ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | ||||||||||||||||||||
กลุ่มงาน : งานจัดการศึกษาและหลักสูตร | ||||||||||||||||||||
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | ||||||||||||||||||||
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | ||||||||||||||||||||
เมื่อวันที่ : 19 พ.ย. 2555 ถึงวันที่ : 22 พ.ย. 2555 | ||||||||||||||||||||
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | ||||||||||||||||||||
จังหวัด : กรุงเทพ | ||||||||||||||||||||
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา | ||||||||||||||||||||
วันที่บันทึก 28 พ.ย. 2555 | ||||||||||||||||||||
รายละเอียด | ||||||||||||||||||||
เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเตรียมการรับรองสถาบันจากสภาการพยาบาล โดยตัวแทนจากวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง ๔ ปี (ยะลา นครสวรรค์ จันทบุรี และนนทบุรี) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
-การ มีทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา ให้มองเป็นงานประจำ ไม่ใช่งานเพิ่ม ต้องกัดไม่ปล่อย ต้องสู้ พยายามอย่าให้มีสิ่งใดเป็นอุปสรรค เกณฑ์ ประเมินต่างๆ เป็นข้อสอบที่เราต้องหาคำตอบเอง ต้องตรวจสอบตนเองเป็นระยะๆว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใด จะพัฒนาตัวเราอย่างไร เนื่องจากเกณฑ์ประเมินจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา -ต้อง มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ชัดเจน ภายใต้การช่วยเหลือกันอย่างเอื้ออาทร บุคลากรทุกระดับทุกคนมีบทบาทร่วมกัน เห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ร่วมกันรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้นำ -การวางแผนล่วงหน้า -การเตรียมเอกสารหลักฐาน ต้องศึกษาเกณฑ์ให้ถ่องแท้ เขียนรายงาน/ข้อมูลตามที่ต้องการ ทพ.ทิพาพร สุโฆสิต รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวถึง -การแผนการผลิตนักศึกษา ปี ๒๕๕๖ รับ ๓,๖๐๐ คน สำหรับในปีต่อๆ รับ ๓,๐๐๐ คน -การปรับเปลี่ยนการกระบวนการทำงานให้ลดขั้นตอนลงตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข -การให้ค่าตอบแทนตามภาระงานที่เพิ่มขึ้น -การปรับเปลี่ยนการแบ่งเขต ๑๒ เขต มีผู้ตรวจสาธารณสุขเขต ๑๒ คน -การให้วิทยาลัยในแต่ละเครือข่ายมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น (แผนกำลังคน และแผนการผลิต) -มีแนวคิดให้สบช.ออกนอกระบบ มีพรบ.ของตนเอง เป็นนิติบุคคลในส่วนราชการ แต่แก้ปัญหาเรื่องคน (ตำแหน่งราชการ) ได้ยาก ขณะนี้ กพ. เรียกเก็บตำแหน่งได้ ๑๐,๐๐๐ ตำแหน่ง เพื่อบรรจุให้พนักงานลูกจ้างภายในปีนี้ อาจปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการเทียบเท่าลูกจ้างประจำ จะมีการทำประชาพิจารณ์ในเร็วๆนี้ ดร.มณฑาทิพย์ ไชยศักดิ์ ดร.เบญจวรรณ ทับทิมสุวรรณ และ อ.วิภา เพ็งเสงี่ยม เปรียบเทียบเกณฑ์รับรองสถาบันของสภาการพยาบาล
คะแนนรวมของการประเมิน = คะแนนจากเกณฑ์สำคัญ + คะแนนจากเกณฑ์ทั่วไป
ดร.ชูศักดิ์ เตชะวิเศษ ชี้ แจงเครื่องมือในการทำงานกลุ่ม ตัวอย่าง มคอ.๓, มคอ.๕, มคอ.๔ และ มคอ.๖ พร้อมทั้งแบบประเมิน และทำงานกลุ่มย่อยทดลองใช้เครื่องมือในการประเมิน มคอ. เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์ มคอ. ดูความสอดคล้องของ LO Objective & Evaulation การเพิ่ม LO plus ไม่ควรน้อยกว่า ๔-๘ ข้อ เช่น อัตลักษณ์ SAP เอกลักษณ์ สามารถสอบสภาการพยาบาล Authentic Learning หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จิตตปัญญา สุนทรียสนทนา โยนิโสมนสิการ พรหมวิหาร ๔ เป็นต้น การเพิ่ม LO plus ควรได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยด้วย แล้วพิจารณาคัดสรรรายวิชาที่เพิ่ม LO plus ประสานฝ่ายกิจการ เลือกโครงการที่จะเติม LO plus และอย่าลืมปรับปรุงเครื่องมือวัดผลให้สอดคล้องด้วย ดร.เบญจา เตากล่ำ บรรยายเกี่ยวกับการทำแผนนิเทศภาคปฏิบัติ เขียนกิจกรรมที่สอนรายวันตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติ แผนการสอนในคลินิก ใช้เวลาไม่เกิน ๑ ชั่วโมง มีหัวข้อ ดังนี้ แนวคิดสำคัญ วัตถุประสงค์ทั่วไปและเชิงพฤติกรรม เนื้อหาสั้นๆ กิจกรรม & สื่อการสอน การประเมินผล สามารถเขียนล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วค่อยเติมข้อมูลผู้ป่วย |
||||||||||||||||||||
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | ||||||||||||||||||||
การเตรียมการรับการตรวจเยี่ยมจากสภาการพยาบาล และการบริหารหลักสูตร | ||||||||||||||||||||
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(358)