การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒

การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒
 ผู้บันทึก :  นางสาวจันทิมา ช่วยชุม และนางจันทนา อิสลาม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 14 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 15 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การดูแลสุขภาพเท้าและแผลในผู้เป็นเบาหวาน รุ่นที่ ๒
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               ความรู้ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ ๑. แผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานมักเกิดได้จาก ๓ ชนิด คือ – Neuropathic ulcer – Ischemic ulcer – Mixed ๒. Identifying ulcer risk ประกอบด้วย ๑) การตรวจ LOPS (Loss of protective sensation) โดยใช้ ๑o gm. Monofilament ทดสอบที่ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วเท้าที่๑ โคนนิ้วเท้าที่๑ โคนนิ้วเท้าที่ ๓ และโคนนิ้วเท้าที่ ๕ หาก LOPS เสีย ผลที่พบคือ จะไม่รู้สึกเมื่อถูกทดสอบด้วย ๑o gm. Monofilament จำนวน ๓ ใน ๔ ตำแหน่ง ๒) การผิดรูปของเท้าหรือการติดยึดของข้อต่างๆ ๓) การมีประวัติทำหัตถการหรือผ่าตัดของเท้ามาแล้ว ๓. Identifying amputation risk ประกอบด้วย ๑) ความลึกและความใหญ่ของแผลที่เท้า จะทราบว่าแผลลึกแค่ไหนนั้นก็โดยการใช้ Probe เป็นตัวหยั่งความลึก ๒) มีการติดเชื้อของแผลหรือไม่ ๓) แผลที่เท้ามีปัญหาเรื่องเส้นเลือดหรือไม่ การดูแลรักษาแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน มีหลายวิธีและหลายองค์ประกอบ หากแต่หลักสำคัญได้แก่ ๑. การทำความสะอาด การเอา calus ออก และทำแผลที่เท้า ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำ Felted foam dressing การเลือกใช้น้ำยา วัสดุอุปกรณ์การทำแผลที่เหมาะสมกับลักษณะแผล ได้แก่ Hydrogel Alginate Hydrocolloid ๒.การ off loading ของแผลที่เท้า กระทำได้ด้วยการเข้าเฝือก การตัดรองเท้าที่ลดการกดหรือเสียดสีกับลักษณะเท้าที่ผิดปกติไปในผู้เป็นเบา หวาน ๓. การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การรับประทานอาหาร และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติด้วยการประยุกต์อุปกรณ์ที่มีในโรงพยาบาลที่นิเทศให้กับ นักศึกษาและพยาบาลเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยนั้นๆ ๒. ใช้เป็นข้อมูลในการสอนและนิเทศนักศึกษาในหัวข้อของการดูแลแผลที่เท้าในผู้เป็น เบาหวาน ๓. มีการสร้างเครือข่ายให้กับวิทยาลัยโดยการได้ทำความรู้จักกับบุคลากรของโรงพยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้องได้อีกช่องทางหนึ่ง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนโรคเบาหวาน

(432)

Comments are closed.