การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑

การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
 ผู้บันทึก :  นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 3 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 4 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาล ครั้งที่ ๑
  วันที่บันทึก  23 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ – การเตรียมการออกข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบจะต้องทราบคำตอบว่าใช้สอบใคร สอบทำไม สอบอะไร และ เลือกใช้ข้อสอบแบบใด – เกณฑ์ในการออกข้อสอบ (ว่าควรใช้ข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย) ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ ๑) จุดมุ่งหมายของการทดสอบ ๒) เวลาที่ใช้ในการ สร้างข้อสอบและการให้คะแนน ๓) จำนวนผู้สอบ ๔) การจัดพิมพ์ข้อสอบ ๕) ทักษะของผู้ออกข้อสอบ และ ๖) การนำข้อสอบมาใช้อีก – การสร้างข้อสอบปรนัยแบบชนิดเลือกตอบ – ข้อสอบแบบนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ตัวคำถามและตัวเลือก สามารถนำไปวัด พฤติกรรมได้มากกว่าข้อสอบชนิดอื่นๆ คือวัดได้ตั้งแต่ระดับความจำจนถึงขั้นการประเมินค่า – หลักการสร้างคำถามแบบข้อสอบปรนัย ๑) ข้อคำถามต้องเป็นประโยคสมบูรณ์ ชัดเจน ผู้อ่านอ่านแล้วทราบทันทีว่าคำถามต้องการทราบอะไร ๒) เขียนคำถามให้ชัดเจนตรงจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการทราบ ๓) ข้อคำถามแต่ละข้อควรถามเรื่องเดียว ๔) ไม่ควรใช้คำปฏิเสธในข้อคำถาม ๕) คำถามควรใช้คำเฉพาะที่จำเป็น ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ ๖) อย่าใช้คำบางคำเป็นการแนะคำตอบแก่ผู้สอบ – ลักษณะการเขียนตัวเลือก ๑) ตัวถูก- ผิด ไม่เด่นเกินไป ๒) เขียนตัวเลือกให้อิสระจากกัน ๓) เรียงลำดับตัวเลือกจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย ๔) ในข้อสอบฉบับหนึ่งๆ ควรกระจายตัวเลือกถูกอนุมานให้มีทุกตัวเลือก – ระดับการวัดด้านสติปัญญา ที่แสดงถึงสมรรถภาพของสมอง แบ่งเป็น ๖ ด้าน คือ ๑) ความรู้ – ความจำ เป็นการถามความรู้ ข้อเท็จจริงในเนื้อเรื่อง หรือเกี่ยวกับวิธีการ หรือความคิดรวบยอด ๒) ความเข้าใจ คำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องใช้กระบวนการคิด ตรึกตรอง ทบทวนและเชื่อมโยงเนื้อหา และต้องไม่ใช่คำถามที่เคยถามผู้เรียนในชั้นเรียน เพราะถ้าใช้คำถามเดิมก็จะกลายเป็นการถามเกี่ยวกับความจำ ลักษณะคำถามควรถามให้แปลความ ตีความ หรือขยายความ ๓) การนำไปใช้ เป็นการถามความสามารถในการนำสาระสำคัญต่างๆ ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ลักษณะคำถามควรถามความสอดคล้องระหว่างหลักวิชากับการปฏิบัติ ถามให้แก้ปัญหา ถามเหตุผลในการนำหลักวิชาไปปฏิบัติ ๔) การวิเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการแยกเรื่องราวออกเป็นส่วนย่อย เช่น การวิเคราะห์ส่วนประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ ๕) การสังเคราะห์ เป็นการถามความสามารถในการนำเอาข้อเท็จจริงและเงื่อนไขของเรื่องราวมาลงสรุป เป็นข้อยุติ และอนุมานผลรวมจากหลายสาเหตุ หรือจากความคิดเห็นหลายกระแสมาผสมผสานเกิดเป็นหลักการใหม่ เช่น สังเคราะห์การสื่อความหมาย สังเคราะห์แผนงาน สังเคราะห์ความสัมพันธ์ ๖) การประเมินค่า เป็นการตีราคาสิ่งต่างๆโดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าดี – เลวอย่างไร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และรายวิชามารดาทารก


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดทำข้อสอบวัดความรู้รายวิชาทางการพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก

(378)

Comments are closed.