โครงการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การเรียนการสอน

โครงการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การเรียนการสอน
 ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 30 ม.ค. 2555   ถึงวันที่  : 16 มี.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สบช .
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การเรียนการสอน
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2555


 รายละเอียด
ทักษะทางด้านการพูด

       ได้เพิ่มทักษะการพูดแบบทั่วไปเน้นการสนทนากับอาจารย์เจ้าของภาษา การทำกิจกรรม โดยใช้หลักการตั้งคำถามด้วย WH และ yes , no โดยการใช้กิจกรรมเป็นหลัก  โดยการแนะนำตนเอง สถานที่ทำงาน การวางแผนชีวิตในอนาคต มารยาททางสังคมในชนชาติต่างๆ  ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประเทศไทย

ทักษะทางด้านการเขียน

         การเขียนโดยทั่วไปมีหลักการเขียนคือ1.มีการเขียนบทนำตามประเด็นที่ได้รับมอบหมาย 2.เขียนในส่วนของย่อหน้าจะมีกี่ย่อหน้าก็ได้แต่ตรงตรงประเด็นไม่ควรหลุดประเด็น 3.ส่วน สุดท้ายคือบทสรุปซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเขียนให้เห็นความสำคัญและพยายาม อย่าเขียนคำศัพท์ซ้ำที่เหมือนที่เขียนข้างบน เพราะจะทำให้คะแนนของเราลดลง

ทักษะทางด้านการอ่าน

     การที่จะเป็นนักอ่านที่ดีต้องมีความชำนาญและความจำเกี่ยวกับคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี หลักในการอ่านต้องอ่านแบบ skim and skan และพยายามทำการบ้านและแบบฝึกหัดบ่อยๆ ซึ่งเรื่องที่อ่านต้องมีความหลากหลาย เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคม สภาพภูมิอากาศ โรคระบาด  แรงงาน  โบราณคดี  สาระคดี  ธรรมชาติ สุขภาพ การบำบัด เศรษฐกิจ  เพราะเราจะคุ้นกับคำศัพท์ที่มีความหลากหลาย และอ่านแล้วต้องรู้ว่าเรื่องที่อ่าน main idea คืออะไร ประธานคืออะไร main verb คืออะไร และอะไรเป็นส่วนขยาย

ทักษะทางด้านฟัง

เป็น ทักษะที่ยากมากเพราะเวลาที่ไปเรียนอาจารย์จะมีบทสนทนาให้ฟังและสรุปแล้วเขา พูดถึงประเด็นอะไร ซึ่งเราต้องคุ้นกับคำศัทพ์และการออกเสียงที่ถูกต้องพร้อมกับต้องทำความเข้า ใจเกี่ยวกับสำนวนของภาษาด้วยและต้องฝึกฟังบ่อยๆๆและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ฟังเพลง ดูหนัง  ฟังข่าว ที่สำคัญต้องฝึกด้วยตนเอง ถ้ามีโอกาสได้ฝึกฝนกับเจ้าของภาษาจะดีมากเลย

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การ ออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักศึกษาแต่ละชั้นปี และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและเตรียมตัวเพื่อไปศึกษาต่อต่าง ประเทศและขอทุนการศึกษาของ กพ.


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ทักษะภาษาอังกฤษ

(301)

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒
ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 24 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๒
  วันที่บันทึก  7 ก.ย. 2554


 รายละเอียด
๑. สรุปแนวทางการออกข้อสอบสภาการพยาบาล ที่เน้นระดับการวัดขั้นความเข้าใจ และการนำไปใช้

๒.ปฏิบัติ การปรับปรุงแก้ไขข้อสอบวัดความรู้รวบยอดทั้ง ๘ รายวิชา ให้สอดคล้องกับหลักการวัดและประเมินผล โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้ข้อวิพากษ์ และอาจารย์ประจำวิชาจากทุกวิทยาลัยพยาบาล รวมกับพิจารณาปรับแก้ไขข้อสอบ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
-  พัฒนาแนวทางการวิเคราะห์โจทย์คำถาม และการตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบผู้เรียนโดยอาศัย ค่าความยาก ง่าย และอำนาจจำแนก

-   พัฒนากลวิธีการออกข้อสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานการวัดผลการเรียนรู้

- แลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการระหว่างอาจารย์พยาบาล เพิ่มความแม่นยำในองค์ความรู้ และพัฒนาความรู้เดิมให้มีความทันสมัย

 

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
เพิ่ม พูนสมรรถนะในการออกข้อสอบมาตรฐานตามหลักเกณฑ์การวัดและการประเมินผล พัฒนาแนวคิดทางการพยาบาลที่ควรยึดหลักการตามที่ระบุไว้ในตำราและที่กำหนดไว้ เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ไม่ควรใช้แนวทางปฏิบัติตามประสบการณ์ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน  ซึ่ง อาจารย์ที่มีความรู้มากและมีประสบการณ์มาก จะถ่ายทอดประสบการณ์แก่นักศึกษาในประเด็นที่แตกต่างๆ กัน แต่เมื่อนักศึกษากลับมาทำข้อสอบกับได้คะแนนน้อย

 

 

 

(288)

การประชุมวิชาการเรื่อง Palliative care และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๕๔ รุ่นที่ ๒

การประชุมวิชาการเรื่อง Palliative care และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๕๔ รุ่นที่ ๒
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน และนางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 15 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 16 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการเรื่อง Palliative care และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๕๔ รุ่นที่ ๒
  วันที่บันทึก  24 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
Palliative care : Concept and implication in nursing กล่าวถึงแนวทางการปฎิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานบริการสาธารณสุข ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมาณจากการเจ็บป่วย  โดยทั้งนี้ผู้แสดงความประสงค์จะต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ซึ่ง หมายถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายโดยให้การป้องกันและ บรรเทาอาการตลอดจนการบรรเทาความทุกข์ทรมาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยการเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของโรค รวมทั้งทำการประเมินปัญหาสุขภาพทั้งทางด้าน กาย ใจ ปัญญาและสังคม อย่างละเอียดครบถ้วน  โดยการดูแล รักษาแบบประคับประคอง ไม่ได้เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าการดำเนินโรคเองตาม ธรรมชาติและไม่ใช่การใช้เครื่องมือหรือความรู้ทางการแพทย์เพียงเพื่อยื้อ ความทรมาณของผู้ป่วยโดยไม่เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

หลักการสำคัญ ได้แก่

-การยอมรับ “การเสียชีวิต” ว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของชีวิต

-ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยควบคู่ไปกับการดูแลอาการทางกายเสมอ

-ให้ ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการ ดูแล

-การดูแลควรให้ความสำคัญต่อค่านิยม ความเชื่อ และศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว

-มี ระบบการดูแลที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อ เนื่องจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิตตลอดจนให้การดูแลภาวะเศร้าโศกของครอบครัว ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว

-การดูแลควรทำในลักษณะของคณะสหวิชาชีพ เพื่อให้คณะผู้ดูแลสามารถดูแลปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ ของผู้ป่วยและครอบครัวได้ดีที่สุด

-สามารถ ทำควบคู่ไปพร้อมๆ กับการรักษาอื่นๆ เช่นการผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรคเพื่อลดความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญหน้ากับการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น

การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อการดูแลแบบประคับประคอง ตาม “LIFESS” มีดังนี้

-          L = “Living Will” หมายถึง การแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการดูแลรักษาและวิธีการดูแลหากมีอาการทรุดลง

-          I = “Individual belief” หมายถึง ความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ความตาย หรือการเสียชีวิต

-          F = “Function” หมายถึงระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือดูแลตนเองของผู้ป่วย

-       E = “Emotional” หมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการเจ็บป่วย รวมทั้งวิธีที่ผู้ป่วยและครอบครัวใช้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว

-       S = “Symptoms” หมายถึงความไม่สุขสบายทางร่างกายและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น  อาจให้วิธีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือใช้แบบประเมิน เช่น Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)

-       S = “Social and support” หมายถึงปัญหาสุขภาพทางด้านสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนที่พึ่งของผู้ป่วยและครอบครัวในเวลาที่มีการเจ็บป่วย

Advance care plan  คือ การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ

๑.       Patient preference สิ่งที่คนไข้ต้องการ ให้ความสำคัญ เป้าหมายการดูแลรักษาเมื่อถึงวาระสุดท้ายของตนเอง

๒.   Advance decisions คือ การแสดงเจตนาว่าจะรับ/ไม่รับการดูแลรักษา เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเมื่อสูญเสียสติสัมปชัญญะ ไปจนไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตนเองแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่กฎหมายให้การรับรอง ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมาณจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามมาตรา ๑๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยก่อนปฏิบัติตามว่าคนไข้อยู่ในภาวะ นั้นหรือถึงเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามแล้วหรือยัง

๓.     Proxy nomination การเลือกบุคคลใกล้ชิดแสดงเจตนาแทน เมื่อไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง 

 

บทบาทหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานของผู้แทนสภาการพยาบาลประจำจังหวัด  ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้

-          การควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาพยาบาล

-          การควบคุมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานและจริยธรรม

-       การ ส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การคุ้มครองผู้บริโภคหรือประชาชน ผู้ใช้บริการที่กระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

สถานการณ์สำคัญในระบบสุขภาพและบทบาทสภาการพยาบาล

๑.       การแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากการขาดแคลน

  1. a.        เพิ่มการผลิตพยาบาลวิชาชีพ
  2. b.       พัฒนาข้อเสนอเพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อเพิ่มอัตรากำลังอาจารย์พยาบาล

๒.     การธำรงรักษาและลดการสูญเสียกำลังคน

  1. a.        ขอบรรจุพยาบาลวิชาชีพกระทรวงสาธารณสุขเป็นข้าราชการ
  2. b.       พัฒนาข้อเสนอค่าตอบแทนสำหรับพยาบาล

๓.     การสนับสนุนบริการปฐมภูมิ

๔.     การสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถและความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

๕.     การป้องกันความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพ

 

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
-ใช้การให้ความรู้แก่นักศึกษาพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยในคลินิก

-ใช้ในการปฏิบัติงานพยาบาลให้สอดคล้องกับนโยบาย และเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่สภาการพยาบาลให้การควบคุมดูแล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
 

(1475)

นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ ๓

นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ ๓
ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 22 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 24 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ ๓
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
- แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เอื้อต่อการให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนม มารดา โดยปัจจุบัน กรมอนามัยกำลังร้องขอให้ออกกฎหมายลาคลอด ๙๐ วัน ซึ่งรัฐมนตรียังไม่อนุมัติเนื่องจากต้องการศึกษาปัญหาผู้ประกอบการเลิกจ้าง ผู้หญิง หากออกกฎหมายนี้ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินเดือน ๔๕ วัน และประกันสังคม จ่าย ๔๕ วัน

- บรรยาย ประโยชน์ของนมแม่ ซึ่งพบประเด็นการศึกษาวิจัยที่ควรสนับสนุนจากการศึกษาในเรื่องนี้ ได้แก่ การศึกษาผลของนมแม่ต่อการลดภาวะความเจ็บป่วยในทารก และเด็ก, การศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัย และความสะดวกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับนมผสม, การศึกษาความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการให้บุตรดูดนมแม่ เช่น น้ำนมแม่ไม่เพียงพอจึงหยุด ความหยืดหยุ่นของช่วงเวลาให้บุตรดูดนม , ความกลังการเปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์ ของแม่ที่ต้องให้บุตรดูดนม , การศึกษาบทบาทสามีในการสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาม ๖ เดือน  และประโยชน์ด้านการสร้างสายใยรักระหว่างแม่ ลูก

- บรรยาย แนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ที่เน้นความตั้งใจมุ่งมั่นของทีมสุขภาพที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกกลุ่มอาชีพ  การให้ความรู้แก่แม่ตั้งครรภ์ซึ่งควรมีการจำแนกให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อยตามความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน   การดำเนินการอย่างจริงจังกับกลุ่มตลาดนมทารก  การเรียกร้องกฎหมายลาคลอด ๖ เดือน โดยรัฐเป็นผู้ชดเชยรายได้  การดำเนินการอย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่อง

- บันได ๑๐ ขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ๑. มีนโยบายนมแม่ที่ชัดเจน ๒.พัฒนาบุคลากร ๓. ชี้แจงประโยชน์และวิธีการให้นมแม่ ๔. ช่วยแม่ให้ลูกด้วยนมโดยเร็ว  ๕. แสดงให้แม่เห็นว่านมแม่มีเพียงพอแม้เวลาลูกไม่ได้ดูด ๖. อย่าให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกแรกคลอดนอกจากนมแม่ ๗.แม่และลูกต้องอยู่ในห้องเดียวกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๘.สนับสนุนให้ลูกได้ดูดนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ  ๙.อย่าให้ลูกดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม ๑๐.ส่งเสริมหมีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

- Mother – friendly care การดูแลแม่อย่างเป็นมิตร โดยส่งเสริมให้มีความอบอุ่นใจ มีความสุข เริ่มได้ตั้งแต่การให้แม่มีเพื่อนตามที่ต้องการในระยะคลอด  ให้ดื่มน้ำ และกินอาหารอ่อนระหว่างรอคลอด  สนับสนุนการลดปวดโดยไม่ใช้ยา สนับสนุนให้เดินเคลื่อนไหวขณะรอคลอด และเลือกท่าคลอด  ไม่ใช้มาตรการเชิงรุกในการช่วยคลอด เช่นการเจาะถุงน้ำ  การตัดฝีเย็บ  การให้ยาบีบรัดมดลูก  และการใช้หัตถการช่วยคลอด

- กลุ่มอาการแพ้นมในทารก  กรณีมีสาเหตุจากการกระตุ้น (cell mediated) จะพบอาการตั้งแต่ ๑ – ๓ ชั่วโมง ไม่เกิน ๓ วัน หลังได้รับโปรตีนหรือโปรตีนในนมวัว สำหรับการรับสารโปรตีนกระตุ้น T –cell lymphocyte สามารถผ่านสู่ลูกได้ทางรก หรือทารกดื่มนมวัวหลังคลอด  ซึ่งจะพบอาการของระบบทางเดินทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายอุจจาระเหลว และมีมูกเลือดเป็นเส้นยาวๆ ปน  มี ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ผิวลอก มีตุ่ม (ตุ่มน้ำเหลืองขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร) อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ หรืออาการแพ้อย่างรุนแรงทั้งตัว  ดังนั้นการดูแลด้วยนมพิเศษที่ได้มีโปรตีนสัตว์ และไม่ควรใช้นมถั่วเหลืองแทน  กรณีให้ลูกดูดนมแม่ แม่ควรงดดื่มนมวัว นานมากกว่า ๒ สัปดาห์ และรับประทานแคลเซียมเสริม หากอาการดีขึ้นจึงให้แม่รับประทานนมวัวได้  แต่หากอาการไม่ดีขึ้นต้องหาสาเหตุอื่นๆ เช่นการแพ้ไข่ไก่ หรืออื่นๆ ที่แม่รับประทานในช่วงนั้น

- New concept in breast anatomy and sucking  

- จากการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวกับกายวิภาคของเต้านมโดยการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ พบท่อน้ำนมซึ่งเป็นท่อหลัก ๔ – ๑๘  ducts  และไม่พบว่ามี Lactiferous sinus ซึ่ง เดิมเชื่อว่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม โดยท่อน้ำนมทำหน้าที่เป็นทางผ่านเท่านั้น แต่ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตน่าจะมาจากเซลล์ที่เรียกว่า Milk production รวม ทั้งมีข้อสรุปที่ว่าปริมาณน้ำนมจากแม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวน และขนาดของท่อน้ำนมหรือไขมันของแม่ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของทารกเป็นสำคัญ    

- การศึกษาเกี่ยวกับการดูดของทารก มีข้อสรุปว่า ลิ้นของทารกไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวนม ด้วยเหตุผลที่ว่าจังหวะการไหลของน้ำนมนั้นเกิดขึ้นขณะลิ้นทารกเคลื่อนที่ลง  และมีสมมติฐานว่ากลไกหลักของการดูดน่าจะเกิดจากภาวะสูญญากาศ (vacuum)

- ผลของการหลั่งน้ำนมต่อสมอง และพฤติกรรมของมารดา พบว่า มารดาจะมีฮอร์โมน Oxytocin เพิ่มสูงขึ้นในขณะให้นมบุตร  จึงถือว่าฮอร์โมนนี้ความสำคัญต่อการพัฒนาสัญชาติญาณของการเป็นแม่  นอกจากนี้พบว่ามีการไหลเวียนในสมองเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการลดภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด  และมีผลการระบบไหลเวียนทั่วร่างกาย โดยลดผลการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic อัตราการเต้นหัวใจลดลง และความดันอยู่ในระดับปกติ

- โครงการวิจัยการศึกษาติดตามทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี : ปัจจัย และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ให้ทารกได้รับน้ำ เมื่ออายุประมาณ ๑ เดือน  และให้อาหารอื่นๆ ร่วมกับนมแม่ ประมาณ ๔ – ๖ เดือน  โดยพบกลุ่มที่สามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือนนั้น ประมาณ ๔๖.๗๖ %    ซึ่งปัจจัยที่มีผลได้แก่ ปัจจัยด้านอายุของสามี  รายได้ และแรงสนับสนุนทางสังคม ทั้งนี้ยังไม่พบการศึกษาด้านวัฒนธรรมและความเชื่อต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
  - การให้ความรู้แก่นักศึกษาพยาบาลในขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล

- การให้บริการวิชาการแม่มารดาในชุมชนนาเคียน เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
- พัฒนามุมมองทางวิชาการและการวิจัยด้านมารดาหลังคลอด

(306)

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ที่รับผิดชอบในด้านการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบของกระบวนการ OSCE

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ที่รับผิดชอบในด้านการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบของกระบวนการ OSCE
ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 21 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ที่รับผิดชอบในด้านการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบของกระบวนการ OSCE
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
แบบทดสอบ OSCE มาจากคำว่า Objective Structured Clinical Examinations เป็น การทดสอบทักษะทางคลินิก นิยมใช้ทดสอบกับนักศึกษาแพทย์ ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนก นำโคยงานพัฒนาบุคลากรจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ในการทดสอบหลังสิ้นสุดการจัดอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลสาขาการพยาบาล เวชปฏิบัติทั่วไป   ซึ่ง ในการจัดทำชุดทดสอบได้แบ่งหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบจัดโครงการเวชปฏิบัติฯ ของวิทยาลัยพยาบาลฯ ทุกแห่งนำไปออกแบบและนำเข้าที่ประชุมเพื่อร่วมกันวิพากษ์ โจทย์สถานการณ์ทั้ง ๖ สถานี ซึ่งประกอบด้วย ๑. การซักประวัติ ๒.การตรวจร่างกาย ๓. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษ และการแปลผล ๔.การวินิจฉัยแยกโรค ๕. การรักษาเบื้องต้น ๖. การให้คำแนะนำ 

- ในการออบแบบโจทย์แต่ละสถานี ผู้ ออกข้อสอบจะต้องจัดทำแบบประเมิน และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ครอบคลุมคำตอบ โดยเน้นความเที่ยงตรงทั้งเชิงเนื้อหา และโครงสร้าง  โดยเฉพาะสถานีซักประวัติ และตรวจร่างกาย ซึ่งมักจะมีคำตอบที่หลากหลาย ผู้สอบอาจคิดถึงเรื่อง  ที่ผู้ออกข้อสอบคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงต้องวางโครงสร้างคำตอบที่เป็นไปได้ และกำหนดคะแนนอย่างเหมาะสม  

- การจัดสอบ ผู้เข้าสอบจะเข้าสอบตามลำดับสถานี โดยมีอาจารย์คุมสอบ สถานีละ ๑ คน มีผู้แสดงเป็นผู้ป่วย ซึ่งอาจใช้ผู้ป่วยจริง หรือ อาจารย์แสดงเป็นผู้ป่วยเอง  ทั้งนี้หลังการสอบแต่ละสถานี นอกจากอาจารย์ให้คะแนนแล้ว ผู้ป่วยควรให้คะแนนผู้สอบด้วยเพื่อป้องกันความลำเอียงของการให้คะแนน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
- การจัดสอบ OSCE ต้องมีความพร้อมทุก ๆ ด้าน ดังนี้

๑) ชุดโจทย์สถานการณ์   และเครื่องมือวัดประเมินผล ต้องมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และโครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เวลาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบทดสอบอย่างมาก

๒) การจัดให้เข้าสอบจัดได้ฐานละ ๑ คน แต่ละคนต้องสอบทั้ง ๖ สถานี สถานีละประมาณ ๑๐ ๑๕ นาที รวมเวลาประมาณ ๑ ๑.๓๐ ชั่วโมง  ต้องใช้อาจารย์คุมสอบฐานละประมาณ ๓ คนเป็นอย่างน้อย หากมีผู้สอบ ๕๐ คน คาดว่าต้องใช้เวลา มากกว่า ๑ สัปดาห์  ตลอดจนมีความยุ่งยากมากหากต้องให้ผู้สอบเข้าสอบมากกว่า ๑ ฐาน เพื่อให้เกิดการวัดองค์ความรู้จากระบบต่างๆ อย่างทั่วถึง

                สรุป ข้อสอบ OSCE มีข้อดีที่สามารถวัดการประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติ ได้อย่างมาก ครอบคลุมทักษะการตรวจ วินิจฉัยโรค  และการรักษาโรค  ซึ่ง หากนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรอบรมการพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือทดสอบในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาพยาบาล จะช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะทางคลินิกที่ดี    แต่ต้องอาศัยการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านดังที่กล่าว ซึ่งคาดว่าอาจไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่ต้องการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
การพัฒนาความสามารถด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน

 

(520)