ผู้บันทึก : นางพนิดา รัตนพรหม ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน และนางจิราภรณ์ กาญจนะ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 15 ส.ค. 2554 ถึงวันที่ : 16 ส.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้ | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมวิชาการเรื่อง Palliative care และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๕๔ รุ่นที่ ๒ | |
วันที่บันทึก 24 ส.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
Palliative care : Concept and implication in nursing กล่าวถึงแนวทางการปฎิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานบริการสาธารณสุข ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมาณจากการเจ็บป่วย โดยทั้งนี้ผู้แสดงความประสงค์จะต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ซึ่ง หมายถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายโดยให้การป้องกันและ บรรเทาอาการตลอดจนการบรรเทาความทุกข์ทรมาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยการเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของโรค รวมทั้งทำการประเมินปัญหาสุขภาพทั้งทางด้าน กาย ใจ ปัญญาและสังคม อย่างละเอียดครบถ้วน โดยการดูแล รักษาแบบประคับประคอง ไม่ได้เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าการดำเนินโรคเองตาม ธรรมชาติและไม่ใช่การใช้เครื่องมือหรือความรู้ทางการแพทย์เพียงเพื่อยื้อ ความทรมาณของผู้ป่วยโดยไม่เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
หลักการสำคัญ ได้แก่ -การยอมรับ “การเสียชีวิต” ว่าเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของชีวิต -ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยควบคู่ไปกับการดูแลอาการทางกายเสมอ -ให้ ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการ ดูแล -การดูแลควรให้ความสำคัญต่อค่านิยม ความเชื่อ และศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว -มี ระบบการดูแลที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อ เนื่องจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิตตลอดจนให้การดูแลภาวะเศร้าโศกของครอบครัว ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว -การดูแลควรทำในลักษณะของคณะสหวิชาชีพ เพื่อให้คณะผู้ดูแลสามารถดูแลปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ ของผู้ป่วยและครอบครัวได้ดีที่สุด -สามารถ ทำควบคู่ไปพร้อมๆ กับการรักษาอื่นๆ เช่นการผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรคเพื่อลดความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญหน้ากับการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อการดูแลแบบประคับประคอง ตาม “LIFESS” มีดังนี้ - L = “Living Will” หมายถึง การแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการดูแลรักษาและวิธีการดูแลหากมีอาการทรุดลง - I = “Individual belief” หมายถึง ความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ความตาย หรือการเสียชีวิต - F = “Function” หมายถึงระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือดูแลตนเองของผู้ป่วย - E = “Emotional” หมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการเจ็บป่วย รวมทั้งวิธีที่ผู้ป่วยและครอบครัวใช้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว - S = “Symptoms” หมายถึงความไม่สุขสบายทางร่างกายและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจให้วิธีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือใช้แบบประเมิน เช่น Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) - S = “Social and support” หมายถึงปัญหาสุขภาพทางด้านสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนที่พึ่งของผู้ป่วยและครอบครัวในเวลาที่มีการเจ็บป่วย Advance care plan คือ การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ๑. Patient preference สิ่งที่คนไข้ต้องการ ให้ความสำคัญ เป้าหมายการดูแลรักษาเมื่อถึงวาระสุดท้ายของตนเอง ๒. Advance decisions คือ การแสดงเจตนาว่าจะรับ/ไม่รับการดูแลรักษา เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเมื่อสูญเสียสติสัมปชัญญะ ไปจนไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตนเองแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่กฎหมายให้การรับรอง ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมาณจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามมาตรา ๑๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยก่อนปฏิบัติตามว่าคนไข้อยู่ในภาวะ นั้นหรือถึงเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามแล้วหรือยัง ๓. Proxy nomination การเลือกบุคคลใกล้ชิดแสดงเจตนาแทน เมื่อไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
บทบาทหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานของผู้แทนสภาการพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้ - การควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาพยาบาล - การควบคุมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานและจริยธรรม - การ ส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การคุ้มครองผู้บริโภคหรือประชาชน ผู้ใช้บริการที่กระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สถานการณ์สำคัญในระบบสุขภาพและบทบาทสภาการพยาบาล ๑. การแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากการขาดแคลน
๒. การธำรงรักษาและลดการสูญเสียกำลังคน
๓. การสนับสนุนบริการปฐมภูมิ ๔. การสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถและความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ๕. การป้องกันความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพ
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
-ใช้การให้ความรู้แก่นักศึกษาพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยในคลินิก
-ใช้ในการปฏิบัติงานพยาบาลให้สอดคล้องกับนโยบาย และเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่สภาการพยาบาลให้การควบคุมดูแล |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
(1476)