวด สามารถรักษาได้หลายวิธี เช่นการให้ยาลดปวด ซึ่งมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) Non-opioids ได้แก่ paracetamol, NSAIDs และSelective COX-2 Inhibitors 2) Opioids ได้แก่ Weak opioids (Codeine, Tramadol) และ Strong opioids (Morphine, Fentanyl) 3) Adjuvants ได้แก่ antidepressants และ anticonvulsants นอกจากให้ยาแล้วยังมีการรักษาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ คือ การจัดท่านั่งที่ถูกต้อง โดยการนั่งหลังตรง ขาเหยียบพื้น คอไม่ก้ม เอียงเกินไป เลือกเก้าอี้ที่รองรับหลังได้เต็มที่ ขาเก้าอี้ไม่ใช้ล้อเลื่อน โซฟาต้องไม่นิ่มเกินไป นอกจากนี้ควรมีการบริหารร่างกายโดยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ซึ่งท่าบริหารหมอนรองกระดูกเคลื่อน ได้แก่ ท่าแอ่นหลัง ท่าคู้เข่า เหยียดกล้ามเนื้อน่อง ยืดกล้ามเนื้อสะโพก เป็นต้น 5. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (Exercise for Aging) การออกกำลังกายทำให้ช่วยชะลอความเสื่อมความสูงวัยได้ การออกกำลังกายอาจอันตรายได้ถ้าไม่ได้ตรวจร่างกายดูก่อน ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ทำให้หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น จิตใจ อารมณ์แจ่มใส สบายใจ สมองแจ่มใสความจำดีขึ้น การคัดกรองก่อนการออกกำลังกาย จะมองหาปัญหาสุขภาพที่เป็นข้อจำกัด/ออกแบบชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะสม ปกติจะแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม 1) สุขภาพแข็งแรงดี ไม่ต้องตรวจร่างกาย 2) มีความเสี่ยง ควรพบแพทย์ตรวจร่างกาย 3) มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก่อนออกกำลังกาย ควรทำการทดสอบ Senior Fitness Test (SFT) เป็นการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา ความยืดหยุ่น BMI การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้แก่ Chiar Stand Test เป็นการทดสอบโดยการลุกนั่งจากเก้าอี้เพื่อดูกำลังขา Arm Curl Test เป็นการทดสอบโดยการหิ้วของ ยกน้ำหนักประมาณ 5 ปอนด์เพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนว่ามีกำลังพอหรือไม่ 6-Minute Walk Test โดยการเดินไกลในเวลา 6 นาที ว่าเดินได้ประมาณกี่หลา เป็นการฝึกความทนว่าเหนื่อยไหม การวัด body mass index (normal ไม่เกิน 23) ข้อมูลของการตรวจสอบที่ได้จะช่วยบอกแนวทางในการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับ ผู้สูงวัยได้ องค์การอนามัยโลกได้แบ่งคนสูงวัยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ร่างกาย Fit 2) ร่างกายไม่ Fit 3) ร่างกายไม่ Fit อ่อนปวกเปียก มีโรคประจำตัวมาก หลักในการออกกำลังกายของกลุ่มที่ 1 ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2ให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนกลุ่มที่ 3 เน้นให้ช่วยเหลือตนเองเท่าที่ทำได้ องค์ประกอบของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ คือ ต้องเป็นแบบแอโรบิค เน้นความแข็งแรง ยืดหยุ่น การใช้หน้าที่ของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว ก่อนออกกำลังกายควรตรวจว่ามีอาการเจ็บหน้าอก มีโรคประจำตัว มีไข้หรือไม่ถ้ามีควรงด ชนิดของการออกกำลังกาย มีทั้ง Aerobic exercise เป็นการออกกำลังกายใช้กล้ามเนื้อเป็นจังหวะนาน 10 นาทีขึ้นไป Strength Training Exercise เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Flexible Exercise การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น Balance Training Exercise เป็นการออกกำลังกายเพื่อดูการทรงตัว เซหรือไม่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา-น่อง เป็นต้น ดังนั้นการออกกำลังกายใน ผู้สูงวัยควรทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมในวันเดียว ควรวัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตก่อน ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ควรค่อยๆออกกำลังกายทำเท่าที่ทำได้ เบาๆก่อน 6. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของความพิการได้มาก ในคนสูงอายุ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามโรคนี้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของข้อต่อ โดยมีการทำลายของกระดูกอ่อนมากกว่าการสร้าง อาการสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ปวดข้อ การอักเสบซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่มีการทำลายกระดูกอ่อนแล้วก่อให้เกิด ปัจจัยที่ไปกระตุ้นกระบวนการอักเสบขึ้นใน น้ำไขข้อ (synovial fluid) พบว่าในข้อที่เสื่อมจะมีการสร้าง cytokines และสารสื่อชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอักเสบขึ้นมาเป็นปริมาณมาก ลักษณะผิวข้อที่พบ คือ ผิวข้อบวม ขุย ถลอก มีรอยแยก และผิวข้ออาจหายไปเลย อัตราการเกิดข้อเสื่อมนั้นในอายุน้อยกว่า 30 ปีพบได้ 1% , อายุน้อยกว่า 40 ปี พบได้ 10% , อายุมากกว่า 60 ปี พบได้ 50% และอายุมากกว่า 75 ปีพบได้ 100% การรักษาโรคข้อเสื่อม มีทั้งการให้คำแนะนำและการใช้ยา การให้คำแนะนำ โดยให้ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายที่พอเหมาะเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยพยุงกระดูก งดการออกกำลังกายที่ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก สำหรับการใช้ยา ยาที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ยาที่รักษาตามอาการ แบ่งออกเป็น 1.1 ยาบรรเทาปวด (analgesics) และยาบรรเทาการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ยาบรรเทาปวดที่ใช้กันมากได้แก่ paracetamol ส่วนยากลุ่ม NSAIDs มีทั้งชนิดที่เป็น cyclooxygenase (COX) nonspecific inhibitors เช่น ibuprofen, diclofenac ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญคือ ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ชนิด COX-2 selective inhibitors เช่น nimesulide, nabumetone ชนิด COX-2 specific inhibitors เช่น celecoxib เป็นยาระคายเคืองต่อทางเดินอาหารน้อย 1.2 Slow-acting, anti-osteoarthritic drugs ยาจะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบของโรคข้อเสื่อมได้ ไม่ระคายเคืองทางเดินอาหาร 2. ยาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการรุดหน้าของโรค (disease modifying-anti-osteoarthritic drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช่วยปกป้องเซลล์กระดูกอ่อนไม่ให้ถูกทำลายและช่วยซ่อมแซม กระดูกอ่อนส่วนที่ถูกทำลายไป ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ diacerein ช่วยบรรเทาอาการของโรคข้อเสื่อมได้ดี ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ใช้รับประทานในขนาดครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลครอบครัว และชุมชน และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลครอบครัว และชุมชน และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ – การสอนภาคปฏิบัติ ณ สถานีอนามัย ชุมชน และหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง


(333)