ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๑๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”

ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๑๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๑๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต”
  วันที่บันทึก  31 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๑.การปาฐกถานำเรื่องสถาบันพระบรมราชชนก อุดมการณ์จัดการศึกษาที่เน้นคุณค่าของความเป็นคน โดยผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ปาฐกถาได้ชี้ประเด็นความสำคัญสถาบันพระบรมราชชนก เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาบุคลากรต้องพัฒนาความรู้ที่ทันสมัย พัฒนาเทคนิคการทำงาน และพัฒนาให้บุคลากรสาธารณสุขให้สร้างระบบการปรับความคิด ให้คิดใหม่ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาความคิดของคนทำงาน ให้ทำความเข้าใจประชาชน มองว่าประชาชนคิดอย่างไร เข้าใจสิ่งที่ประชาชนคิด ประชาชนทำ เข้าใจการให้คุณค่าแต่ละเรื่องว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงนำความเข้าใจนั้นมาต่อยอดการทำงานพัฒนาสุขภาพ ๒.การเสวนา มนุษย์: มุมมองที่เปลี่ยนไป ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนความคิด เรียนความจริง เรียนชีวิตคน ทำให้นักศึกษาเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง เข้าใจมนุษย์ ในมุมมองที่ไม่เคยรู้มาก่อน เข้าใจความคิดตัวเอง ใช้ข้อคิด จากชีวิตที่เห็นและเรียนรู้มาสร้างพลังในการเรียน ๓.บรรยายพิเศษ ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ๔.บรรยายพิเศษ การปฎิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๕.เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องการสอนทัศนคติ การเรียนสภาพจริง: เปลี่ยนความคิดพิชิตความจริง ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญของทัศนคติต่อการเรียนการสอน ผู้สอนต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้ ได้เข้าใจต้องมองในภาพกว้าง พยาบาลต้องเข้าใจเรื่องความคิด ต้องสอนให้คิด ๖. เสวนา ครอบครัวเดียวกัน ๗.เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องพัฒนาจิตกับการศึกษา ระบบครอบครัวเสมือน ๘. บรรยายเรื่อง การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้หลักการ อุดมการณ์การจัดการศึกษาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไป และ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต


(339)

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
 ผู้บันทึก :  นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 3 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
  วันที่บันทึก  23 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ – การเตรียมการออกข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบจะต้องทราบคำตอบว่าใช้สอบใคร สอบทำไม สอบอะไร และ เลือกใช้ข้อสอบแบบใด – เกณฑ์ในการออกข้อสอบ (ว่าควรใช้ข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย) ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ ๑) จุดมุ่งหมายของการทดสอบ ๒) เวลาที่ใช้ในการ สร้างข้อสอบและการให้คะแนน ๓) จำนวนผู้สอบ ๔) การจัดพิมพ์ข้อสอบ ๕) ทักษะของผู้ออกข้อสอบ และ ๖) การนำข้อสอบมาใช้อีก – การสร้างข้อสอบปรนัยแบบชนิดเลือกตอบ – ข้อสอบแบบนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ตัวคำถามและตัวเลือก สามารถนำไปวัด พฤติกรรมได้มากกว่าข้อสอบชนิดอื่นๆ คือวัดได้ตั้งแต่ระดับความจำจนถึงขั้นการประเมินค่า – หลักการสร้างคำถามแบบข้อสอบปรนัย ๑) ข้อคำถามต้องเป็นประโยคสมบูรณ์ ชัดเจน ผู้อ่านอ่านแล้วทราบทันทีว่าคำถามต้องการทราบอะไร ๒) เขียนคำถามให้ชัดเจนตรงจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการทราบ ๓) ข้อคำถามแต่ละข้อควรถามเรื่องเดียว ๔) ไม่ควรใช้คำปฏิเสธในข้อคำถาม ๕) คำถามควรใช้คำเฉพาะที่จำเป็น ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ ๖) อย่าใช้คำบางคำเป็นการแนะคำตอบแก่ผู้สอบ – ลักษณะการเขียนตัวเลือก ๑) ตัวถูก- ผิด ไม่เด่นเกินไป ๒) เขียนตัวเลือกให้อิสระจากกัน ๓) เรียงลำดับตัวเลือกจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ๔) ในข้อสอบฉบับหนึ่งๆ ควรกระจายตัวเลือกถูกอนุมานให้มีทุกตัวเลือก – ระดับการวัดด้านสติปัญญา ที่แสดงถึงสมรรถภาพของสมอง แบ่งเป็น ๖ ด้าน คือ ๑) ความรู้ – ความจำ เป็นการถามความรู้ ข้อเท็จจริงในเนื้อเรื่อง หรือเกี่ยวกับวิธีการ หรือความคิดรวบยอด ๒) ความเข้าใจ คำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องใช้กระบวนการคิด ตรึกตรอง ทบทวนและเชื่อมโยงเนื้อหา และต้องไม่ใช่คำถามที่เคยถามผู้เรียนในชั้นเรียน เพราะถ้าใช้คำถามเดิมก็จะกลายเป็นการถามเกี่ยวกับความจำ ลักษณะคำถามควรถามให้แปลความ ตีความ หรือขยายความ ๓) การนำไปใช้ เป็นการถามความสามารถในการนำสาระสำคัญต่างๆ ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ลักษณะคำถามควรถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ ถามให้แก้ปัญหา ถามเหตุผลในการนำหลักวิชาไปปฏิบัติ ๔) การวิเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการแยกเรื่องราวออกเป็นส่วนย่อย เช่น การวิเคราะห์ส่วนประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ ๕) การสังเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการนำเอาข้อเท็จจริงและเงื่อนไขของเรื่องราวมาลงสรุป เป็นข้อยุติ และอนุมานผลรวมจากหลายสาเหตุ หรือจากความคิดเห็นหลายกระแสมาผสมผสานเกิดเป็นหลักการใหม่ เช่น สังเคราะห์การสื่อความหมาย สังเคราะห์แผนงาน สังเคราะห์ความสัมพันธ์ ๖) การประเมินค่า เป็นการตีราคาสิ่งต่างๆโดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าดี – เลวอย่างไร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และรายวิชามารดาทารก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก

(377)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 16 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 18 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้แก่ ๑.หลักการวัดประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินภาคทฤษฎีโดยใช้แบบทดสอบวัดระดับพฤติกรรม และการประเมินสภาพจริง ๒.การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรายละเอียดวิชา (มคอ.๓) และผังมโนทัศน์ ๓.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ๔. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชาเพื่อจัดทำผังข้อสอบ (Test specification) และสร้างข้อสอบรายวิชาเขียนรายละเอียดวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามผังข้อสอบ การประชุมครั้งที่ 1 ได้ประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculums mapping) และมีแผนการประชุมครั้งต่อไป การประชุมครั้งที่ ๒ จะจัดทำ ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางกระบวนการออกแบบย้อนกลับ Backward Design ซึ่งนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ การประชุมครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เขียนแผนการสอน สื่อการสอน และการวัดประเมินผลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ ๒๒-๒๔ กันยายน ๒๕๕๓


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดชุดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้เทคนิคและผลิตสื่อการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพ

(346)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา
 ผู้บันทึก :  นายสุทัศน์ เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 25 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ม.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               1. จากปรัชญาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2545 ที่เน้นความเป็นมนุษย์ (A Existential humanistic ) สิ่งที่ทำให้ชีวิตทั้งอยู่ได้ตามความเชื่อ ความศรัทธา และปัญญา โดยให้ความสำคัญ 2 เรื่อง คือ Human dimension และ Scientific dimension จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดมโนทัศน์ 3 อย่างได้แก่ ความเป็นมนุษย์ กิจกรรมการพยาบาล การดูแลอย่างเอื้ออาทร จากหลักสูตรดังกล่าวเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลโดยการนำหลัก สูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยมีการออกแบบการสอนซึ่งผู้ที่จะออกแบบการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องรู้เป้าหมายของหลักสูตร เข้าใจกรอบแนวคิดของการพยาบาลพื้นฐานความเอื้ออาทร วิเคราะห์ลักษณะรายวิชา วิธีการสอน และการวัดประเมินผล 2. ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามปรัชญาของหลักสูตร จะใช้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยในการออกแบบหรือวางแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ทฤษฎี Constructivism โดยมีหลักการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนจากประสบการณ์ตรง การเรียนจากง่ายไปยาก การเรียนจากรูปธรรมไปนามธรรม ใช้หลักเหตุผลแบบอุปนัยและแบบนิรนัย การเรียนจากสภาพจริง และการประเมินที่เน้นประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับการวางแผนหรือออกแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นต้องกำหนด วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ครบ 3 ด้านได้แก่ ด้านความรู้ ด้านกระบวนการ และด้านคุณสมบัติ กำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องหรือล้อไปกับวัตถุประสงค์ 3. การออกแบบการสอน มีแนวคิดหลักคือ เลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา โดยเริ่มตั้งแต่ การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ในรายวิชา กำหนดเนื้อหา สาระ ให้ถูกต้องชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม KAP กำหนดยุทธศาสตร์ / หลักการเรียนรู้ (สอนตรง : สอนเน้นครูเป็นศูนย์กลาง , สอนด้วยสื่อ : เรียนรู้ด้วยตนเอง , สอนทางอ้อม : สอนเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ) กำหนดสื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้ กำหนดการประเมินการเรียนรู้ ( ประเมินอะไร ประเมินด้วยเครื่องมืออะไร ประเมินอย่างไร ประเมินโดยใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ )


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การออกแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และแนวทางการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

(310)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
 ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 29 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 31 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๒ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
  วันที่บันทึก  19 เม.ย. 2553


 รายละเอียด
               ๑.การคิดเชิงบูรณาการ (Integrated Thinking) และการสร้างผังมโนทัศน์ ๒.หลักการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : การนำไปใช้ ๓.จัดทำผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ๔.การกำหนดแบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางกระบวนการออกแบบย้อนกลับ Backward Design ๕. เขียนรายละเอียดวิชาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์(TQF) ๖. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การประชุมครั้งที่ 1 ได้ประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculums mapping) และมีแผนการประชุมครั้งต่อไป การประชุมครั้งที่ ๒ จะจัดทำ ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางกระบวนการออกแบบย้อนกลับ Backward Design ซึ่งนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ การประชุมครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เขียนแผนการสอน สื่อการสอน และการวัดประเมินผลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ได้ชุดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ไปใช้ในการเรียนการสอนในวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้เทคนิคและการสื่อสารที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อ ให้การสอนมีประสิทธิภาพ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต


(386)