การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์
 ผู้บันทึก :  นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 1 ก.พ. 2553   ถึงวันที่  : 2 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  จังหวัด :  นครศรีธรรมราช
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               ความเข้าใจมนุษย์ เป็นการทำความเข้าใจกับชีวิตตามความเป็นจริงของบุคคล ดังนั้น การเรียนรู้ที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการเรียนจากความเป็นจริงในชีวิต ของบุคคล จึงจำเป็น ที่ผู้เรียนต้องมีข้อมูลที่เป็นความจริงในการดำเนินชีวิตของบุคคล นำไปสู่การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจบุคคลตามบริบทสภาพแวดล้อมของเขา สร้างบทเรียนที่ได้จากชีวิตเขา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการเรียนตามทฤษฎีที่มีกรอบของทฤษฎีไป ทำความเข้าใจกับชาวบ้านโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาก็เป็นปัญหาตามทฤษฎี ไม่ใช่ปัญหาจริงของชาวบ้าน การสร้างการเรียนรู้ก็สร้างบนกรอบทฤษฎี ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดคุณค่าทางปัญญา แสดงให้เห็นถึงการมีกรอบในการทำความเข้าใจบุคคล ในการจัดการเรียนการสอน ครูต้องควบคุมให้ดีว่าขณะนี้กำลังมุ่งประเด็นการวิเคราะห์ ไปที่เป้าหมายใด หรือขอบเขตใดของการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายในการวิจารณ์การเรียนรู้มี ๓ ขอบเขต ๑. เป้าหมายอยู่ที่ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ การดึงประเด็นในของเขตนี้เป็นขั้นพื้นฐาน โดยเน้นว่าข้อมูลมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ยังมีส่วนไหนที่ต้องเพิ่มเติม การดึงประเด็น ในขอบเขตนี้ทุกครั้งที่เข้ากลุ่มจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่ได้เรียนรู้ส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม พร้อมทั้งไม่ได้ตระหนักรู้ถึงแนวทางการเก็บข้อมูลที่เน้นสภาพจริง ๒. เป้าหมายอยู่ที่สาระ คือ ส่วนที่เป็นชีวิตคนซึ่งเป็นการขยับขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ การวิจารณ์ขอบเขตนี้จะเกี่ยวกับเรื่องราว สุข ทุกข์ ของชาวบ้าน ซึ่งหากข้อมูลที่ได้มาไม่ใช่ความจริง การวิจารณ์และการเรียนรู้ก็ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้ชีวิตจริงของบุคคลเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่านักศึกษาจะได้ข้อมูลโดยหาหัวข้อจากตำรา จากประสบการณ์ หรือความคิดของตนเอง เป็นกรอบในการเก็บข้อมูล จึงเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพราะไม่ได้ข้อมูลที่เป็น ความจริง ๓. เป้าหมายอยู่ที่ความคิดของนักศึกษา โดยชี้ให้เห็นว่าตรงไหนเป็นข้อมูลของนักศึกษา (ข้อมูลที่เกิดจากการเอาทฤษฎีหรือคือกรอบเป็นตัวตั้งในการตั้งคำถาม ลักษณะของข้อมูลจะได้มาเป็นท่อน ๆ มองไม่เห็นความเป็นมา และความเป็นไปของบริบทที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และขาดความเชื่อมโยงกับความจริงในการดำเนินชีวิต) การวิจารณ์ในขอบเขตนี้จัดได้ว่าเป็นการวิจารณ์ที่มีคุณค่า และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูจึงต้องฝึกทำความเข้าใจในข้อมูล ให้ชัดเจน และการดึงประเด็นมาวิจารณ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ดังนั้น การเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูต้องอธิบายความจริงว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร ถ้าอธิบายความจริงเรื่องนี้ไม่ได้ก็ไม่ต่างกับการเรียนทฤษฎี ซึ่งเป็นการเอาทฤษฎีไปอธิบาย นักศึกษาก็เอาทฤษฎีไปให้ชาวบ้าน วิเคราะห์ปัญหาชาวบ้านได้ตามทฤษฎี แก้ปัญหาตามทฤษฎี โดยละเลยความเป็นจริงที่มีอยู่ในชีวิตของชาวบ้าน การแก้ปัญหาข้างต้นที่ง่ายที่สุด คือ อย่าเอาทฤษฎีใด ๆ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ แต่ให้ดึงจากข้อมูลความเป็นจริงของชีวิตชาวบ้านมาอธิบาย หากครูทำแบบนี้ไม่ได้แสดงว่า ที่เรียนมาก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ นั่นคือครูก็ยังไม่เข้าใจ ในการดึงประเด็น น้ำหนักอยู่ที่ความคิดของนักศึกษา (กรอบ) ว่าขณะเก็บข้อมูลนักศึกษากำลังคิดอะไรอยู่ จึงได้ข้อมูลนั้นมา ส่วนใหญ่ข้อมูลจะเป็นส่วน ๆ แยกออกจากกัน ขาดข้อมูล ที่เชื่อมโยงเข้ามาในชีวิต แล้วขยับไปดึงประเด็นที่นักศึกษาไม่ได้เขียนมาพูดมาสอนย้อนกลับ ก็จะทำให้นักศึกษาตระหนักรู้ว่าเขาควรดำเนินการอย่างไรที่จะเรียนรู้ความ จริงในแต่ละด้านในชีวิตจริงของชาวบ้าน แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภูมิปัญญาไทยในการดำเนินชีวิต สิ่งสำคัญครูอย่าคิดว่าจะสอนอะไร? แต่ให้คิดว่าในชีวิตจริงมีอะไร? ดังนั้น ต้องเข้าใจ “ความหมาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่มี ติดตัวมาแต่เดิมอยู่ก่อนแล้ว ครูจึงต้องรู้และเข้าใจประเด็นหลัก ๆ ตามเหตุการณ์จริงว่ามีอะไรบ้าง ที่ชาวบ้านเรียนรู้ และก่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างไร ? การเรียนรู้ดังกล่าวมีองค์ประกอบของ การเรียนรู้อย่างไร ? เมื่อกล่าวถึงภูมิปัญญา ต้องทำความเข้าใจใน ๒ มิติ คือ ๑) มิติของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดด้วยปัญญาของคน ซึ่งปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมนุษย์ ที่ทำให้คนมีการคิดอย่างมีเหตุผลบนข้อเท็จจริง โดยมีวิชาเป็นตัวนำ (ไม่ได้อยู่ในอวิชา) และโดยธรรมชาติคนทุกคนมีเหตุผล ความรู้สึก และความเชื่อที่ไม่เท่ากัน ทำให้แต่ละคนมีความคิด ความเชื่อ และเหตุผลที่แตกต่างกัน ๒) ผลของการเรียนรู้ (ไม่เกี่ยวกับนิยาม) ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องมาจากกระบวนการเรียนรู้ของคน จึงพบว่าในสองมิติดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เมื่อมีผลการเรียนรู้ก็อยู่บนเหตุผล ความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อความคิด ความเชื่อ และเหตุผลเปลี่ยนไป ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ผลการเรียนรู้ใหม่จึงเกิดขึ้น ภูมิปัญญาจึงมีจุดมุ่งหมายปลายทาง ของการใช้ปัญญาในแต่ละขณะ ของแต่ละคนที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความต้องการของคน ดังนั้น การศึกษาภูมิปัญญาจึงต้องทำความเข้าใจทั้งสองมิติ คือ ผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการใช้ปัญญา และกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ดังรายละเอียดกล่าวคือ จุดหมายปลายทางของการใช้ปัญญา จะเกี่ยวข้องกับ ๑) ความต้องการพึ่งตนเอง ความต้องการแก้ปัญหาเพื่อฝ่าฟันอุปสรรค อาจเป็นด้านสุขภาพ การทำงาน การดำรงชีวิต ๒) การบรรลุความสุข/ ความต้องการของตนเอง หรือทั้งสองอย่างก็ได้ เมื่อพิจารณาถึงความต้องการบรรลุความสุข/ ความต้องการของแต่ละบุคคลจะพบว่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทที่แวดล้อมของบุคคล เช่น วัย เศรษฐกิจ ครอบครัว สถานภาพทางสังคม เพราะฉะนั้น การทำความเข้าใจคนแต่ละคน จึงต้องมีทั้ง ๒ มิติ ดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ เขามีจุดมุ่งหมาย/ ความต้องการอย่างไร สุดท้ายกระบวนการเรียนรู้ของเขาบรรลุผลอย่างไร (เขาอยากได้อะไร) สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาจากบุคคลคนนั้นจริง ๆ (การศึกษาตามสภาพจริง) เราอย่าไปคิดแทนเขา กล่าวโดยสรุปได้ว่า การเรียนรู้กระบวนการทางปัญญาต้องมีจุดหมายปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น การเห็นเครื่องสีข้าวแล้วบอกว่าเป็นภูมิปัญญานั้นไม่ใช่ แต่เราต้องรู้ว่าสิ่งนั้น (เครื่องสีข้าว) ตอบสนองชีวิตเขาอย่างไร และเมื่อเวลาเปลี่ยนๆไป คนไม่ต้องการเครื่องสีข้าว นั่นคือจุดหมายเปลี่ยนไป ไม่มีใครคิดต่อ กระบวนการทางปัญญานั้นก็หยุดลง ปัญญาที่ใช้กับสิ่งนั้นก็หยุดลง ตรงนั้น จึงจะเห็นได้ว่าปัญญาในอดีตก็จะตอบสนองการใช้ชีวิตในอดีต การใช้ปัญญาในปัจจุบันก็ตอบสนองการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เนื่องจากถ้าเป็นวิวัฒนาการต้องมีความเชื่อมโยง แค่การนำมาใช้ไม่ใช่วิวัฒนาการ เช่น หากกล่าวถึงหลอดไฟ ตัวหลอดไฟอาจเป็นวิวัฒนาการ แต่การใช้หลอดไฟไม่ใช่วิวัฒนาการ เราจึงต้องคิดให้ดีว่าการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านคืออะไร? เมื่อกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ เราลองคิดถึงกระบวนการผลิตหลอดไฟ ก็จะพบว่ามีความผิดพลาดมากมาย แต่กระบวนการเรียนรู้ไม่ได้กล่าวถึงความผิดพลาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการลองผิด-ลองถูก ซึ่งเป็นการตัดสินใจลงมือปฏิบัติภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วค้นหาความเป็นจริง ซึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจอยู่บนความไม่ชัดเจนว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อมีการประเมินผลจากการปฏิบัติจึงรู้ว่าผลเป็นอย่างไร ตรงตามที่ต้องการหรือเป้าหมายหรือไม่ ในชีวิตจริง กระบวนการทั้งหมด คือ ๑) การค้นหาข้อมูล ๒) การตัดสินใจปฏิบัติ ๓) การลงมือปฏิบัติ และ ๔)การประเมินผล ผสมผสานกันไปอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลได้ข้อมูลใหม่ ก็เข้าสู่วงจรของการเรียนรู้รอบใหม่ ไปเรื่อย ๆ หากยังไม่บรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จึงเห็นได้ว่า เมื่อเกิดการทำซ้ำ ๆ ในกระบวนการเรียนรู้ ก็จะเกิดการปรับต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ผลลัพธ์ก็จะปรับตาม อย่างชัดเจนและตรงกับที่ตนเองต้องการ กระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวแล้วจึงเรียนทฤษฏีได้เฉพาะขั้นที่ ๑ ซึ่งการขาดขั้นตอนอื่น ๆ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ ๓ จะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีจุดหมายปลายทางในการแก้ปัญหาเป็นตัวตั้ง ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง จึงไม่เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองปัญหา เพราะฉะนั้น ถ้าพยาบาลไม่ได้ถูกฝึกมาให้เห็นความจริง ปัญหาจริงของผู้ป่วย แต่เอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง (กรอบ) ผู้เรียนก็ไม่เกิดการเรียนรู้ ที่ถูกจัดการจากปัญญา แต่เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฟังบรรยายเท่านั้น จึงไม่เข้าใจชีวิตจริง ของผู้ป่วย การแก้ปัญหาจึงไม่ตอบสนองปัญหาสุขภาพจริง ๆ การค้นหาชีวิตจริงของผู้ป่วยอาจไม่สามารถหาได้จากความจริงของคน ขึ้นอยู่กับการมองของนักศึกษาว่ามองผู้ป่วยอย่างไร ? ครูต้องรู้ทันและเข้าใจความคิดของนักศึกษาว่าขณะนั้นเขาคิดอย่างไร จึงได้ข้อมูลมาเช่นนั้น และชี้ให้เห็นว่าความเป็นจริงตามสภาพเป็นอย่างไร ? ปัญหา คือ เมื่อสอนใน ward เต็มไปด้วยกรอบ เช่น งานที่นักศึกษาต้องทำให้เสร็จ ทฤษฎีต่าง ๆ ดังนั้น แนวทางการปรับคือ ตั้งแต่ ขั้นที่ ๑ ของการเรียนรู้ คือ การค้นหาข้อมูล ตั้งต้นจากการหาข้อเท็จจริง เข้าไปคุยกับชาวบ้าน (คนไข้) ตามเป้าหมายการเรียนรู้ อย่ารีบร้อน (ยังไม่ต้องทำ intervention ใด ๆ, ไม่ต้องถึงขั้นประยุกต์) ขั้นนี้ต้องหาความจริง (ข้อมูล) ซึ่งเป็นการตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ หากขั้นนี้ไม่ได้ข้อมูลจริง ขั้นตอนอื่น ๆ ก็ไม่ได้สร้างให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจาก เป้าหมายปลายทางเพี้ยนไป ขั้นที่ ๒ , ๓ และ ๔ ในการเรียนรู้หมุนวนตลอดเวลา และขึ้นกับจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ว่าเดิมที่ยังไม่บรรลุ การเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับปัญญาของคนที่มีไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้พร้อมกัน การทำความเข้าใจการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา การประยุกต์ ต้องมีคนอื่นมาศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ แล้วนำไปตัดสินใจไปปฏิบัติตามความคิดของเขา ว่าเขาจะเอาส่วนไหนไปปฏิบัติอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และทำการประเมินผลการกระทำกับเป้าหมายปลายทาง พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการประเมินไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติต่อไปอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งเข้าสู่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ จะเห็นว่าการเรียนรู้ มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมาะที่จะนำไปเป็นทั่วไป ถ้าจะนำไปก็ได้แค่เพียงประสบการณ์ไม่ใช่ความรู้ สิ่งที่ต้องระวัง ! อย่านำคำว่า “ภูมิปัญญา” กับ “กระบวนการเรียนรู้ ๔ ขั้น” มาเป็นเรื่องเดียวกัน และเมื่อกล่าวถึง “ภูมิปัญญา” คนส่วนใหญ่มักคิดถึงของเก่า, โบราณวัตถุ ต้องระลึกเสมอว่า ความรู้ต้องตื่นอยู่บนชีวิตจริง ไม่ใช่สิ่งสมมติ ซึ่งทำให้ขาดความเป็นจริงและการปฏิบัติตามความเป็นจริง เราพิจารณาสิ่งที่อยู่บนความเป็นจริงได้จากสิ่งนั้นจะตอบสนองชีวิต นั่นคือต้องมีจุดหมายปลายทางที่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างใดอย่าง หนึ่ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. นำแนวคิดการบูรณการไปใช้ในการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ๒. นำหลักการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต และสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้าน การวิจัย ๑. นำหลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการไปใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาด้าน สุขภาพ ๒. นำหลักการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปใช้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต และสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านการบริหาร ๑. นำแนวคิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการและการเก็บรวบรวมข้อมูลตามสภาพจริงไปใช้ใน หลักการบริหารคน และการบริหารงาน ด้านทัศนคติ นำแนวคิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการและการศึกษาตามสภาพจริงไปทำความเข้าใจบุคคล อื่นตามบริบทของเขา ไม่นำความคิดเห็นของตนเองไปตัดสินผู้อื่น

(342)

Comments are closed.