ประชุมอบรมเตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕

ประชุมอบรมเตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
 ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์
  กลุ่มงาน :  งานทะเบียน วัดและประเมินผลการศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 21 ธ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 22 ธ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมอบรมเตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
  วันที่บันทึก  10 ม.ค. 2555
 รายละเอียด   ระบบรับตรง มี วัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกคนดีและคนเก่งเข้าศึกษาและปฏิบัติงานในระบบบริการ สาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น สถาบันพระบรมราชชนกจึงกำหนดเกณฑ์เฉพาะในการรับสมัครและคัดเลือกคุณสมบัติทั่วไป
คุณสมบัติด้านการศึกษา

  1. เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือบิดา หรือมารดา หรือ ผู้ปกครองโดยชอบธรรมตามกฎหมาย มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่มีโควตาให้เข้าศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา (1 มิถุนายน 2555)
  2. เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา (1 มิถุนายน 2555)
  3. เฉพาะผู้สมัครหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 145 เซนติเมตร สำหรับในหลักสูตรอื่น ๆ ไม่จำกัดส่วนสูงของผู้สมัคร
  4. เป็น ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิการ หรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ
  5. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยมีชื่อเสียงเสียหาย ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา
  6. ถ้าเป็นชายต้องไม่เป็นผู้ถูกคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในเดือนเมษายน 2555 และไม่เป็นภิกษุสามเณร ตามคำสั่งมหาเถร-สมาคม เรื่อง ห้ามภิกษุ สามเณร เรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ.2521
  7. กรณี ใช้สิทธิ์บุตรข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ต้องเป็นบุตรโดยกำเนิดหรือโดยสายโลหิต จะต้องนำบัตรข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำตัวจริง พร้อมสำเนามายืนยันเป็นหลักฐานในวันสัมภาษณ์ ให้คะแนนเพิ่ม 100 คะแนน

หมายเหตุ      ผู้ปกครองโดยชอบธรรมตามกฎหมาย คือ บุคคลที่ศาลตั้งขึ้นให้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ในกรณีที่บิดา มารดาของผู้เยาว์ไม่มีอำนาจปกครองแล้ว

  1. เป็นผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดย ได้ศึกษารายวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ และครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งการศึกษาในโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน (ไม่รับเทียบเท่า ปวช. ปวท. และ ปวส.)

หมายเหตุ     หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รับเฉพาะผู้ที่ศึกษาหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน โปรแกรมที่เน้นคณิตศาสตร์ วิทยา-ศาสตร์ (ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552)

  1. หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ในหมวดวิชาเลือกเสรีให้รวมวิชา ดังนี้
วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ โครงสร้าง 2โครงสร้าง 3โครงสร้าง 1 25
21
15
12
หน่วยการเรียน หรือ
หน่วยการเรียน
หน่วยการเรียน
หน่วยก
ิจ
     
  1. หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติมรวมกัน ดังนี้

นำไปใช้ ในการวางแผนการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขในปีการศึกษา  ๒๕๕๕

(348)

หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
 ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์ , นางยุพิน ทรัพย์แก้ว , นางจิตฤดี รอดการทุกข์ และนางจรรยา ศรีมีชัย
  กลุ่มงาน :  งานทะเบียน วัดและประเมินผลการศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 25 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 28 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑.๑ เนื้อหาสาระ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ควรมีแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเป็น ๔ ขั้นตอนตามระบบพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ การวางแผน การดำเนินงานและเก็บข้อมูล การประเมินคุณภาพและการเสนอแนวทางปรับปรุง การเตรียมการของสถาบันก่อนการตรวจเยี่ยมของผู้ประเมิน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายใน จัดการเตรียมหลักฐานเอกสารอ้างอิงในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ เตรียมบุคลากร สถานที่และการประสานงาน องค์ประกอบคุณภาพ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน มี ๙ องค์ประกอบ ๒๐ ตัวบ่งชี้ (เอกสารคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓) ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรมนั้น ได้มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งได้มีการตรวจสอบเอกสาร ร่อยรอยหลักฐาน การสัมภาษณ์ การสังเกต เพื่อประเมินตามตัวบ่งชี้ และมีการฝึกเขียนรายงานและการเสนอผลการประเมิน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างกัลยาณมิตรและค้นหาข้อมูลอย่างดี ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานอย่างละเอียด หาข้อมูลจากการสัมภาษณ์หลายๆแหล่ง ใช้ผู้ให้ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อการลงสรุปที่เป็นธรรมทุกตัวบ่งชี้ และเสนอผลการประเมินเชิงพัฒนา เสนอจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ๑.๒ สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              สามารถนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              สามารถนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพ

(287)

เตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

เตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์
  กลุ่มงาน :  งานทะเบียน วัดและประเมินผลการศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 9 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  เตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               ได้เนื้อหาสาระ แนวทางการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆของกระทรวงสาธารณ สุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยมีระบบการรับสมัคร ๒ ระบบ คือระบบรับตรงและรับกลาง ซึ่งกำหนดสัดส่วน ๔๐ : ๖๐ การกำหนดโควตารับตรงและรับกลาง รับตรง โควตาบุคคลทั่วไป โควตาผลิตพยาบาลเพื่อชุมชน โควตาบุตร อสม. โควตาทุนเสมาพัฒนาชีวิต โควตาแหล่งฝึก โควตา รพร. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการตามเงื่อนไขความร่วมมือต่างๆ ระหว่าง สบช. กับหน่วยบริการ รับกลาง โควตาบุคคลทั่วไป การกำหนดเกณฑ์การรับสมัคร (มติที่ประชุม) รับตรง ๑. เกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ระดับปริญญาตรี / ต่ำกว่าปริญญา ไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ตามกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ ผลสอบความถนัดทั่วไป GAT ไม่น้อยกว่า ๗๐ คะแนน ผลการสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ PAT 2 ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คะแนน ๒. เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษา ใช้ผลการสอบผลสอบความถนัดทั่วไป GAT และผลการสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ PAT 2 รับกลาง ๑. เกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษา มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ๖ ภาคการศึกษา มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O NET) ๕ รายวิชา ภาษาไทย สังคม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีผลการ สอบความถนัดทั่วไป และผลการสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ PAT 2 ๒. เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษา ใช้ GPAX ONET ๕ วิชา GAT PAT 2 ปฏิทิน รับตรง (ร่าง) โดยการสมัครทางอินเตอร์เนต และมีกำหนดการต่างๆดังนี้ ประชาสัมพันธ์ กย. , ต.ค. ๕๓ สมัคร ๑-๑๐ พ.ย. ๕๓ ทางเวบไซด์ ชำระเงินค่าสมัคร ๑-๑๐ พ.ย. ๕๓ ประกาศรายชื่อ ๒๖ พ.ย. ๕๓ สัมภาษณ์ ๒๗-๒๘ พ.ย. ๕๓ ประกาศรายชื่อเพื่อตรวจร่างกาย ๓ ธ.ค ๕๓ นำส่งผลตรวจร่างกาย ๑๘ ธ.ค ๕๓ ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ๒๔ ธ.ค ๕๓ ชำระเงินค่าลงทะเบียน ๒๔-๓๐ ธ.ค ๕๓ แจ้งสละสิทธิ์ ๒๔-๓๐ ธ.ค ๕๓ รายงานตัว ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หรือตามที่วิทยาลัยกำหนด เปิดภาคการศึกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ปฏิทิน รับกลาง (ร่าง) โดยการสมัครทางอินเตอร์เนต และมีกำหนดการต่างๆดังนี้ ประชาสัมพันธ์ ธ.ค. ,มี.ค. ๕๔ สมัคร ๑-๑๗ เม.ย. ๕๔ ทางเวปไซด์ ชำระเงินค่าสมัคร ๑-๑๗ เม.ย. ๕๔ ผ่านธนาคาร ประกาศรายชื่อ ๒๕ เม.ย. ๕๔ สัมภาษณ์ ๒-๓ พ.ค. ๕๔ ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ๖ พ.ค. ๕๔ ชำระเงินค่าลงทะเบียน ๖-๑๑ พ.ค. ๕๔ รายงานตัว ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หรือตามที่วิทยาลัยกำหนด เปิดภาคการศึกษา ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – งานทะเบียนวัดและประเมินผลการศึกษา – เตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              เตรียมความพร้อมการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา

(293)

ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบทะเบียนและประมวลการศึกษา

ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบทะเบียนและประมวลการศึกษา
 ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล นส.จุฑารัตน์ พลายด้วง น.ส.สุไรด้า ระเบียบพร นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย .
  กลุ่มงาน :  งานทะเบียน วัดและประเมินผลการศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 2 มิ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 4 มิ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วสส.ตรัง
  จังหวัด :  ตรัง
  เรื่อง/หลักสูตร :  ติดตามและประเมินผลการใช้งานระบบทะเบียนและประมวลการศึกษา
  วันที่บันทึก  11 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               การนำระบบสารสนเทศไปใช้ เป็นนโยบายของ สบช. ๑.ระบบสารสนเทศที่พัฒนาและนำไปใช้แล้ว ๑.๑ ระบบเพื่อการจัดการศึกษา – ระบบทะเบียนและประมวลผลการศึกษา – ระบบประเมินผลการศึกษา – ระบบการจัดตารางสอนรายสัปดาห์ – ระบบภาระงานสอน – ศิษย์เก่า – ระบบรับนักศึกษาใหม่ ๑.๒ ระบบสารบรรณ ๑.๓ ระบบเพื่อการบริหาร MIS ๑.๔ ระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง (ใช้เฉพาะที่) ๑.๕ ระบบแจ้งซ่อม ดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ๒. ระบบที่พัฒนาและกำลังทดสอบระบบ – กำกับงบประมาณ – ระบบบุคลากร ๓. ระบบที่จะพัฒนาเพิ่มในปี – ระบบกิจการนักศึกษา ๔.ปัญหาการใช้ระบบสารสนเทศ – ไม่มีผู้รับผิดชอบระบบหรือมีน้อย – มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบงาน/ คณะทำงานบ่อย – บุคลากรยังไม่เห็นความสำคัญและมีการใช้งานน้อย ๕.แนวทางในการแก้ปัญหา -มีความจำเป็นต้องมีผู้บริหารสารสนเทศหรือผู้รับผิดชอบระบบ -จัดตั้งคณะทำงานที่เป็นรูปธรรมให้ครอบคลุมทุกด้าน -พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เพียงพอในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง -กระตุ้นให้การใช้งานระบบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง -ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบต้องทำงานความเข้าใจอย่างชัดเจนเพียงพอ -ส่งเสริมสนับสนุนด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ๖.ระบบประเมินผล เริ่มโต Database มีเยอะมาก ยังไม่การซ่อนแบบประเมินเก่า มีจำนวนแบบประเมินมาก วันที่ ๒ มิ.ย.๕๓ ช่วงบ่าย สาธิตและทดลองใช้ระบบทะเบียนนักศึกษา ระบบประมวลผลการศึกษา ระบบการจัดตารางสอน วันที่ ๓ มิ.ย.๕๓ สาธิตและทดลองใช้ระบบประเมินผล ระบบการภาระงานสอน วันที่ ๔ มิถุนายน ๕๓ ปัญหาคือ การใช้ระบบไม่ครบ module ท่านผอ.สบช.ให้ระบบเพื่อการบริหาร MIS อย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ ๗.ปัญหาระบบสารสนเทศ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ – ไม่มีผู้มีอำนาจตัดสินใจที่รับผิดชอบระบบโดยตรง – ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ – ผู้ปฏิบัติขาดแรงจูงใจ ปัญหาในการใช้งานระบบ รายงานขาดข้อมูลบางส่วน ทางส่วนกลางจะเพิ่มเติมให้เช่นการเพิ่มชื่อภาษาอังกฤษ ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำชั้น ใบประมวลผล transcript เรื่อง F จะใส่ในใบหรือไม่ ฯลฯ รอง ทิพาพร นำเสนอว่า ทำไมต้องพัฒนาระบบสารสนเทศใช้ในการทำงาน ให้ผู้บริหารมีและใช้สารสนเทศในการบริหารและตัดสินใจแก้ปัญหา ผู้ปฏิบัติทำงานได้สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว ทันสมัย (ทุกคนต้องเข้าถึง และใช้ การใช้ E-สารบรรณยังใช้ไม่ทั่วถึง ใช้เฉพาะติดต่อระหว่างวิทยาลัยกับสบช.) เป็นสถาบันการศึกษาที่ทันสมัย มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน (หลักสูตรเป็นอย่างไร เด็กจะเข้าถึงและเลือกเรียนได้) ยกระดับองค์กรให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง ระบบงานภายในมีประสิทธิภาพ คล่องตัว เอื้อต่อการเป็นสถาบันวิชาการระดับชาติ (ไม่ใช่ให้หน่วยรับผิดชอบ แต่ละส่วนงานต้องดำเนินการเอง ๘. การพัฒนาการของระบบสารสนเทศของสบช. อดีต – ต่างหน่วยต่างพัฒนา ไม่เป็นระบบ ปัจจุบัน พัฒนาเป็นระบบมากขึ้น – ได้ software หลายตัว – เก็บข้อมูล primary data ประมวลผลเป็นรายงานที่ต้องการ – Software ทำงานเข้ากันได้ เชื่อมต่อกันได้ จัดการได้ง่าย สะดวก – ใช้งบมาก เป็นไปอย่างประหยัด – ยังอยู่ในกระบวนการพัฒนา ตามแผนยุทธศาสตร์สถาบัน ๙. แผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนยุทธศาสตร์ สบช.ปี๕๓ จะนำมาเป็นตัวชี้วัดด้วย เป้าประสงค์ที่ ตัวชี้วัดที่ ๙.๑ ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดมีระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์ เน็ตที่มีมาตรฐานและสามารถเชื่อมโยงกับแม่ข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดที่ ๙.๒ ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดมีการนำระบบสารสนเทศได้พัฒนาไปใช้ในการบริหาร จัดการ ด้านการบริหาร ด้านการเรียนการสอน (อย่างน้อย ๔ระบบ) แผนยุทธศาสตร์ สบช.ปี๕๔-๕๘ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์ มิติการพัฒนาองค์กร ข้อ๕ พัฒนาองค์กรสู่การเป็นคลังความรู้ทางสุขภาพของประเทศที่สร้างองค์ความรู้ นวตกรรมทางสุขภาพ เป็นที่พึ่งทางวิชาการสุขภาพแก่ชุมชนและสถานบริการในท้องถิ่น แนวปฏิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและโครงการสารสนเทศเพื่อรองรับการเป็นคล้งความรู้ทาง สุขภาพของประเทศที่เป็นสากล ข้อ๘ ยกระดับ สบช. เป็นองค์กรสมรรถนะสูงในระดับสากล(HPO) ที่มีระบบงานภายในที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว เอื้อต่อการเป็นสถาบันวิชาการระดับชาติที่มีความเป็นสากล พัฒนาวิทยาลัยสู่เป็นวิทยาลัยอัจฉริยะที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างระบบบริหารจัดการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาและตัดสินใจทางการบริ หาร EIS *ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่น จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่ออาจารย์ ข้อ ๑๐ เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรของ สบช.ให้มีความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถสูงการศึกษาสุขภาพที่เป็นที่รองรับ ทั้งในประเทศและสากล นำระบบ ICT มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและการปรับปรุง ๑๐. ความก้าวหน้าการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมโยงเครือข่าย ภายในวิทยาลัย ซึ่งต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ มีการกำหนด spec ระหว่างสถาบัน ปีหน้าจะพัฒนาการเชื่อมต่อ การพัฒนาระบบของสถาบันที่ใช้งานร่วมกัน ระบบสารบรรณปริฉัตร (จะพัฒนาการใช้งาน เชื่อมต่อกับระบบสารบรรณของสำนักงานปลัดฯ ผ่าน TH e-GIF) ระบบกำกับงบฯ ระบบบุคลากร ชุด software เพื่อการจัดการศึกษา ฯลฯ ๑๑.ปัญหา ติดตั้งแล้วไม่ใช้ ทำไม่เป็น ใช้ไม่ได้ มีปัญหา ไม่ชอบใช้ ไม่อยากใช้ ไม่ถนัด พยายามใช้แล้ว มีปัญหา ไม่มีคนดูแลแก้ไขให้ บางคนใช้ บางคนไม่ใช้ ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ทำเป็นรายงานไม่ได้ ไม่มีคนดูแล จัดการให้ระบบทำงาน เช่นการทำระเบียบประกาศต่าง ๆ การพัฒนาระบบสารสนเทศ เจ้าของโครงการ : IT เจ้าของเนื้อหา : แต่ละส่วนงาน ทีมพัฒนา ทีมสนับสนุนโครงข่าย คณะกรรมการ ผู้ใช้งาน ๑๒.การนำไปใช้ ต้องมี ผู้บริหาร แต่งตั้งคนรับผิดชอบดูแลในภาพรวม ผู้จัดการระบบ : มอบหมายเจ้าของเนื้อหาดูเพียง ๑ ระบบ เพื่อติดตาม กำกับระบบ ผู้ดูแลระบบ : IT ผู้ใช้งานทั่วไป ว่าระบบใด ใครใช้บ้าง ๑๓.บทบาทของผู้บริหารต่อสารสนเทศ ผอ. ต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหาร ชี้ทิศทาง ทำแผนแก้ไขปัญหา (เช่น คนรับผิดชอบ คนใช้) พัฒนาองค์กร ติดตามกำกับการใช้ระบบ ใช้หรือยัง ใช้อย่างไร ใช้มากน้อยเพียงใด ๑๔. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ระบบฯ ของสปร. มีการแบ่งงานและผู้รับผิดชอบ เช่น – งานทะเบียน มีหน.และอาจารย์ในงาน ๒ คน มีเจ้าหน้าที่ ๑ คน – งานประเมินผลการศึกษา มีหน. และอาจารย์ในงาน ๑ คน มีเจ้าหน้าที่ ๑ คน – งานจัดการศึกษามีหน.และอาจารย์ในงาน ๒ คน มีเจ้าหน้าที่ ๑ คน ทำให้ฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจุบัน ผอ.นิมัศตูรา : มีการประเมินผลแต่ละวิทยาลัยแล้วหรือไม่ ผลเป็นอย่างไรบ้างต้องแก้ต้องจุดไหนบ้าง รองฯทิพาพร : จะมีการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดตามคู่มือฯ แบบประเมินอยู่หน้า website ให้แต่ละวิทยาลัยประเมินตนเอง ผอ.ภรณี : อยากให้ สบช.ช่วยลงนิเทศการใช้ระบบแต่ละวิทยาลัย เพื่อให้เห็นข้อจำกัดของการใช้ รองฯทิพาพร : ขอบคุณที่พัฒนาระบบฯ แต่ละวิทยาลัยมีข้อจำกัดโดยเฉพาะเรื่องคน บางที่เป็นข้าราชการ บางที่เป็นลูกจ้าง ทำให้มีการเปลี่ยนคนรับผิดชอบ ผอ.รุจา : การพัฒนา hardware software & peopleware อยากทราบเกณฑ์ขั้นต่ำ อ.พรเทพ : ความแตกต่างของรายละเอียดแต่ละส่วน เช่น การเปิดปิดภาคเรียนไม่พร้อมกัน อ.เทอดศักดิ์ วพบ.สงขลา : ตัวชี้วัด ๗.๕ เรื่องฐานข้อมูล มาตรฐานข้อ ๖ การเชื่อมโยงกับ สกอ. ขอให้พิจารณาเพราะความหมายไม่ชัดเจน และดึงปรับฐานข้อมูลบางส่วนมาแยกเป็นฐานเฉพาะเช่น วิจัย ฯลฯ อ.ภารณี : การที่กระทรวงศึกษาธิการขอข้อมูล ที่วิทยาลัยต้องตอบทุกปี ถือเป็นการเชื่อมโยงกับหน่วยอื่น รองฯทิพาพร : จะรับข้อเสนอแนะจากวิทยาลัย ไปพิจารณา และในส่วนกลางต้องประสานกัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การใช้งานระบบทะเบียนและประมวลการศึกษา ระบบการภาระงานสอน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนางานระบบทะเบียนและประมวลการศึกษา ระบบการภาระงานสอน

(341)

การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลาง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลาง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์ และดร.จิราพร วัฒนศรีสิน
  กลุ่มงาน :  งานทะเบียน วัดและประเมินผลการศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 1 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลาง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
  วันที่บันทึก  31 พ.ค. 2553


 รายละเอียด
               ได้แนวทางการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลางประจำปีการ ศึกษา ๒๕๕๓ โดยการสมัครทางอินเตอร์เนต และมีกำหนดการต่างๆ ดังนี้ – สมัคร ๑๑-๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ – ชำระเงินค่าสมัคร ๑๑-๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ – ประกาศรายชื่อ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ – สัมภาษณ์ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ – ชำระเงินค่าลงทะเบียน ๑๗-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ – รายงานตัว ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ – เปิดภาคการศึกษา ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              แนวทางการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลางประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              แนวทางการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับกลาง

(257)