ผู้บันทึก : นางจิราภรณ์ กาญจนะ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 26 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี ๑๕๕๓ “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต” | |
วันที่บันทึก 31 ส.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑.การปาฐกถานำเรื่องสถาบันพระบรมราชชนก อุดมการณ์จัดการศึกษาที่เน้นคุณค่าของความเป็นคน โดยผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ปาฐกถาได้ชี้ประเด็นความสำคัญสถาบันพระบรมราชชนก เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาบุคลากรต้องพัฒนาความรู้ที่ทันสมัย พัฒนาเทคนิคการทำงาน และพัฒนาให้บุคลากรสาธารณสุขให้สร้างระบบการปรับความคิด ให้คิดใหม่ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาความคิดของคนทำงาน ให้ทำความเข้าใจประชาชน มองว่าประชาชนคิดอย่างไร เข้าใจสิ่งที่ประชาชนคิด ประชาชนทำ เข้าใจการให้คุณค่าแต่ละเรื่องว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงนำความเข้าใจนั้นมาต่อยอดการทำงานพัฒนาสุขภาพ ๒.การเสวนา มนุษย์: มุมมองที่เปลี่ยนไป ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนความคิด เรียนความจริง เรียนชีวิตคน ทำให้นักศึกษาเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง เข้าใจมนุษย์ ในมุมมองที่ไม่เคยรู้มาก่อน เข้าใจความคิดตัวเอง ใช้ข้อคิด จากชีวิตที่เห็นและเรียนรู้มาสร้างพลังในการเรียน ๓.บรรยายพิเศษ ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ๔.บรรยายพิเศษ การปฎิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๕.เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องการสอนทัศนคติ การเรียนสภาพจริง: เปลี่ยนความคิดพิชิตความจริง ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญของทัศนคติต่อการเรียนการสอน ผู้สอนต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้ ได้เข้าใจต้องมองในภาพกว้าง พยาบาลต้องเข้าใจเรื่องความคิด ต้องสอนให้คิด ๖. เสวนา ครอบครัวเดียวกัน ๗.เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องพัฒนาจิตกับการศึกษา ระบบครอบครัวเสมือน ๘. บรรยายเรื่อง การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การจัดการศึกษา ปฏิบัติการสอนโดยใช้หลักการ อุดมการณ์การจัดการศึกษาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไป และ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
|
(340)