“Thai-Finnish Conference on Wellness Service”

“Thai-Finnish Conference on Wellness Service”
ผู้บันทึก :  นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 6 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 6 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  Health and Sport Center มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  “Thai-Finnish Conference on Wellness Service”
  วันที่บันทึก  31 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ การจัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อ ความสุข (Wellness Model) และเทคโนโลยีการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและรูปแบบการจัดบริการ และเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ในแวดวงผู้ให้บริการ Wellness ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้มีตัวแทนจากบริษัท Life Science Industry, Finpro และตัวแทนจากบริษัท Business Development, CorusFit Oy ของประเทศฟินแลนด์มาบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท และให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหัวใจ ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจาก มีการทำ World-class Research และ Excellent Education และมีแหล่งทุนที่มั่นคง มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นประเทศฟินแลนด์ยังมีการสนับสนุนการลงทุนธุรกิจรายย่อยเพื่อกิจการ ด้านสุขภาพ และเปิดโอกาสให้บริษัทในต่างชาติร่วมลงทุน ซึ่งร้อยละ 90 ของสินค้าด้านสุขภาพในประเทศฟินแลนด์เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นประเทศฟินแลนด์ยังส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันของศูนย์วิทยา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ บริษัท Life Science Industry, Finpro เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของชาวฟินแลนด์และร่วมมือกับประเทศอื่น ในเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี โดยบริษัทได้มีการสร้างเครือข่ายกว่า 40 ประเทศในแถบยุโรป เอเชีย อเมริกาและแอฟริกา โดยการทำงานจะมุ่งเน้นในการป้องกันโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและเน้นการใช้ Biomaterials, Conceptualizing Health Care Concepts, Food safety, Ecology products, Wireless solution, Information technology, Biotechnology, Nanotechnology, และให้บริการแบบองค์รวม ส่วนบริษัท CORUSFIT ของประเทศฟินแลนด์ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนา ผลิตและบำรุงรักษา Evidence-based Physical Exercise Prevention และ Rehabilitation Concepts ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเฝ้าระวัง ในการประชุมครั้งนี้บริษัท CORUSFIT ได้นำเสนอโปรแกรม CORUSCARDIO ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายเพื่อการป้องกันการ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CORUSCARDIO PROGRAME) รวมถึงการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ (CORUSCARDIO CAD) ทั้งสองโปรแกรมจะดำเนินงานโดยยึดหลักการให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกาย แบบแอโรบิคแบบหยุดพักเป็นช่วงๆ (Interval Aerobic Training) ร่วมกับการให้บริการตรวจเช็คร่างกายทางการแพทย์และการทำ Maximal Exercise Test โดยขณะที่ออกกำลังกายจะมีผู้มีความรู้และประสบการณ์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด โดยการออกกำลังกายจะทำอาทิตย์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยแต่ละครั้งของการออกกำลังกายจะใช้เวลา 60 นาที โดยการออกกำลังกายจะเป็นการผสมระหว่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกแรง ต้าน ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับบริการติดตามผลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ โภชนาการในระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมเช่นกัน ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมมีปริมาณของ Estimated Maximal Oxygen Uptake สูงขึ้น และมีการลดลงของ Waist Circumference, Total Cholesterol, Triglycerides, Fasting Blood Glucose, และ Diastolic Blood Pressure สำหรับประเทศไทยสถาบันโรคทรวงอกทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ จากที่โรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สามรองจาก อุบัติเหตุและโรคมะเร็งในประเทศไทย และจำนวนผู้ป่วยจากโรคหัวใจขาดเลือดได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แผนกผู้ ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 3 เท่าและที่แผนกผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น 7-17 เท่า สถาบันโรคทรวงอกได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินโครงการเพื่อลด การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน ไม่ออกกำลังกาย และผู้ที่สูบบุหรี่ สถาบันโรคทรวงอกได้ยึดหลักการบูรณาการความรู้ ประสานเครือข่าย สร้างความสามารถในการดูแลตนเองของประชาชน เสริมความต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวก เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสร้างองค์ ความรู้ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคหัวใจและหลอดเลือดให้แก่ประชาชน ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในการดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้ จ่ายที่แพงและไม่จำเป็น สถาบันได้มีการบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์และมุ่งปรับใช้ให้เหมาะสมกับ บุคคล ได้แก่ ประชาชน ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เลือกวิธีการเรียนรู้จากการกระทำและเห็นจริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ เกิดทักษะแล้วนำไปใช้ปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต มุ่งกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดความสนใจ มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ในการปฏิบัติ และมีการติดตามและเพิ่มองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการประสานงานกับกลุ่มต่างๆในเครือข่าย อันได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำ/ อาสาสมัคร ชุมชน ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชนทุกแขนง และใช้เทคนิคการบรรยายทางวิชาการ สาธิต/การแสดงตัวอย่างของจริงและหุ่นจำลอง ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะ และถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดไปยังผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ปรับกับตนเอง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การจัดการเรียนการสอนวิชาการส่งเสริมสุขภาพ – การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย/ประชาชน – สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ในแวดวงผู้ให้บริการ Wellness ทั้งจากประเทศไทยและฟินแลนด์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพ

(395)

Comments are closed.