การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔
ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 29 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพข้อสอบและจัดทำข้อสอบรวบยอด ปีการศึกษา ๒๕๕๔
  วันที่บันทึก  5 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
๑. บรรยาย “ผล การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบความรู้รวบยอดสถาบันพระบรมราชชนก ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และแนวทางการการพัฒนาข้อสอบความรู้รวบยอดในปีการศึกษา ๒๕๕๔”

๒. ปฏิบัติการจัดทำข้อสอบวัดความรู้วิชาการผดุงครรภ์ ที่เป็นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สอดคล้องตามผลการวิเคราะห์ในปีที่ผ่าน มา และสอดคล้องตาม Blue print ของรายวิชา 

๓. วิพากษ์ข้อสอบรวมกับผู้เชี่ยวชาญประจำกลุ่ม และปรับปรุงข้อสอบให้สอดคล้องกับระดับการวัดพฤติกรรม

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
พัฒนาแนวทางการวิเคราะห์โจทย์คำถาม และการตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบผู้เรียนโดยอาศัย ค่าความยาก ง่าย และอำนาจจำแนก

-   พัฒนากลวิธีการออกข้อสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานการวัดผลการเรียนรู้

- แลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการระหว่างอาจารย์พยาบาล เพิ่มความแม่นยำในองค์ความรู้ และพัฒนาความรู้เดิมให้มีความทันสมัย

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(301)

การประชุมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Ulibm

การประชุมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Ulibm
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด และนายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 24 ก.ค. 2555   ถึงวันที่  : 28 ก.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมเชิงปฏิบัติการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Ulibm
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555

 รายละเอียด

ส่วนของผู้ดูแลระบบ

1 . การติดตั้งอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดคือระบบ ulibM ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากเวอร์ชั่นเดิม(version 5.0)ที่เราใช้ในการยืมคืน ทำการอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่น 5.7+4

2. การ ติดตั้งและคอนฟิกค่าระบบที่เพิ่มขึ้นคือการทำการค้นหาสื่อสารสนเทศหรือ หนังสือจากห้องสมุดในเครือข่ายเดียวกันได้นอกจากห้องสมุดของเรา ที่เรียกว่าระบบ Single Search

3 .การติดตั้งและคอนฟิกค่าระบบ Bibstream คือ ระบบที่ช่วยเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ในการแคทตาล็อกหนังสือเข้าระบบโดยการค้นหา ข้อมูลหนังสือต่างๆโดยอัตโนมัติจากที่อื่นเพื่อมาใส่ลงในระบบ
สามารถเข้าใช้งานได้ที่   http://library.bcnnakhon.ac.th  หรือที่ลิงค์หน้าเว็บของวิทยาลัย

                  ส่วนงานของเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์คือ

เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการใช้งานระบบต่างๆที่เพิ่มขึ้น

การแคทตาล็อกหนังสือเข้าระบบห้องสมุดด้วย ระบบ Bibstream

การตั้งค่าต่างๆในส่วนของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเช่นการนำเข้าสมาชิก


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ปรับปรุงดูแลโปรแกรมระบบห้องสมุด และให้บริการระบบยืมคืนหนังสือของห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพ

การแคทตาล็อกหนังสือผ่านระบบ Bibstream

(323)

แนวทางการจัดการทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

แนวทางการจัดการทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
ผู้บันทึก :  นางสาวนุชรีย์ เขียดนิล นางพนิดา รัตนพรหม และนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 15 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 17 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมแพทย์โรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์แห่งประเทศไทย กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และคณะ แพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  แนวทางการจัดการทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               กลยุทธ์และการจัดการปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ แบ่งเป็นการให้บริการเชิงรุก ได้แก่ การสำรวจเยี่ยมแหล่งบริการ การสร้างความ สัมพันธ์ในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของแหล่งบริการ ผู้ให้บริการทางเพศ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ การจัดรณรงค์ อบรมเรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค ได้แก่ ผู้ให้บริการทางเพศ เยาวชน กลุ่มแรงงาน กลุ่มประมง MSM และการสนับสนุนการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรอง สำหรับการให้บริการในคลินิก เน้นการคัดกรอง การให้บริการรักษา การให้สุขศึกษาและส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย การให้การปรึกษา HIV/STI การติดตามผู้สัมผัสโรค การให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ การบันทึกการตรวจรักษา และทำรายงาน ๕o๖ ก๑ และ ก ๒ ๑.๑.๒ วัคซีนป้องกันโรคหูดหอนไก่และมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๙o ของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักเกิดจาก HPV ๖, ๑๑ และร้อยละ ๗o ของมะเร็งปากมดลูก เกิดจาก HPV ๑๖, ๑๘ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้หญิงอายุ <17 ปี เพื่อให้มีภูมิต้านทาน โดยเฉพาะ Quadrivalent HPV vaccine (HPV ๖, ๑๑ , ๑๖, ๑๘ ) ๑.๑.๓ แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกประเทศไทย ๒๕๕๓ ในกรณีไม่เคยรับยาต้านไวรัสก่อนตั้งครรภ์ และ CD4> ๓๕o cells/mm3 ใช้ HAART ตั้งแต่ GA 14 wks หาก CD4 < ๓๕o cells/mm3 ให้ HAART ทันที กรณีได้รับ HAART อยู่แล้วให้ต่อได้เลย เมื่อเริ่มเจ็บท้อง ให้ AZT 300 mg q 3 hr หรือ AZT 600 mg ครั้งเดียว หลังคลอด ในกลุ่มที่ไม่เคยได้รับยาก่อนตั้งครรภ์ให้หยุดยาหาก CD4> ๓๕o cells/mm3 และให้ยาต่อหาก CD4< ๓๕o cells/mm3 ส่วนกลุ่มที่เคยได้รับ HAART ก่อนการตั้งครรภ์ ให้ HAART ต่อ ทั้งนี้ต้องผ่านกระบวนการให้บริการปรึกษาก่อนและหลังตรวจหาเชื้อ HIV แก่ผู้รับบริการและครอบครัว ๑.๑.๔ สิทธิการเจริญพันธุ์และความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการเตรียมการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี เตรียมโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารก รวมถึงแนวทางการลดการแพร่กระจายเชื้อ โดยการใช้ถุงยางอนามัย การให้ยาต้านไวรัส การผ่าตัดคลอด การงดการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ตลอดจนการช่วยเจริญพันธ์ ได้แก่ การผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ ทั้งนี้อาจใช้ไข่/อสุจิบริจาค การล้างอสุจิ หรือการอุ้มบุญ ๑.๑.๗ ปัญหาเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ของวันรุ่นไทย มีแนวทางการแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นประเด็นการป้องกันเพศสัมพันธ์ก่อนวัยและ ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยทั้งในกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทาง เพศ โดยเน้นให้รู้เรื่องเพศตามวัย ปลูกฝังค่านิยมในการรักและเห็นคุณค่าในตนเอง สอนการผ่อนคลาย เรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านกิจกรรม สำหรับในกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน เน้นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เช่น STI HIV การคุมกำเนิด และการใช้ถุงยางอนามัย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน การสอนรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ โดยเฉพาะโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(293)

แนวโน้ม และอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการศึกษา

แนวโน้ม และอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการศึกษา
ผู้บันทึก :  นายวินิจฉัย นินทรกิจ
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 ก.ย. 2555   ถึงวันที่  : 28 ก.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  แนวโน้ม และอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการศึกษา
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
                เรียนรู้เทคโนโลยีของ HDTV ที่ มีใช้อยู่ในปัจจุบันและทิศทางแนวโน้มการพัฒนาในอนาคตเพื่อให้สามารถเลือก เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ,เรียนรู้หลักการของ DNS Server เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายของวิทยาลัยฯ ให้มีประสิทธิภาพ , เรียนรู้การทำงานของ Mobile E-Learning เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้, เรียนรู้ระบบ Cloud Computing เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในระบบการทำงานและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล , เรียนรู้ระบบ Security and Network Management เพื่อให้รู้วิธีการและรู้แบบการจู่โจมเข้าถึงข้อมูล ร่วมถึงวิธีการป้องกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร , ได้รู้จัก Green IT เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้อุปกรณ์ IT, ร่วมปรึกษาทิศทางการพัฒนาระบบเครือข่าย ระบบสารสนเทศ และE-Learning โดยเบื้องต้นจะทำการแยกเป็นกลุ่มเครือข่ายแต่ละภาคช่วยกันพัฒนาระบบสารสนเทศและ E-Learning ใช้ร่วมกัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
               เพื่อ ให้สามารถเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยนำไปใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายของวิทยาลัยฯ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ ตลอดจนรู้วิธีการและรู้แบบการจู่โจมเข้าถึงข้อมูล ร่วมถึงวิธีการป้องกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร

(275)

การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
 ผู้บันทึก :  นางสาวอรวรรณ ฤทธิ์มนตรี
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรมระยะสั้น
  เมื่อวันที่ : 4 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 28 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
  วันที่บันทึก  9 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วิชาหลักสูตร/การสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน รศ.ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่ และ อ.ดร. มารุต พัฒผล – การพัฒนาหลักสูตร – ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา การศึกษากับหลักสูตร – ความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับการสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน ดร. ไพลิน นุกูลกิจ -เทคนิคการสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน ดร. งามนิตย์ รัตนานุกูล – การออกแบบการจัดการเรียนการสอน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำ TQF – คู่มือการจัดการเรียนการสอน ผู้สอน ดร. ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร – การวิเคราะห์หลักสูตรกับการสอน ผู้สอน ดร. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา – เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ – การเรียนการสอนแบบ Self Directed learning ผู้สอน ผศ. นันทนา วงษ์อินทร์ – จิตวิทยาการศึกษา ผู้สอน ดร.พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์ – เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด วิชาปรัชญา/มโนทัศน์การศึกษาทางการพยาบาล ผู้สอน ดร. ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร – จรรยาบรรณวิชาชีพครู/มาตรฐานวิชาชีพครู – กรอบแนวคิดการจัดการเรียนการสอน – บทบาทหน้าที่และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ระดับอุดศึกษา และครูพยาบาล – การสร้างเสริมบุคลิกภาพความเป็นครู ผู้สอน อาจารย์สุดสวาท สุจริตกุล – การเสริมสร้างบุคลิกภาพความเป็นครู ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน มารยาทในการรับประทานอาหาร การแต่งกาย และอื่นๆ ผู้สอน ดร. อุไร นิโรธนันท์ – การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งได้ฝึกกำหนดสิ่งที่ต้องการ ค้นหาคำตอบ กำหนดหัวข้อ ประเด็น และศึกษาจากหลักฐานเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูลต่างๆ ผู้สอน ดร. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา – ได้เรียนรู้และฝึกทำ Learning contract วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ผู้สอน ดร.สุมนา โสตถิผลอนันต์ – ได้เรียนรู้และฝึกเขียนโครงร่างวิจัยกลุ่มละ ๑ เรื่อง วิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ผู้สอน ผศ.ดร.สุนันท์ ศลโกสุม – หลักการวัดและการประเมินผลทางการศึกษา – การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง – เครื่องมือวัดผลทางการศึกษาประเภทต่างๆ – การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา – นวัตกรรมในการประเมินผล – คะแนนและการให้ระดับคะแนน วิชาการสอนในชั้นเรียนและในคลินิก – การเรียนการสอนแบบ PBL – การผลิตสื่อการเรียนการสอน – การเขียนแผนการสอนภาคทฤษฎี – การเขียนแผนการสอนภาคปฏิบัติ – การเขียนแผนการนิเทศ ภาคปฏิบัติ ๑. ได้ฝึกเขียนแผนการสอน ฝึกสอนในชั้นเรียนและในคลินิก ในสถานการณ์จำลอง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คนละ ๑ ครั้ง ๒ ได้ฝึกเป็นผู้ประเมินการสอน ๒ ครั้ง ๓. ได้ฝึกกิจกรรมครู เช่น การจัดทำ มคอ. ๓ การเขียนแผนการสอน การออกข้อสอบ การวิพากษ์ข้องสอบ การตัดเกรด เป็นต้นโดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ที่เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ๔. กสอนในสถานการณ์จริง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก ซึ่งกิจกรรมที่ฝึกได้แก่ การสอนในชั้นเรียน ๓ครั้ง การสอนในคลินิก ๓รั้ง การนิเทศในคลินิก 3 ครั้ง นอกจากนี้ได้ฝึกกิจกรรมครู เช่น การจัดทำรายละเอียดวิชา มคอ.๓ การวิพากษ์ มคอ. ๓ การออกข้อสอบ วิพากษ์ข้อสอบ ตรวจงานนักศึกษา เป็นต้น ๕.เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัย ได้แก่ ร่วมงานวันสถาปนาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ร่วมทำบุญขึ้นปีใหม่กับบุคคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช และอื่นๆ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              พัฒนาบุคคลิกภาพให้เหมาะสมกับความเป็นครู – นำความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนในชั้นเรียน ในคลินิก และการนิเทศมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของนักศึกษา และวิทยาลัย – มีทักษะในการจัดทำมคอ. ๓และการวิพากษ์ มคอ. ๓ – มีเทคนิคและหลักการในการออกข้อสอบ และวิพากษ์ข้อสอบ – มีทักษะในการตรวจงานและให้คะแนนนักศึกษา – มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์การฝึกสอน – มีความสามารถในการผลิตสื่อการสอนเพิ่มมากขึ้น – มีเครือข่ายในการติดต่อประสานงานระหว่างวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(396)