Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI

Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 8 พ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 9 พ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
  • § การพัฒนาศักยภาพการสอนของอาจารย์วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยฟอนทีส ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมาย ดังนี้

๑) ทฤษฎีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning & Teaching Theory) โดยการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยฟอนทีส ประเทศเนเธอร์แลนด์ เฉพาะวิทยาลันนำร่อง

๒) กรอบแนวคิด ๗ ขั้นตอน

๓) การออกแบบการสอนและการประเมินผล  โดยมีนวัตกรรมที่ช่วยในการเขียนแผนการสอนจาก http://www.lead-by-example.org/pbri/

๔) การทำวิจัยปฏิบัติการของแต่ละวิทยาลัยนำร่อง

๕) การนำเสนอผลวิจัย

  • § การบรรยายเรื่อง VARK Model   กล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้ของคนว่าประกอบไปด้วย  ๔ ทักษะ ได้แก่  ๑) การฟัง (Aural or Auditory)  ๒) การดู (Visual)  ๓) การอ่านหรือเขียน (Read or Write)  และ ๔) การปฏิบัติ (Kinesthetic)

เนื่อง จากแต่ละคนมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้สอนจึงควรใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม  เช่น

การดู (Visual): มอบหมายให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งของ ดูภาพ/ไดอะแกรม/ภาพยนตร์/คลิป  การสาธิต/สาธิตย้อนกลับ

การฟัง (Aural or Auditory): มอบหมายให้ฟังผู้อื่นอ่าน/ฟังเสียงต่างๆ/ให้พูด

  • § การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็น หนทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน สะท้อนภาพการเรียนการสอนของผู้สอนนั้นๆจริงๆ โดยไม่มีการอ้างอิงจากที่อื่น ทำโดยผู้สอน เพื่อผู้สอนและผู้เรียน และที่สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีขั้นตอนเหมือนกับวงจรบริหารคุณภาพ (PDCA) ดังนี้  ๑) การระบุคำถามการวิจัย  ๒) ทำความเข้าใจในปัญหาให้ลึกซึ้ง  ๓) การพัฒนากิจกรรม/แผน  ๔) การดำเนินตามกิจกรรม/แผนที่วางไว้  ๕) การวิเคราะห์และตีความข้อมูล และ ๖) การรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหา
  • § การเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ ควรระบุให้ชัดเจนว่าต้องการพฤติกรรมอะไรจากผู้เรียน เช่น ประเมิน…ได้  แยกแยะ…ได้  เขียนไดอะแกรม…ได้ เป็นต้น  และการวัดประเมินผลก็ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้วย

   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การวิจัยในชั้นเรียนในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(282)

การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 พ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 22 พ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555
 รายละเอียด
เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเตรียมการรับรองสถาบันจากสภาการพยาบาล โดยตัวแทนจากวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง ๔ ปี (ยะลา นครสวรรค์ จันทบุรี และนนทบุรี)  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย

-การ มีทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา ให้มองเป็นงานประจำ ไม่ใช่งานเพิ่ม ต้องกัดไม่ปล่อย ต้องสู้ พยายามอย่าให้มีสิ่งใดเป็นอุปสรรค  เกณฑ์ ประเมินต่างๆ เป็นข้อสอบที่เราต้องหาคำตอบเอง ต้องตรวจสอบตนเองเป็นระยะๆว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใด จะพัฒนาตัวเราอย่างไร เนื่องจากเกณฑ์ประเมินจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

-ต้อง มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ชัดเจน ภายใต้การช่วยเหลือกันอย่างเอื้ออาทร บุคลากรทุกระดับทุกคนมีบทบาทร่วมกัน เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ร่วมกันรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้นำ

-การวางแผนล่วงหน้า

-การเตรียมเอกสารหลักฐาน ต้องศึกษาเกณฑ์ให้ถ่องแท้ เขียนรายงาน/ข้อมูลตามที่ต้องการ

ทพ.ทิพาพร สุโฆสิต  รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวถึง

-การแผนการผลิตนักศึกษา ปี ๒๕๕๖ รับ ๓,๖๐๐ คน สำหรับในปีต่อๆ รับ ๓,๐๐๐ คน

-การปรับเปลี่ยนการกระบวนการทำงานให้ลดขั้นตอนลงตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

-การให้ค่าตอบแทนตามภาระงานที่เพิ่มขึ้น

-การปรับเปลี่ยนการแบ่งเขต ๑๒ เขต มีผู้ตรวจสาธารณสุขเขต ๑๒ คน

-การให้วิทยาลัยในแต่ละเครือข่ายมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น (แผนกำลังคน และแผนการผลิต)

-มีแนวคิดให้สบช.ออกนอกระบบ มีพรบ.ของตนเอง เป็นนิติบุคคลในส่วนราชการ แต่แก้ปัญหาเรื่องคน (ตำแหน่งราชการ) ได้ยาก  ขณะนี้ กพ. เรียกเก็บตำแหน่งได้ ๑๐,๐๐๐ ตำแหน่ง เพื่อบรรจุให้พนักงานลูกจ้างภายในปีนี้  อาจปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการเทียบเท่าลูกจ้างประจำ จะมีการทำประชาพิจารณ์ในเร็วๆนี้

ดร.มณฑาทิพย์ ไชยศักดิ์  ดร.เบญจวรรณ ทับทิมสุวรรณ และ อ.วิภา เพ็งเสงี่ยม เปรียบเทียบเกณฑ์รับรองสถาบันของสภาการพยาบาล

เกณฑ์ ปี ๒๕๕๒

(ร่าง) เกณฑ์ ปี ๒๕๕๕

องค์ประกอบ ๗ องค์

เกณฑ์สำคัญ (๑๐๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๖๐)

เกณฑ์ทั่วไป  (๑๐๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๔๐)

มาตรฐาน ๘ ด้าน

เกณฑ์สำคัญ (๑๒๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๗๐)

เกณฑ์ทั่วไป (๑๒๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๓๐)

เกณฑ์สำคัญ มี ๗ องค์ประกอบ  ๙ ดัชนี

เกณฑ์ทั่วไป มี  ๗ องค์ประกอบ ๖๕ ดัชนี

เกณฑ์สำคัญ มาตรฐาน ๖ ด้าน  ๙ ตัวบ่งชี้

เกณฑ์ทั่วไป  มาตรฐาน ๘ ด้าน ๑๙ ตัวบ่งชี้

คะแนนรวมของการประเมิน = คะแนนจากเกณฑ์สำคัญ + คะแนนจากเกณฑ์ทั่วไป

 คะแนนรวม

จำนวนปีที่รับรอง

๙๑% – ๑๐๐%

๕ ปีการศึกษา

๘๑% – ๙๐%

๔ ปีการศึกษา

๗๑% – ๘๐%

๓ ปีการศึกษา

๖๑% – ๗๐%

๒ ปีการศึกษา

๕๑% – ๖๐%

๑ ปีการศึกษา

น้อยกว่า ๕๑%

ไม่รับรอง

ดร.ชูศักดิ์ เตชะวิเศษ  ชี้ แจงเครื่องมือในการทำงานกลุ่ม ตัวอย่าง มคอ.๓, มคอ.๕, มคอ.๔ และ มคอ.๖ พร้อมทั้งแบบประเมิน และทำงานกลุ่มย่อยทดลองใช้เครื่องมือในการประเมิน มคอ. เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์ มคอ. ดูความสอดคล้องของ LO Objective & Evaulation

การเพิ่ม LO plus ไม่ควรน้อยกว่า ๔-๘ ข้อ เช่น อัตลักษณ์ SAP เอกลักษณ์ สามารถสอบสภาการพยาบาล  Authentic Learning  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จิตตปัญญา สุนทรียสนทนา โยนิโสมนสิการ พรหมวิหาร ๔ เป็นต้น

การเพิ่ม LO plus ควรได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยด้วย แล้วพิจารณาคัดสรรรายวิชาที่เพิ่ม LO plus  ประสานฝ่ายกิจการ เลือกโครงการที่จะเติม LO plus และอย่าลืมปรับปรุงเครื่องมือวัดผลให้สอดคล้องด้วย

ดร.เบญจา  เตากล่ำ  บรรยายเกี่ยวกับการทำแผนนิเทศภาคปฏิบัติ เขียนกิจกรรมที่สอนรายวันตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติ

แผนการสอนในคลินิก  ใช้เวลาไม่เกิน ๑ ชั่วโมง มีหัวข้อ ดังนี้  แนวคิดสำคัญ วัตถุประสงค์ทั่วไปและเชิงพฤติกรรม  เนื้อหาสั้นๆ  กิจกรรม & สื่อการสอน การประเมินผล สามารถเขียนล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วค่อยเติมข้อมูลผู้ป่วย

   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การเตรียมการรับการตรวจเยี่ยมจากสภาการพยาบาล และการบริหารหลักสูตร
  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(357)

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสบช.ด้านบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสบช.ด้านบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผู้บันทึก :  นางธมลวรรณ แก้วกระจก นางสาวนงรัตน์ โมปลอด
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 พ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 22 พ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสบ ช.ด้านบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด

จากผลการประชุมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำ มคอ.๓ ๔ ๕ ๖

และขั้นตอนการปรับปรุง/พัฒนาโครงการ  และเครื่องมือวัดประเมินผล

ขั้นตอนการจัดทำ มคอ. ๓  (รายละเอียดของรายวิชา)

 

Curriculum Mapping

��É

q

 

Step1Curriculum mapping

��É

รายวิชามีความรับผิดชอบหลักหรือรองหรือที่เพิ่มเติมต่อผลการเรียนรู้ LO ใด

Objective  course

Evaluation  course            Learning COURSE

Step2 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

หัวข้อตามแบบ มคอ.๓

วัตถุประสงค์ในหมวด ๒

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

แนวคิดการนำความรับผิดชอบ  ต่อผล

การเรียนรู้  Curriculum Mapping  ไปสู่การจัดทำ มคอ. ๓

(รายละเอียดของรายวิชา)

 

 

Step3 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

     q

            LearningCOURSE

 

 

 

 

 

หัวข้อ (ตามแบบ มคอ.๓)

๑. แผนการสอนในหมวดที่ ๕

แผนการสอนและการประเมินผล

 

Step4 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

   q                  q

Evaluation  course        Learning course

หัวข้อ (ตามแบบ มคอ.๓)

๒.แผนการประเมินผลการเรียนรู้ในหมวดที่ ๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการจัดทำ มคอ. ๔  (รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม)

 

Curriculum Mapping

��É

q

 

Step1Curriculum mapping

��É

รายวิชามีความรับผิดชอบหลักหรือรองหรือที่เพิ่มเติมต่อผลการเรียนรู้ LO ใด

Objective  course

Evaluation  course            Learning COURSE

Step2 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

หัวข้อตามแบบ มคอ.๔

๒.จุดมุ่งหมายของประสบการณ์ภาคสนามในหมวดที่ ๒

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

แนวคิดการนำความรับผิดชอบ  ต่อผล

การเรียนรู้  Curriculum Mapping  ไปสู่การจัดทำ มคอ. ๔

(รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม)

 

 

Step3 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

     q

            LearningCOURSE

 

 

หัวข้อ (ตามแบบ มคอ.๔)

. กิจกรรมของนักศึกษาและ

๓.รายงานหรืองานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในหมวดที่ ๔

ลักษณะและการดำเนินการ

 

Step4 Curriculum mapping

��É

q

Objective  course

   q                  q

Evaluation  course        Learning course

หัวข้อ (ตามแบบ มคอ.๔)

๑.หลักเกณฑ์การประเมินผล

๒. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา

๓. และ ๔ ความรับผิดชอบต่อการประเมินนักศึกษาในหมวดที่ ๖

การประเมินนักศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการปรับปรุง/พัฒนาโครงการ  และเครื่องมือวัดประเมินผล

 

Student Development  Mapping

��É

q

 

Step1Student Development mapping

�É

โครงการ/กิจกรรม มีความรับผิดชอบหลัก หรือที่เพิ่มเติมต่อผลการเรียนรู้ LO ใด

Objective  course

Evaluation                   L< >Activity

Step2 Student Development                

               mapping

�É

q

Objective 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน การเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติ ต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การเรียนการสอนรายวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

(279)

การคัดเลือก และออกข้อสอบประมวลความรอบรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การคัดเลือก และออกข้อสอบประมวลความรอบรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 ต.ค. 2554   ถึงวันที่  : 20 ต.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  การคัดเลือก และออกข้อสอบประมวลความรอบรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  วันที่บันทึก  6 ธ.ค. 2554


 รายละเอียด
เข้าร่วมการคัดเลือกและออกข้อสอบในรายวิชา การพยาบาลผู้สูงอายุ  พบว่า มีบางหัวข้อที่ไม่ได้สอน แต่มีในข้อสอบ ได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตกเตียง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  การ สอนเพิ่มเติมในหัวข้อแบบประเมินความเสี่ยงต่อการตกเตียง ให้กับนักศึกษาในรายวิชา การประเมินภาวะสุขภาพ และการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาปีที่ ๔


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(329)

คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔

คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 27 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
  วันที่บันทึก  5 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
การประชุมร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์  เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.

๑) สรุปผลการสอบประมวลความรอบรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ นักศึกษาทั้งหมด ๑,๑๐๐ คน  สอบผ่านทุกคน

๒) ผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔  ร้อยละของบัณฑิตที่สอบผ่าน ๘ รายวิชา ดังนี้ 

          – วพบ.สุราษฎร์ธานี       ร้อยละ ๓๑.๖๕

          – วพบ.นครศรีธรรมราช  ร้อยละ ๕๑.๐๙

          – วพบ.ตรัง                 ร้อยละ ๔๙.๒๕

          – วพบ.สงขลา             ร้อยละ ๓๕.๒๕

          – วพบ.ยะลา                ร้อยละ ๓๖.๔๒

          – คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร้อยละ ๕๓.๔๘

๓) การดำเนินงานจัดสอบประมวลความรอบรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

          – การพิจารณา Blue print ให้พิจารณาตามชุดใหม่ของสภาการพยาบาล ซึ่งจะประชุม ๒๓ สิงหาคม ๕๔  ดังนั้น จึงขอให้ดำเนินการออกข้อสอบตาม Blue print ชุดเดิมก่อน (พ.ศ.๒๕๕๐)

- ให้ทุกวิทยาลัย ส่งข้อสอบและกรรมการคัดเลือกข้อสอบทั้ง ๘ รายวิชา ส่งข้อสอบต้นเดือนกันยายน และดำเนินการคัดเลือก ๑๙-๒๐ ตุลาคม ๕๔

- กำหนดการสอบประมวลความรอบรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

          ครั้งที่ ๑          ๒๔-๒๕ ธันวาคม ๕๔

          ครั้งที่ ๒          ๗-๘  มกราคม ๕๕

          ครั้งที่ ๓          ๑๔  มกราคม ๕๕

          ครั้งที่๔           ๒๑  มกราคม ๕๕

๔) ความร่วมมือของมอ. และสถาบันสมทบ

          – ความร่วมมือของฝ่ายวิชาการ และกิจการนักศึกษา

          – การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ภาษาอังกฤษ)

          – การสัมมนาการเตรียมสอบสภาการพยาบาล

 

การประชุมร่วมกับเครือข่าย SC-Net  เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น.

                   ๑) การดำเนินงานของเครือข่าย ไม่ได้เก็บเงินบำรุงมา ๒ ปี แล้ว ดังนั้นจึงขอเก็บ ๕,๐๐๐ บาท/วิทยาลัย

                   ๒) การเลี้ยงเกษียณอายุราชการ

                             – วพบ.ตรัง เป็นเจ้าภาพของเครือข่ายฯ จัดวันที่ ๕-๖ กันยายน ๕๔

                             – เครือข่ายฯ รับเป็นเจ้าภาพเลี้ยงงานเกษียณฯ ของสบช. จัดที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา      ในวันที่ ๒๐-๒๓ กันยายน ๕๔  ขอให้ฝ่ายหญิงใส่ผ้าถุงปาเต๊ะ เสื้อย๊ะยา/ฝ่ายชายเสื้อปาเต๊ะ กางเกงสแล็คสีดำ    เพื่อความเป็นยูนิตี้

                   ๓) ทบทวนคณะกรรมการกลางเครือข่ายฯ ๕ คน/วิทยาลัย  ควรประกอบด้วย ผู้อำนวยการ     รองฝ่ายวิชาการ รองฝ่ายกิจการ รองฝ่ายวิจัย และอื่นๆ

                   ๔) นัดประชุมครั้งต่อไป  ๘-๙ สิงหาคม ๕๔  ณ วพบ.สงขลา


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
               การดำเนินงานฝ่ายวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(332)