โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ผู้บันทึก :  นางอารยา วชิรพันธ์ และ นาง จิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 มี.ค. 2555   ถึงวันที่  : 2 มี.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2555


 รายละเอียด
   โครงการผลิตและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์(E–learning)  วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา  และ วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา  วิเคราะห์ปัญหา  อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนและได้เลือกเนื้อหาในการที่จะนำมาทำเป็น E–learning  เช่น  การซักประวัติ   การตรวจร่างกาย   การแปลผลทางห้องปฏิบัติการ  การทำหัตถการต่างๆ

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(279)

“พิชิตวัย กายใจพร้อม”

“พิชิตวัย กายใจพร้อม”
 ผู้บันทึก :  นางเกษร ปิ่นทับทิม และคณะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 ต.ค. 2554   ถึงวันที่  : 20 ต.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  “พิชิตวัย กายใจพร้อม”
  วันที่บันทึก  6 ธ.ค. 2554


 รายละเอียด
๑) การบรรยายเรื่อง  “โรคหลอดเลือดสมอง ในผู้สูงวัย”   โดย ศ.พญ. นิจศรี   ชาญณรงค์ ซึ่งมีสาระดังนี้  โรค หลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในอายุมากขึ้นตั้งแต่ อายุ ๔๕ ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยง มีทั้งชนิดแก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ ซึ่งได้แก่ อายุมากขึ้น พันธุกรรม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง  รอบเอวสูง การวินิจฉัยจากอาการ จะเป็นปุ๊บปั๊บพบว่าหลังตื่นนอนจะมีอาการปากเบี้ยวโดยไม่ทราบสาเหตุ พูดผิดปกติ (พูดไม่ออก ไม่รู้เรื่อง) แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก โดยไม่มีอาการเตือน ส่วน TIA ก็เสี่ยงต่อการเกิด Stroke สูง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวควรรีบพามาโรงพยาบาลให้เร็วเพราะจะส่งผลให้การ รักษาได้ผลดี การรักษาให้ยาละลายลิ่มเลือดถ้าให้ยาเร็ว เซลล์ยังไม่ตาย พิการน้อย แต่ถ้ามาช้าสมองขาดเลือดมาก ยาละลายลิ่มเลือดก็ช่วยไม่ได้ เพราะเซลล์ตายแล้ว การตรวจเรียกว่า “Stroke Track” พบ ๓ อาการ คือ ปากเบี้ยว พูดผิดปกติ และแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก นอกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วยังต้อง General management ได้แก่ Airway  ไม่ลดความดัน  ลดไข้ ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง Absolute bed rest  ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำโดยหาสาเหตุ ได้แก่ โรคของหลอดเลือดแข็ง  มีไขมัน หลอดเลือดเล็กๆอุดตัน  และหัวใจ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ รับประทานข้าวขาหมู ท้ายที่สุดต้องฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ           

           ๒) การบรรยายเรื่อง  “การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอย่างเป็นองค์รวม”   โดย                  นพ.วสันต์  อัครธนวัฒน์  ซึ่งมีสาระดังนี้  โรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่มีอาการหลงลืม  สมาธิ สั้นลง การลดภาวะเสื่อมของสมองเพิ่มขึ้น โดยการกระตุ้นให้พูดคุย การทำกิจวัตรประจำวัน เบี่ยงเบนพฤติกรรม การรักษามี ๒ แบบคือการใช้ยา และไม่ใช้ยา  ปัญหาของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีดังนี้ ๑) การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ (พูดไม่ถูกต้อง/พูดหลายภาษา) วิธีการรับมือ คือ สบตาให้รู้ว่าเรากำลังสื่อสาร เรียกชื่อ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ไม่ควรพูดนินทาลับหลัง ใช้คำพูดนุ่มนวลขึ้น  ๒) ปัญหาการนอน นอนกลางวันมาก แก้ไขโดยการ ลดการนอนกลางวัน ทำกิจกรรมหนักๆในช่วงเช้า เที่ยง เลี่ยงกิจกรรมหนักๆมื้อเย็น ไม่ควรจัดห้องนอนใหม่บ่อยๆ งดเครื่องดื่มกระตุ้นสมอง เช่น กาแฟ ๓) อาการหลงผิดและประสาทหลอน วิธีรับมือ โดยการอย่าโต้เถียงสิ่งที่ผู้ป่วยเห็นหรือได้ยิน ให้ความมั่นใจว่าปลอดภัย เบี่ยงเบนความสนใจ ๔) หวาดระแวง วิธีรับมือ หลีกเลี่ยงการโต้เถียง บอกให้รู้ว่าเป็นใคร แสดงความรัก จับมือโอบกอด ให้ดูภาพเก่าๆ จัดเตรียมของใช้สำรองที่ผู้ป่วยใช้ประจำ เช่น แว่นตา กุญแจ ๕) พฤติกรรมก้าวร้าว วิธีรับมือ ตั้งรูปถ่ายรูปเดิมๆที่เขาชอบ ลดเสียงรบกวนในห้อง ใช้กายสัมผัส ลดเครื่องดื่มที่กระตุ้นสมอง  ป้องกันตนเองจากการโดนทำร้าย ๖) การหลงทาง                  วิธีรับมือ ติดป้ายข้อมือมีชื่อ เบอร์โทรศัพท์ แจ้งเพื่อนบ้านรอบๆว่าถ้าเจอให้ช่วยพากลับบ้านด้วย ๗) คุ้ยหรือซ่อนของ  วิธีรับมือ ให้เก็บวัตถุอันตรายให้พ้นผู้ป่วย ไม่ทิ้งอาหารค้างคืนไว้ในตู้เย็น ไปห้องไม่ให้รื้อค้น                ถังขยะมีฝาปิดมิดชิด  การ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในบ้าน โดยการแบ่งโซนความปลอดภัย ระวังพื้นเปียกจะล้มได้ พื้นต่างระดับให้ทาสีให้แตกต่างกัน ใช้สิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคยเช่น ขันน้ำเดิมๆ ที่หน้าห้องให้ติดรูปผู้ป่วยไว้

 ๓) การบรรยายเรื่อง  “ Alzheimers disease ”   โดย ผศ. นพ.สุขเจริญ  ตั้งวงษ์ไชย  ซึ่งมีสาระดังนี้  ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) กลุ่มอาการที่แสดงถึงความเสื่อมหรือถดถอยการทำงานของสมองพุทธิปัญญา และเชาว์ปัญญา  ความ ผิดปกติของความจำ มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน มีปัญหาพฤติกรรม การเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลตนเองและหน้าที่การงาน เป็นภาระแก่ครอบครัวและผู้ดูแล โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ เป็นอาการสมองที่เกิดขึ้นเองเนื่องจากความชราภาพ มักเกิดขึ้นหลังอายุ ๖๕ ปี ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ อายุที่มากขึ้น เป็นเพศหญิง พันธุกรรมและครอบครัว ** การศึกษาสูงเนื้อสมองมาก เกิดภาวะสมองเสื่อมน้อย การพยายามใช้สมองจะทำให้สมองไม่เสื่อม ** ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ปัจจัยปกป้องการออกกำลังกายเป็นประจำ  รับประทานปลาโอเมก้า ๓ (ปลาทู)

ระยะต่างๆของโรคมีดังนี้ ๑) ระยะเริ่มต้น : มีอาการหลงลืม หลงทิศทาง อารมณ์แปรปรวน ๒) ระยะรุนแรงปานกลาง : ความ จำเสื่อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆไม่ได้ อารมณ์เศร้า ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการนอน อาการหลงผิด ประสาทหลอน บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ๓) ระยะรุนแรงมาก : มีปัญหาภาษา การขับถ่าย ระดับการ           รู้สติ  การ เคลื่อนไหว อาการของโรคสมองเสื่อมมีดังนี้ หลงลืม ความสามารถของพุทธิปัญญาบกพร่อง ปัญหาพฤติกรรม เช่น วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน สับสน ก้าวร้าว กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ส่วนปัญหาทางระบบประสาท ตัวแข็งเกร็ง กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ กลืนลำบาก สำลัก เดินไม่ได้ นอนบนเตียง สื่อสารด้วยภาษาไม่ได้ การดำเนินของโรค จะ เริ่มต้นเมื่ออายุ มากกว่า ๖๐ ปี แล้วอาการจะเสื่อมลงเรื่อยๆ อาการรุนแรงภายใน ๕ ปี และจะเสียชีวิตด้วยสาเหตุการติดเชื้อ ปอดบวม ขาดสารอาหาร และขาดน้ำ ซึ่งระยะต่างๆของโรค การวินิจฉัย การซักประวัติ (ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าสมองเสื่อมมักบอกว่าความจำไม่มีปัญหา)  การตรวจร่างกาย/ระบบประสาท การตรวจสภาพจิต การตรวจ cognitive function การตรวจคัดกรองด้วยแบบทดสอบทางจิตประสาท และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลที่           ตรวจ พบคือ ความเสื่อมของระดับเชาว์ปัญญา และพุทธิปัญญา อาการเสื่อมค่อยเป็นค่อยไป ทวีความรุนแรงตามกาลเวลา อาการเริ่มต้นในช่วงอายุ ๔๐- ๖๐ ปี ไม่พบสาเหตุเนื่องจากโรคทางกายหรือโรคระบบประสาทอื่นๆ การรักษา ๑) การใช้ยา ยาที่ใช้ในการบำบัดได้แก่ ยาปรับความจำ ยาจิตประสาทปรับพฤติกรรม  ยาต้านอาการทางจิต ยาต้านเศร้า ยานอนหลับ ยาปรับอารมณ์ /ความก้าวร้าว ยาป้องกันอนุมูลอิสระ วิตามิน E, B, C ฮอร์โมน เพศหญิง ยาลดไขมัน และยารักษาปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดตีบตัน ๒) การจัดการกับปัญหาพฤติกรรม (กำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองหาสิ่งกระตุ้นและผลที่เกิดจากสิ่งกระตุ้น วางแผนการจัดการกับปัญหาและสิ่งกระตุ้น ดำเนินการตามแผน ประเมินผลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปัญหา ในชีวิตประจำวันที่พบได้แก่ ปัญหาความจำ การติดต่อสื่อสาร ภาษา ที่พัก ห้องน้ำ สุขอนามัย การแต่งกาย อนามัยช่องปากและฟัน อาหารและน้ำ การเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย นอกจากนั้น ปัญหาที่ควรปรึกษาแพทย์ คือ หกล้ม มีไข้ เป็นหวัด ปอดบวม แผลกดทับ ไม่รับประทานอาหารและน้ำ ท้อง ผูก ชัก เกร็งกระตุก การให้ยาหรืออาหารเสริม และอาการแย่ลงอย่างเฉียบพลัน การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม นั้นต้องหาผู้ช่วย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เข้าใจโรคของผู้ป่วย รู้จักปรับตัว มองโลกในแง่ดี ใจเย็น อดทน สับเปลี่ยนเวรเจ้าหน้าที่ หาเวลาพักผ่อนคลายเครียด คำนึงถึงคุณภาพชีวิต ประเด็นสำคัญที่ต้องดูแลได้แก่ การช่วยเรื่องความจำ การพูดคุยสื่อสาร ปัญหาการขับถ่าย พฤติกรรมก้าวร้าว /วุ่นวาย พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม และผู้ป่วยซึมเศร้า ประสาทหลอน หลงผิด ปัญหาการนอน การขับถ่าย เป็นต้น

๔) การบรรยายเรื่อง  “ Alzheimers disease ”   โดย ศ.พญ.ทรงขวัญ  ศิลารักษ์  ซึ่งมีสาระดังนี้ Acute coronary syndrome  กับอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่คงที่ (Unstable angina)  ถี่ ขึ้นบ่อยขึ้น แสดงว่าเป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกตอนออกแรง ยกของ เดินขึ้นบันได หรือมีการเจ็บครั้งใหม่ เจ็บถี่ขึ้น /นานขึ้นจากเดิม เจ็บขณะนอนพัก ถ้าเป็น Acute MI จะเจ็บหน้าอกมากกว่า ๑/๒ ชม. EKG Change (ST elevate) ซึ่งอาการดังกล่าวเสียชีวิตสูงมาก อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่คงที่ (Unstable angina)  ในผู้สูงวัยอายุมากกว่า ๖๐ ปี มักพบอาการ เจ็บหน้าอก เหมือนมีกล่องหนักๆทับที่หน้าอก                   แสบ หน้าอก ปวดจุกแน่นที่หน้าอกบริเวณลิ้นปี่ เจ็บร้าวไปที่ฟัน ปวดฟัน ปวดคอ ปวดกราม ร้าวไปหลัง ปวดเหมือนผ้าพันคอรัดแน่น เหงื่อแตกท่วมตัว วู๊บๆ คลื่นไส้อาเจียน, มีอาการเหนื่อย (ภาวะหัวใจล้มเหลว)           ญาติมักจะนำผู้ป่วยมาที่ตึก ER หลังเวลา ๐๑.๐๐-๐๒.๐๐ น. แพทย์ต้องรีบ Run EKG เพราะผู้ป่วยอาจ Suddent death ทุกราย  โรคร่วมที่ควรจะนึกถึงคือ เบาหวาน เพราะมีอาการเหงื่อแตกเช่นเดียวกันแต่ผล DTX ปกติ แสดงว่าเป็น MI และโรคความดันโลหิตสูง /COPD การรักษา ให้ยาต้านเกร็ดเลือด และต้านทรอมบิน ใส่บอลลูน ฉีดสี และ ๑) Anti-ischemic therapy  ได้แก่ Nitroglycerin and nitrates (อมใต้ลิ้น ทางปาก หลอดเลือดดำ) , Beta- blockers, Calcium Antagonists ๒) Anti- Thrombotic therapyได้แก่ Anti-Pletelets :Aspirin, Ticlopidine  Anti- coagulants : Unfractionated Heparin ๓) Thrombotic agents : acute STEMI ๔) Clopidogrel ควร Refer ผู้ป่วยเมื่อ: อายุมากกว่า ๖๕ ปี, เป็นเบาหวาน (จะทำให้ Suddent death), Severe symtome pain มาก, ให้ Aspirin ตลอดเวลา , ให้ยาแล้วไม่หาย pain , EKG Change (ST elevate) และ Blood Pressure drop                                


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลครอบครัว

และชุมชน และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
การสอนภาคปฏิบัติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านพระเพรง และตึกผู้ป่วย อายุรกรรม ศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

(468)

มิติใหม่ ด้านบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ

มิติใหม่ ด้านบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 5 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 7 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  มิติใหม่ ด้านบริการและการจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ
  วันที่บันทึก  16 ก.ย. 2553

 รายละเอียด
               เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนสภาพการใช้งานโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM 6.0 (Union Library Management) ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถทำงานร่วมกับห้องสมุดมาตรฐานระดับ สากลเพราะจัดเก็บฐานข้อมูลวัสดุสารสนเทศโดยใช้มาตรฐาน MARC สามารถโอนถ่ายข้อมูลกับระบบห้องสมุด มาตรฐาน ได้ทั่วประเทศ โดยมีโครงสร้าง 3 ส่วน คือ 1. เจ้าหน้าที่สูงสุด (ผู้ดูแลระบบ) 2. บรรณารักษ์ 3. ผู้เข้าใช้ บริการทางหน้าเว็บไซด์ และเป็นระบบฐานข้อมูลห้องสมุดซึ่งใช้ในการจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทต่างๆ เช่นหนังสือ วารสาร สื่อโสต เพื่อให้แหล่งสารสนเทศหรือห้องสมุดมีระบบอัตโนมัติที่ได้มาตรฐานการใช้งาน และสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบห้องสมุดอื่น ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหาข้อมูลได้หลากหลายและสะดวก


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM 6.0


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การบันทึกข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดลงฐานข้อมูล


(280)

การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน

การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน
ผู้บันทึก :  นางเกษร ปิ่นทับทิม นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์ นางยุพิน ทรัพย์แก้ว นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ นางสาววิชชุตา สนธิเมือง และ นายสมเกียรติ ทองศรีแก้ว
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 23 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
  จังหวัด :  พัทลุง
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2554


 รายละเอียด
การปาฐกถาพิเศษเรื่อง  “การจัดการสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย ศ.ดร. จรัญ  จันทลักขณา  ซึ่งมีสาระดังนี้  ๑. สุขภาวะในที่นี้คือ ความผาสุก (ภาวะอันพึงปรารถนา), ความสุข ประกอบด้วย สุขภาวะทางกาย (อยู่ดี กินดี) ทางใจ (อยู่ดี มีสุข) ทางสังคม (ชีวิตอบอุ่น)  และทาง          จิต วิญญาณ (อิ่มบุญ – ปล่อยวาง) ๒. สุขภาวะชุมชน คือ สุขภาวะของกลุ่มคน ซึ่งประกอบด้วย ๑) สุขภาวะของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย ๒) สุขภาวะของการอยู่ร่วมกัน หรือสุขภาวะสังคม ๓. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในที่นี้คือการบริหารจัดการมุ่งให้คนมีความสุข พอเพียงเรื่องเงิน พึ่งตนเองได้ เป็นเข็มทิศไม่ตกเป็นทาสของเงิน วัตถุนิยม (ซื้อของจากต่างประเทศ) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย ๑) ความพอประมาณ (เราเป็นใคร มีความจำเป็นอะไร เพียงใด) ๒) ความมีเหตุผล (ทำสิ่งใดให้คำนึงถึงความสมเหตุสมผล ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฐานะ) ๓) การมีภูมิคุ้มกัน (การดำเนินชีวิตและอาชีพต้องไม่ประมาท ไม่ใช้เงินอนาคต เช่น มีรายได้เพียง ๑๐ ส่วน ให้เก็บออมก่อน ๒ ใช้จ่ายเพียง ๘) และทำบัญชีชีวิตภายใต้ ๒ เงื่อนไข คือ ใช้ความรู้ คู่คุณธรรม ๔) ทางสายกลาง (มรรค ๘) สำหรับดำเนินชีวิตและงาน เช่น สัมมาทิฐิ ๕) ความพอเพียง ความพอดี ต้องใช้ธรรมะบริหารจัดการกิเลศ ๖) การจัดการสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการจัดการโดยใช้ธรรมโดยมุ่งความดี ความสุขจากภายในของบุคคลก่อให้เกิดสุขภาวะชุมชน โดยการเป็นคนธรรมดา มีชีวิตแบบธรรมดา ยึดถือ ธรรมะ

การจัดการสุขภาวะชุมชนแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ๑. ด้านสุขภาพ ได้แก่ ๑) กิจกรรม “กันดีกว่าแก้” เป็นการสร้างภูมิต้านทานโดยยึดหลัก “อโรคยา ปรมาลาภา ” อาศัยหลักการอยู่ดี – กินดี – มีกำลัง ๒) กิจกรรมส่งเสริมพลานามัย เน้นการออกกำลังกายแบบพอเพียงและเหมาะสม การเล่นกีฬาพื้นบ้าน ๓) ส่งเสริมการแพทย์แผนไทย : ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยวิทยาการสากล ๒. ด้านจิตใจ ๑) กิจกรรมตามรอย         พระ ยุคลบาท เรื่องการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ส่งเสริมศาสนกิจ และการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม ๓) กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสุขภาวะ  ๔) กิจกรรมตอบแทนบุญคุณพ่อแม่และบรรพชนขอบคุณพระเจ้า เทวดา (ตามประเพณีชุมชน) ๓. ด้านการกินอยู่  ๑)ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อการผผลิตอาหารปลอดภัย ๒) กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ๔. ด้านสังคม ๑) การเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องสำหรับส่งเสริมสุขภาวะ ไม่ส่งเสริมการบริโภคอาหารขยะ ๒) ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลของผู้สูงอายุยืนยาว ให้รางวัลและสวัสดิการแก่ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปีขึ้นไป  ๓) จัดกิจกรรม “สังคมเอื้ออารี” เช่นกองทุนเงินออมชุมชน ธนาคารข้าว เป็นต้น 

              ๒) การบรรยายพิเศษ  เรื่อง การจัดการสุขภาวะชุมชน : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน  

โดย ดร. เสรี  พงศ์ พิศ ซึ่งมีสาระดังนี้ ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การกินอยู่พอดี มีความสุข สร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น ใช้ความรู้และปัญญา/ การให้ การแบ่งปัน และมองสุขภาพของชุมชนว่า ต้องมีอาหารกิน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง/ ธรรมชาติ/ สังคม/ ส่วนรวม ต้องสร้างสุขภาพที่ไม่ต้องไปหาหมอ  มีต้องหาทรัพยากรในท้องถิ่นให้พบ เพื่อ ทำกิน ทำใช้เอง นั่นคือการพึ่งตนเองได้  การ พัฒนาที่ยั่งยืนมี ๓ มิติ คือ ๑) รอด (หนี้) เป็นการหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ ปัญหาหนี้สิน ทางตันของชีวิต ๒) พอเพียง (ระบบ) เข้มแข็งด้วยระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง ๓) ยั่งยืน (เครือข่าย) มั่นคง ยืนหยัดได้ในโลกาภิวัฒน์  ขุมทรัพย์ในชุมชนต้องมี ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ส่วนระบบสุขภาพชุมชนนั้น มีการแพทย์แผนปัจจุบัน การดูแลรักษาสุขภาพตนเองด้วยภูมิปัญญาบูรณาการ ความมั่นคงด้านอาชีพและสวัสดิการ และความมั่นคงด้านอาหาร ๑)โดยมองสุขภาพว่าเป็น ชีวภาพ ปลอดสาร การกิน การอยู่ การทำงาน ๒) การศึกษา (ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจโลก) ๓) การพักผ่อนหย่อนใจ (การท่องเที่ยว ดนตรี กีฬา) ๔) ศิลปวัฒนธรรม (ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ๕) จิตวิญญาณ (สมาธิ ความเรียบง่าย ความหมายของชีวิต) ** สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลครอบครัว

และชุมชน และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
  ใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านพระเพรงและชุมชนบ้านพระเพรง

(552)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
ผู้บันทึก :  นางอารยา วชิรพันธ์ และ นางสาวนงรัตน์ โมปลอด
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 29 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 1 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์  จาก  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  เชียงใหม่   และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์  นครสวรรค์

ความเข้าใจมนุษย์  เป็นการทำความเข้าใจบุคคลตามสภาพที่เป็นจริงตามบริบทของบุคคลนั้นๆ  ซึ่งแตกต่างกันกับการเรียนตามทฤษฎีซึ่งมีกรอบไปใช้ในการทำความเข้าใจ และจะวินิจฉัยปัญหาตามทฤษฎี  ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงของบุคคลนั้น  ดังนั้นในการวิเคราะห์ปัญหาของข้อมูลที่นักศึกษาเก็บรวบรวมได้มานั้นต้องอาศัยคำชี้แนะจากผู้สอน/ผู้นิเทศ   ซึ่งในการวิเคราะห์ปัญหาของบุคคลนั้น

ต้องพิจารณาว่า

1. ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด  ต้องเพิ่มเติมประเด็นใดบ้าง

2. ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงของบุคคลนั้นๆ  ไม่ใช่จากตำรา  ประสบการณ์หรือความคิดของตนเอง

3. การวิเคราะห์ปัญหาของข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริง  ซึ่งไม่ใช่ตามทฤษฎี  ไม่ใช้ตามทฤษฎี

มาเป็นกรอบ  จะทำให้ละเลยความเป็นจริงของวิถีชีวิตของบุคคลนั้นๆ  ข้อมูลที่ได้จากทฤษฎีจะเป็นข้อมูลที่แยกกันเป็นส่วนๆ ขาดความเชื่อมโยง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษา    ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจากสภาพจริงและเน้นหัวใจความเป็นมนุษย์

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(251)