ผู้บันทึก : นางวันดี แก้วแสงอ่อน และนางยุพิน ทรัพย์แก้ว | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 15 ก.ค. 2553 ถึงวันที่ : 16 ก.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพยาบาลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท | |
วันที่บันทึก 29 ก.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
โรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและมีความสำคัญในทางการแพทย์และทางการพยาบาล ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก และโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งแต่ละโรคจะมีการรักษาและให้การพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ภายใน 3 ชั่วโมง จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นหายจากโรคเป็นปกติได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีการพัฒนาการตรวจรักษาที่แม่นยำขึ้น จากเดิมที่มีการใช้ CT scan และ MRI ซึ่งทำให้มีการตรวจพบรอยโรคที่ล่าช้าปัจจุบันได้มีการตรวจวินิจฉัยที่มี ลักษณะ 3 มิติ คือ DW I(Diffusion weighted image) ทำให้สามารถตรวจพบลักษณะความผิดปกติในสมองได้เร็วและสามารถรักษาโรคหลอด เลือดสมองให้ผู้ป่วยฟื้นกลับได้เร็วขึ้น ส่วนด้านการพยาบาลมีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะการดูแล ต่อเนื่องที่บ้าน แบบเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีสายด่วนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ดูแลขอคำปรึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมาก ในส่วนของโรคลมชักส่วนใหญ่จะพบในเด็กซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน สำหรับโรคอัลไซเมอมักเกิดในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลงๆลืมๆ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง รักษาโดยใช้ยาเช่น Donepezil , Rivastigmine เป็นต้น ซึ่งยาแต่ละตัวจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีวิธีการดูแลที่ไม่ใช้ยาได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับสิ่งแวดล้อม การประคับประคองด้านจิตใจ และการฝึกทักษะทางสังคมเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
-การจัดการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่ปัญหาสุขภาพ 3 และวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,2,3 -การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การจัดการเรียนการสอน และการให้การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
|
(413)