คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔

คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 27 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :
  เรื่อง/หลักสูตร :  คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีที่เข้าเป็นสถาบันสมทบ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
  วันที่บันทึก  26 ก.ค. 2554
 รายละเอียด
การประชุมร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์  เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.๑) สรุปผลการสอบประมวลความรอบรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ นักศึกษาทั้งหมด ๑,๑๐๐ คน  สอบผ่านทุกคน

๒) ผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔  ร้อยละของบัณฑิตที่สอบผ่าน ๘ รายวิชา ดังนี้

- วพบ.สุราษฎร์ธานี       ร้อยละ ๓๑.๖๕

- วพบ.นครศรีธรรมราช  ร้อยละ ๕๑.๐๙

- วพบ.ตรัง                 ร้อยละ ๔๙.๒๕

- วพบ.สงขลา             ร้อยละ ๓๕.๒๕

- วพบ.ยะลา               ร้อยละ ๓๖.๔๒

- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร้อยละ ๕๓.๔๘

๓) การดำเนินงานจัดสอบประมวลความรอบรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

- การพิจารณา Blue print ให้พิจารณาตามชุดใหม่ของสภาการพยาบาล ซึ่งจะประชุม ๒๓ สิงหาคม ๕๔  ดังนั้น จึงขอให้ดำเนินการออกข้อสอบตาม Blue print ชุดเดิมก่อน (พ.ศ.๒๕๕๐)

- ให้ทุกวิทยาลัย ส่งข้อสอบและกรรมการคัดเลือกข้อสอบทั้ง ๘ รายวิชา ส่งข้อสอบต้นเดือนกันยายน และดำเนินการคัดเลือก ๑๙-๒๐ ตุลาคม ๕๔

- กำหนดการสอบประมวลความรอบรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

ครั้งที่ ๑          ๒๔-๒๕ ธันวาคม ๕๔

ครั้งที่ ๒          ๗-๘  มกราคม ๕๕

ครั้งที่ ๓          ๑๔  มกราคม ๕๕

ครั้งที่๔           ๒๑  มกราคม ๕๕

๔) ความร่วมมือของมอ. และสถาบันสมทบ

- ความร่วมมือของฝ่ายวิชาการ และกิจการนักศึกษา

- การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ภาษาอังกฤษ)

- การสัมมนาการเตรียมสอบสภาการพยาบาล

 การประชุมร่วมกับเครือข่าย SC-Net  เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น.

๑) การดำเนินงานของเครือข่าย ไม่ได้เก็บเงินบำรุงมา ๒ ปี แล้ว ดังนั้นจึงขอเก็บ ๕,๐๐๐ บาท/วิทยาลัย

๒) การเลี้ยงเกษียณอายุราชการ

- วพบ.ตรัง เป็นเจ้าภาพของเครือข่ายฯ จัดวันที่ ๕-๖ กันยายน ๕๔

- เครือข่ายฯ รับเป็นเจ้าภาพเลี้ยงงานเกษียณฯ ของสบช. จัดที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา      ในวันที่ ๒๐-๒๓ กันยายน ๕๔  ขอให้ฝ่ายหญิงใส่ผ้าถุงปาเต๊ะ เสื้อย๊ะยา/ฝ่ายชายเสื้อปาเต๊ะ กางเกงสแล็คสีดำ    เพื่อความเป็นยูนิตี้

๓) ทบทวนคณะกรรมการกลางเครือข่ายฯ ๕ คน/วิทยาลัย  ควรประกอบด้วย ผู้อำนวยการ     รองฝ่ายวิชาการ รองฝ่ายกิจการ รองฝ่ายวิจัย และอื่นๆ

๔) นัดประชุมครั้งต่อไป  ๘-๙ สิงหาคม ๕๔  ณ วพบ.สงขลา

   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการดำเนินงานฝ่ายวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(314)

จัดทำคู่มือการนำไปใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)

จัดทำคู่มือการนำไปใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 13 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 14 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  จัดทำคู่มือการนำไปใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF)
  วันที่บันทึก  29 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด
รายละเอียดที่บรรจุในคู่มือการใช้หลักสูตร

๑. แนวคิดและขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร

๒. โครงสร้างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ตามสถาบันที่สมทบทั้ง ๗ แห่ง

๓. การบริหารหลักสูตร

๓.๑ นิยามคำสำคัญในหลักสูตร

๓.๒ ลักษณะสำคัญของหลักสูตร

๓.๓ การกำหนด LO และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก

๓.๔ การจัดทำ curriculum mapping, LO, สมรรถนะคุณสมบัติบัณฑิต

๓.๕ การวางแผนการใช้หลักสูตร/การเรียนการสอน (ยกตัวอย่างบูรณาการ)

๓.๖ การนิเทศการใช้หลักสูตร

-ระดับวิทยาลัย

-ระดับสถาบันพระบรมราชชนก

๓.๗ กลยุทธ์การวัดประเมินผลและกระบวนการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนในการเรียน  การสอน

 

กระบวนการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้นักศึกษา  มีองค์ประกอบ ดังนี้

๑. สถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อ สะอาด ระเบียบเรียบร้อย ร่มรื่น

๒. บุคคล ต้นแบบหรือตัวอย่าง

๓. หลักสูตร สอดแทรกทุกรายวิชา

๔. กิจกรรม ในชั้นเรียนและเสริมหลักสูตร

การนิเทศการใช้หลักสูตร   รองวิชาการ/คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ควรมีการนิเทศเป็นระยะเพื่อตรวจสอบว่าอาจารย์เข้าใจตรงกันหรือไม่

** ประมาณวันเวลาในการจัดทำข้อสอบ สบช. ๒๒-๒๖ สิงหาคม ๕๔  ขอให้อาจารย์ที่มาทำข้อสอบเป็นคนเดิมเมื่อปีที่แล้ว (วพบ.นคร: จิตเวช สูติ) และจัดสอบ ประมาณวันที่ ๑๙-๒๐ ธันวาคม ๕๔  สอบซ่อม วันที่ ๒๓-๒๔ ธันวาคม ๕๔


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  พัฒนาหลักสูตร และบริหารงาน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(290)

การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 มิ.ย. 2554   ถึงวันที่  : 1 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  วันที่บันทึก  16 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด

อ.ปัทมา ชี้แจงตัวบ่งชี้ของ สบช. ฉบับ มิถุนายน ๒๕๕๔ เน้นตัวบ่งชี้เทียบเคียงเพื่อรับประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จาก สมศ. ดังนี้

๑) ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท  เป็น บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ๔ ปี (สมศ ๓)  โดยคิดร้อยละ ๙๕  เป็น ๕ คะแนน  คิดจากนักศึกษาเมื่อแรกเข้าและจบที่มีรหัสปีเดียวกัน โดยไม่มีข้อยกเว้นว่า ป่วย ลาออก ตาย

๒) ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เป็น  บัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่สอบใบประกอบวิชาชีพผ่านภายใน ๑ ปี  (สมศ ๔) โดยคิดร้อยละ ๑๐๐  เป็น ๕ คะแนน  คำนวณจากจำนวนผู้สอบผ่าน/ผู้เข้าสอบ สามารถเข้าสอบได้ ๓ ครั้ง/ปี

- เกณฑ์การคิดอาจารย์ประจำ  ใช้เกณฑ์เดียวกับการรับรองสถาบันของสภาการพยาบาล

- รวมจำนวนตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพของวิทยาลัยพยาบาลทั้งหมด ๔๔ ตัว

- การประเมินผู้อำนวยการวิทยาลัย (สมศ ๑๓) ขณะนี้ทาง สบช. กำลังดำเนินการ จะส่งผลการประเมินให้ก่อน สมศ เข้าประเมิน

- อัตลักษณ์ของ สบช. (สมศ.๑๖.๑) “การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” โดยให้แต่ละวิทยาลัยเพิ่มเติมคำจัดกัดความได้ตามบริบท

- เอกลักษณ์สถาบัน (สมศ ๑๗) สบช. กำหนดว่า “สร้างคนจากชุมชนเพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชน” หมายถึง การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานบริการ สุขภาพพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ส่งเสริม และป้องกันสุขภาพของประชาชน

- การประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓  โดย สบช. จะมาประเมิน วพบ.นครศรีธรรมราช ในระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ประกอบด้วย ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ, อ.วิพรรณ วัฒนชีพ, อ.กาญจนา สันติพัฒนาชัย, ทพ.ทิพาพร สุโฆสิต, อ.วิภาวรรณ อริยานนท์, ดร.ขวัญตา บุญวาศ,      อ.จงรม ทองจันทร์ และ อ.มยุรี ศรีอุดร  ให้ทุกวิทยาลัยจัดทำข้อมูลลงระบบ CHE QA online ในตัวบ่งชี้ สกอ. และจัดส่ง SAR ฉบับเต็มที่มีครบทุกตัวบ่งชี้ มาให้ สบช.ก่อนเข้าประเมินจริง ๒ สัปดาห์  ในการนี้ ผู้อำนวยการ ดร.จิราพร  วัฒนศรีสิน ได้รับการมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการประเมิน วพบ.สงขลา ในวันที่ ๒-๔ สิงหาคม ๕๔ ด้วย

- การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ๓ จาก สมศ. จากผลการประชุมระหว่าง สบช.และ สมศ. เมื่อวันที่ ๒๕ พ.ค. ๕๔ ได้ประเด็นว่า สมศ.จะเข้าประเมินทุกวิทยาลัยทุกแห่งในสังกัด สบช. ให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน ๕๔ โดยสามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ถึงเดือนธันวาคม ๕๔   แต่ อ.ปัทมา แจ้งว่า สบช. จะนัดผู้อำนวยการ และผู้ประเมินภายนอกมาประชุมร่วมกันว่า จะเริ่มประเมินเดือน พฤศจิกายน ๕๔ เป็นต้นไป หากไม่ได้ อาจจะเป็นเดือนสิงหาคม ๕๔ แทน ให้รอผลการเจรจาอีกครั้ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  ประกันคุณภาพการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(271)

การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ และ นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 11 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 12 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด
แนวคิดหลักการในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ๒๕๕๔-๒๕๕๘ ระดับอุดมศึกษา โดย อ.ทิพย์ นิลนพคุณ ที่ปรึกษา สมศ. กล่าวว่า เน้นประเมินผลผลิต และผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา  กำหนดตัวชี้วัด ๑๘ ตัว ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม

- ตัวบ่งชี้พื้นฐาน  เป็น ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติ ซึ่งสามารถชี้ผลหรือผลกระทบ มีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากรอบแรกและรอบสอง

- ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันและต้นสังกัด

- ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบาย ของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นำสังคมและแก้ปัญหาสังคมของสถาบัน อุดมศึกษาในการชี้นำเรื่องต่างๆ

แนวคิดในการประเมินมาตรฐานการศึกษารอบที่สาม  ใช้ระดับคะแนน ๕ ระดับ คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคณะวิชา ๓.๕๑  ประเมินเพื่อรับรองและไม่รับรองมาตรฐาน

วิธีประเมิน  สถาบันอุดมศึกษาส่งข้อมูลให้ สมศ.  เพื่อวิเคราะห์เบื้องต้นและประสานให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์  คณะประเมินสถาบันหรือคณะวิชาเป็นคณะเดียวกัน  ผล การประเมินกลุ่มสถาบันหรือ คณะวิชาจะได้รับการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินผลโดยคณะประเมิน ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามีหลากหลายคณะวิชา จะเก็บผลการประเมินแต่ละคณะวิชาในระบบฐานข้อมูล  ตั้งคณะประเมินสถาบันเพื่อประเมินคณะวิชาที่ยังไม่ได้รับการประเมินโดยใช้ผลการประเมินเดิมสำหรับคณะวิชาที่ประเมินแล้ว

ตัวบ่งชี้เทียบเคียง  ได้แก่ ๑) ผู้สำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่กำหนด  ๒) ผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพภายใน ๑ ปี  ซี่งต้องรอข้อตกลงในการประชุมตกลงกับ สมศ. ในวันที่ ๒๐ พ.๕. ๕๓


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานประกันคุณภาพการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(286)

คุณค่าการพยาบาลสร้างได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

คุณค่าการพยาบาลสร้างได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์
 ผู้บันทึก :  นางสาวอุทุมพร ดุลยเกษม นางสาวอมรา ภิญโญ นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และนางวันดี แก้วแสงอ่อน
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 20 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  คุณค่าการพยาบาลสร้างได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์
  วันที่บันทึก  10 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               สืบเนื่องจากวิชาชีพพยาบาล มีการทำวิจัยมากมาย แต่มิได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาสังเคราะห์ และไม่มีการนำความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพ จึงเป็นที่มาของการสร้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล (Evidence Base Practice : EBP) เพื่อการพัฒนามาตรฐานการพยาบาลให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับของ สังคม EBP หมายถึง การปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ (ไม่ใช่คู่มือ) โดยนำวิธีการที่ได้รับการยืนยันมาแล้วว่าได้ผลดีมาประกอบการตัดสินใจไปสู่ การปฏิบัติ ซึ่งต้องกระทำอย่างมีสติรอบคอบ พิจารณาอย่างมีวิจารณญาณก่อนตัดสินใจและกระทำอย่างเปิดเผยและตรวจสอบได้ทุก ขั้นตอน หรือสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์หรือยืนยันหรือได้รับการตรวจสอบมาแล้วว่าเป็น จริงตามนั้น ซึ่งวิธีการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับคือการทำวิจัยโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงทดลอง ถือว่าเป็นการพิสูจน์ที่ดีที่สุด ที่มาของ EBP – การไม่นิ่งดูดายต่อปัญหาที่เกิดขึ้น – การไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นเรื่องปกติ – การไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหมดทางแก้ไข – การไม่ยอมจำนนต่อปัญหา วัตถุประสงค์ของการใช้ EBP 1. ลดปัญหาหรืออุบัติการณ์ 2. เพิ่มผลลัพธ์ที่ดี 3. ลดค่าใช้จ่าย 4. เพิ่มความพึงพอใจ วิธีการดำเนินการ EBP เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ 1. ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย 2. ผลลัพธ์ที่ต้องการ 3. สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 4. ประเมินคุณภาพของหลักฐาน 5. คัดเลือกข้อเสนอแนะที่เหมาะสม 6. นำมาปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย 7. ประเมินผลลัพธ์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑ ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานการเรียนการสอน ๒ ด้านการนำผลการพัฒนาไปใช้ประโยชน์


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(335)