ผู้บันทึก : นางอารยา วชิรพันธ์ และ นางสาวนงรัตน์ โมปลอด | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 29 มิ.ย. 2554 ถึงวันที่ : 1 ก.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : นนทบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย | |
วันที่บันทึก 18 ส.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ จาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ความเข้าใจมนุษย์ เป็นการทำความเข้าใจบุคคลตามสภาพที่เป็นจริงตามบริบทของบุคคลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันกับการเรียนตามทฤษฎีซึ่งมีกรอบไปใช้ในการทำความเข้าใจ และจะวินิจฉัยปัญหาตามทฤษฎี ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงของบุคคลนั้น ดังนั้นในการวิเคราะห์ปัญหาของข้อมูลที่นักศึกษาเก็บรวบรวมได้มานั้นต้องอาศัยคำชี้แนะจากผู้สอน/ผู้นิเทศ ซึ่งในการวิเคราะห์ปัญหาของบุคคลนั้น ต้องพิจารณาว่า 1. ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ต้องเพิ่มเติมประเด็นใดบ้าง 2. ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงของบุคคลนั้นๆ ไม่ใช่จากตำรา ประสบการณ์หรือความคิดของตนเอง 3. การวิเคราะห์ปัญหาของข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งไม่ใช่ตามทฤษฎี ไม่ใช้ตามทฤษฎี มาเป็นกรอบ จะทำให้ละเลยความเป็นจริงของวิถีชีวิตของบุคคลนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จากทฤษฎีจะเป็นข้อมูลที่แยกกันเป็นส่วนๆ ขาดความเชื่อมโยง |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจากสภาพจริงและเน้นหัวใจความเป็นมนุษย์
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
(252)