ผู้บันทึก : นางพนิดา รัตนพรหม | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 22 มิ.ย. 2554 ถึงวันที่ : 24 มิ.ย. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ ๓ | |
วันที่บันทึก 18 ส.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
- แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เอื้อต่อการให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนม มารดา โดยปัจจุบัน กรมอนามัยกำลังร้องขอให้ออกกฎหมายลาคลอด ๙๐ วัน ซึ่งรัฐมนตรียังไม่อนุมัติเนื่องจากต้องการศึกษาปัญหาผู้ประกอบการเลิกจ้าง ผู้หญิง หากออกกฎหมายนี้ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินเดือน ๔๕ วัน และประกันสังคม จ่าย ๔๕ วัน
- บรรยาย ประโยชน์ของนมแม่ ซึ่งพบประเด็นการศึกษาวิจัยที่ควรสนับสนุนจากการศึกษาในเรื่องนี้ ได้แก่ การศึกษาผลของนมแม่ต่อการลดภาวะความเจ็บป่วยในทารก และเด็ก, การศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัย และความสะดวกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับนมผสม, การศึกษาความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการให้บุตรดูดนมแม่ เช่น น้ำนมแม่ไม่เพียงพอจึงหยุด ความหยืดหยุ่นของช่วงเวลาให้บุตรดูดนม , ความกลังการเปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์ ของแม่ที่ต้องให้บุตรดูดนม , การศึกษาบทบาทสามีในการสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาม ๖ เดือน และประโยชน์ด้านการสร้างสายใยรักระหว่างแม่ ลูก - บรรยาย แนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่เน้นความตั้งใจมุ่งมั่นของทีมสุขภาพที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกกลุ่มอาชีพ การให้ความรู้แก่แม่ตั้งครรภ์ซึ่งควรมีการจำแนกให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อยตามความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน การดำเนินการอย่างจริงจังกับกลุ่มตลาดนมทารก การเรียกร้องกฎหมายลาคลอด ๖ เดือน โดยรัฐเป็นผู้ชดเชยรายได้ การดำเนินการอย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่อง - บันได ๑๐ ขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ๑. มีนโยบายนมแม่ที่ชัดเจน ๒.พัฒนาบุคลากร ๓. ชี้แจงประโยชน์และวิธีการให้นมแม่ ๔. ช่วยแม่ให้ลูกด้วยนมโดยเร็ว ๕. แสดงให้แม่เห็นว่านมแม่มีเพียงพอแม้เวลาลูกไม่ได้ดูด ๖. อย่าให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกแรกคลอดนอกจากนมแม่ ๗.แม่และลูกต้องอยู่ในห้องเดียวกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๘.สนับสนุนให้ลูกได้ดูดนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ ๙.อย่าให้ลูกดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม ๑๐.ส่งเสริมหมีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - Mother – friendly care การดูแลแม่อย่างเป็นมิตร โดยส่งเสริมให้มีความอบอุ่นใจ มีความสุข เริ่มได้ตั้งแต่การให้แม่มีเพื่อนตามที่ต้องการในระยะคลอด ให้ดื่มน้ำ และกินอาหารอ่อนระหว่างรอคลอด สนับสนุนการลดปวดโดยไม่ใช้ยา สนับสนุนให้เดินเคลื่อนไหวขณะรอคลอด และเลือกท่าคลอด ไม่ใช้มาตรการเชิงรุกในการช่วยคลอด เช่นการเจาะถุงน้ำ การตัดฝีเย็บ การให้ยาบีบรัดมดลูก และการใช้หัตถการช่วยคลอด - กลุ่มอาการแพ้นมในทารก กรณีมีสาเหตุจากการกระตุ้น (cell mediated) จะพบอาการตั้งแต่ ๑ – ๓ ชั่วโมง ไม่เกิน ๓ วัน หลังได้รับโปรตีนหรือโปรตีนในนมวัว สำหรับการรับสารโปรตีนกระตุ้น T –cell lymphocyte สามารถผ่านสู่ลูกได้ทางรก หรือทารกดื่มนมวัวหลังคลอด ซึ่งจะพบอาการของระบบทางเดินทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายอุจจาระเหลว และมีมูกเลือดเป็นเส้นยาวๆ ปน มี ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ผิวลอก มีตุ่ม (ตุ่มน้ำเหลืองขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร) อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ หรืออาการแพ้อย่างรุนแรงทั้งตัว ดังนั้นการดูแลด้วยนมพิเศษที่ได้มีโปรตีนสัตว์ และไม่ควรใช้นมถั่วเหลืองแทน กรณีให้ลูกดูดนมแม่ แม่ควรงดดื่มนมวัว นานมากกว่า ๒ สัปดาห์ และรับประทานแคลเซียมเสริม หากอาการดีขึ้นจึงให้แม่รับประทานนมวัวได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นต้องหาสาเหตุอื่นๆ เช่นการแพ้ไข่ไก่ หรืออื่นๆ ที่แม่รับประทานในช่วงนั้น - New concept in breast anatomy and sucking - จากการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวกับกายวิภาคของเต้านมโดยการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ พบท่อน้ำนมซึ่งเป็นท่อหลัก ๔ – ๑๘ ducts และไม่พบว่ามี Lactiferous sinus ซึ่ง เดิมเชื่อว่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม โดยท่อน้ำนมทำหน้าที่เป็นทางผ่านเท่านั้น แต่ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตน่าจะมาจากเซลล์ที่เรียกว่า Milk production รวม ทั้งมีข้อสรุปที่ว่าปริมาณน้ำนมจากแม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวน และขนาดของท่อน้ำนมหรือไขมันของแม่ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของทารกเป็นสำคัญ - การศึกษาเกี่ยวกับการดูดของทารก มีข้อสรุปว่า ลิ้นของทารกไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวนม ด้วยเหตุผลที่ว่าจังหวะการไหลของน้ำนมนั้นเกิดขึ้นขณะลิ้นทารกเคลื่อนที่ลง และมีสมมติฐานว่ากลไกหลักของการดูดน่าจะเกิดจากภาวะสูญญากาศ (vacuum) - ผลของการหลั่งน้ำนมต่อสมอง และพฤติกรรมของมารดา พบว่า มารดาจะมีฮอร์โมน Oxytocin เพิ่มสูงขึ้นในขณะให้นมบุตร จึงถือว่าฮอร์โมนนี้ความสำคัญต่อการพัฒนาสัญชาติญาณของการเป็นแม่ นอกจากนี้พบว่ามีการไหลเวียนในสมองเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการลดภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด และมีผลการระบบไหลเวียนทั่วร่างกาย โดยลดผลการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic อัตราการเต้นหัวใจลดลง และความดันอยู่ในระดับปกติ - โครงการวิจัยการศึกษาติดตามทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี : ปัจจัย และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ให้ทารกได้รับน้ำ เมื่ออายุประมาณ ๑ เดือน และให้อาหารอื่นๆ ร่วมกับนมแม่ ประมาณ ๔ – ๖ เดือน โดยพบกลุ่มที่สามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือนนั้น ประมาณ ๔๖.๗๖ % ซึ่งปัจจัยที่มีผลได้แก่ ปัจจัยด้านอายุของสามี รายได้ และแรงสนับสนุนทางสังคม ทั้งนี้ยังไม่พบการศึกษาด้านวัฒนธรรมและความเชื่อต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
- การให้ความรู้แก่นักศึกษาพยาบาลในขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล
- การให้บริการวิชาการแม่มารดาในชุมชนนาเคียน เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
- พัฒนามุมมองทางวิชาการและการวิจัยด้านมารดาหลังคลอด |
(307)