การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน

การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน
ผู้บันทึก :  นางเกษร ปิ่นทับทิม นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์ นางยุพิน ทรัพย์แก้ว นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ นางสาววิชชุตา สนธิเมือง และ นายสมเกียรติ ทองศรีแก้ว
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 23 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา
  จังหวัด :  พัทลุง
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดการสุขภาวะชุมชนกับการพึ่งพาตนเอง : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2554


 รายละเอียด
การปาฐกถาพิเศษเรื่อง  “การจัดการสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย ศ.ดร. จรัญ  จันทลักขณา  ซึ่งมีสาระดังนี้  ๑. สุขภาวะในที่นี้คือ ความผาสุก (ภาวะอันพึงปรารถนา), ความสุข ประกอบด้วย สุขภาวะทางกาย (อยู่ดี กินดี) ทางใจ (อยู่ดี มีสุข) ทางสังคม (ชีวิตอบอุ่น)  และทาง          จิต วิญญาณ (อิ่มบุญ – ปล่อยวาง) ๒. สุขภาวะชุมชน คือ สุขภาวะของกลุ่มคน ซึ่งประกอบด้วย ๑) สุขภาวะของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย ๒) สุขภาวะของการอยู่ร่วมกัน หรือสุขภาวะสังคม ๓. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในที่นี้คือการบริหารจัดการมุ่งให้คนมีความสุข พอเพียงเรื่องเงิน พึ่งตนเองได้ เป็นเข็มทิศไม่ตกเป็นทาสของเงิน วัตถุนิยม (ซื้อของจากต่างประเทศ) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย ๑) ความพอประมาณ (เราเป็นใคร มีความจำเป็นอะไร เพียงใด) ๒) ความมีเหตุผล (ทำสิ่งใดให้คำนึงถึงความสมเหตุสมผล ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฐานะ) ๓) การมีภูมิคุ้มกัน (การดำเนินชีวิตและอาชีพต้องไม่ประมาท ไม่ใช้เงินอนาคต เช่น มีรายได้เพียง ๑๐ ส่วน ให้เก็บออมก่อน ๒ ใช้จ่ายเพียง ๘) และทำบัญชีชีวิตภายใต้ ๒ เงื่อนไข คือ ใช้ความรู้ คู่คุณธรรม ๔) ทางสายกลาง (มรรค ๘) สำหรับดำเนินชีวิตและงาน เช่น สัมมาทิฐิ ๕) ความพอเพียง ความพอดี ต้องใช้ธรรมะบริหารจัดการกิเลศ ๖) การจัดการสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการจัดการโดยใช้ธรรมโดยมุ่งความดี ความสุขจากภายในของบุคคลก่อให้เกิดสุขภาวะชุมชน โดยการเป็นคนธรรมดา มีชีวิตแบบธรรมดา ยึดถือ ธรรมะ

การจัดการสุขภาวะชุมชนแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ๑. ด้านสุขภาพ ได้แก่ ๑) กิจกรรม “กันดีกว่าแก้” เป็นการสร้างภูมิต้านทานโดยยึดหลัก “อโรคยา ปรมาลาภา ” อาศัยหลักการอยู่ดี – กินดี – มีกำลัง ๒) กิจกรรมส่งเสริมพลานามัย เน้นการออกกำลังกายแบบพอเพียงและเหมาะสม การเล่นกีฬาพื้นบ้าน ๓) ส่งเสริมการแพทย์แผนไทย : ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยวิทยาการสากล ๒. ด้านจิตใจ ๑) กิจกรรมตามรอย         พระ ยุคลบาท เรื่องการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ส่งเสริมศาสนกิจ และการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม ๓) กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสุขภาวะ  ๔) กิจกรรมตอบแทนบุญคุณพ่อแม่และบรรพชนขอบคุณพระเจ้า เทวดา (ตามประเพณีชุมชน) ๓. ด้านการกินอยู่  ๑)ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อการผผลิตอาหารปลอดภัย ๒) กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ๔. ด้านสังคม ๑) การเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องสำหรับส่งเสริมสุขภาวะ ไม่ส่งเสริมการบริโภคอาหารขยะ ๒) ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลของผู้สูงอายุยืนยาว ให้รางวัลและสวัสดิการแก่ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปีขึ้นไป  ๓) จัดกิจกรรม “สังคมเอื้ออารี” เช่นกองทุนเงินออมชุมชน ธนาคารข้าว เป็นต้น 

              ๒) การบรรยายพิเศษ  เรื่อง การจัดการสุขภาวะชุมชน : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สุขภาพที่ยั่งยืน  

โดย ดร. เสรี  พงศ์ พิศ ซึ่งมีสาระดังนี้ ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การกินอยู่พอดี มีความสุข สร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น ใช้ความรู้และปัญญา/ การให้ การแบ่งปัน และมองสุขภาพของชุมชนว่า ต้องมีอาหารกิน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง/ ธรรมชาติ/ สังคม/ ส่วนรวม ต้องสร้างสุขภาพที่ไม่ต้องไปหาหมอ  มีต้องหาทรัพยากรในท้องถิ่นให้พบ เพื่อ ทำกิน ทำใช้เอง นั่นคือการพึ่งตนเองได้  การ พัฒนาที่ยั่งยืนมี ๓ มิติ คือ ๑) รอด (หนี้) เป็นการหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ ปัญหาหนี้สิน ทางตันของชีวิต ๒) พอเพียง (ระบบ) เข้มแข็งด้วยระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง ๓) ยั่งยืน (เครือข่าย) มั่นคง ยืนหยัดได้ในโลกาภิวัฒน์  ขุมทรัพย์ในชุมชนต้องมี ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ส่วนระบบสุขภาพชุมชนนั้น มีการแพทย์แผนปัจจุบัน การดูแลรักษาสุขภาพตนเองด้วยภูมิปัญญาบูรณาการ ความมั่นคงด้านอาชีพและสวัสดิการ และความมั่นคงด้านอาหาร ๑)โดยมองสุขภาพว่าเป็น ชีวภาพ ปลอดสาร การกิน การอยู่ การทำงาน ๒) การศึกษา (ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจโลก) ๓) การพักผ่อนหย่อนใจ (การท่องเที่ยว ดนตรี กีฬา) ๔) ศิลปวัฒนธรรม (ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ๕) จิตวิญญาณ (สมาธิ ความเรียบง่าย ความหมายของชีวิต) ** สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลครอบครัว

และชุมชน และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
  ใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านพระเพรงและชุมชนบ้านพระเพรง

(553)

Comments are closed.