ผู้บันทึก : นางพนิดา รัตนพรหม | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 19 ก.ค. 2554 ถึงวันที่ : 21 ก.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ที่รับผิดชอบในด้านการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบของกระบวนการ OSCE | |
วันที่บันทึก 18 ส.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
แบบทดสอบ OSCE มาจากคำว่า Objective Structured Clinical Examinations เป็น การทดสอบทักษะทางคลินิก นิยมใช้ทดสอบกับนักศึกษาแพทย์ ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนก นำโคยงานพัฒนาบุคลากรจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ในการทดสอบหลังสิ้นสุดการจัดอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลสาขาการพยาบาล เวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่ง ในการจัดทำชุดทดสอบได้แบ่งหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบจัดโครงการเวชปฏิบัติฯ ของวิทยาลัยพยาบาลฯ ทุกแห่งนำไปออกแบบและนำเข้าที่ประชุมเพื่อร่วมกันวิพากษ์ โจทย์สถานการณ์ทั้ง ๖ สถานี ซึ่งประกอบด้วย ๑. การซักประวัติ ๒.การตรวจร่างกาย ๓. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษ และการแปลผล ๔.การวินิจฉัยแยกโรค ๕. การรักษาเบื้องต้น ๖. การให้คำแนะนำ
- ในการออบแบบโจทย์แต่ละสถานี ผู้ ออกข้อสอบจะต้องจัดทำแบบประเมิน และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ครอบคลุมคำตอบ โดยเน้นความเที่ยงตรงทั้งเชิงเนื้อหา และโครงสร้าง โดยเฉพาะสถานีซักประวัติ และตรวจร่างกาย ซึ่งมักจะมีคำตอบที่หลากหลาย ผู้สอบอาจคิดถึงเรื่อง ที่ผู้ออกข้อสอบคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงต้องวางโครงสร้างคำตอบที่เป็นไปได้ และกำหนดคะแนนอย่างเหมาะสม - การจัดสอบ ผู้เข้าสอบจะเข้าสอบตามลำดับสถานี โดยมีอาจารย์คุมสอบ สถานีละ ๑ คน มีผู้แสดงเป็นผู้ป่วย ซึ่งอาจใช้ผู้ป่วยจริง หรือ อาจารย์แสดงเป็นผู้ป่วยเอง ทั้งนี้หลังการสอบแต่ละสถานี นอกจากอาจารย์ให้คะแนนแล้ว ผู้ป่วยควรให้คะแนนผู้สอบด้วยเพื่อป้องกันความลำเอียงของการให้คะแนน |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
- การจัดสอบ OSCE ต้องมีความพร้อมทุก ๆ ด้าน ดังนี้
๑) ชุดโจทย์สถานการณ์ และเครื่องมือวัดประเมินผล ต้องมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และโครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เวลาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบทดสอบอย่างมาก ๒) การจัดให้เข้าสอบจัดได้ฐานละ ๑ คน แต่ละคนต้องสอบทั้ง ๖ สถานี สถานีละประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที รวมเวลาประมาณ ๑ – ๑.๓๐ ชั่วโมง ต้องใช้อาจารย์คุมสอบฐานละประมาณ ๓ คนเป็นอย่างน้อย หากมีผู้สอบ ๕๐ คน คาดว่าต้องใช้เวลา มากกว่า ๑ สัปดาห์ ตลอดจนมีความยุ่งยากมากหากต้องให้ผู้สอบเข้าสอบมากกว่า ๑ ฐาน เพื่อให้เกิดการวัดองค์ความรู้จากระบบต่างๆ อย่างทั่วถึง สรุป ข้อสอบ OSCE มีข้อดีที่สามารถวัดการประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติ ได้อย่างมาก ครอบคลุมทักษะการตรวจ วินิจฉัยโรค และการรักษาโรค ซึ่ง หากนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรอบรมการพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือทดสอบในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาพยาบาล จะช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะทางคลินิกที่ดี แต่ต้องอาศัยการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านดังที่กล่าว ซึ่งคาดว่าอาจไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่ต้องการ |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การพัฒนาความสามารถด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน
|
(521)