การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
ผู้บันทึก :  นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 16 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 18 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาล ๖ รายวิชา ครั้งที่ ๓ ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้แก่ ๑.หลักการวัดประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินภาคทฤษฎีโดยใช้แบบทดสอบวัดระดับพฤติกรรม และการประเมินสภาพจริง ๒.การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรายละเอียดวิชา (มคอ.๓) และผังมโนทัศน์ ๓.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ๔. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชาเพื่อจัดทำผังข้อสอบ (Test specification) และสร้างข้อสอบรายวิชาเขียนรายละเอียดวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามผังข้อสอบ การประชุมครั้งที่ 1 ได้ประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculums mapping) และมีแผนการประชุมครั้งต่อไป การประชุมครั้งที่ ๒ จะจัดทำ ผังมโนทัศน์ (Concept Mapping) ในเนื้อหาแต่ละบทของรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางกระบวนการออกแบบย้อนกลับ Backward Design ซึ่งนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ การประชุมครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เขียนแผนการสอน สื่อการสอน และการวัดประเมินผลในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ ๒๒-๒๔ กันยายน ๒๕๕๓


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดชุดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้เทคนิคและผลิตสื่อการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพ

(347)

Comments are closed.