Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI

Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 8 พ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 9 พ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  Project of Instructor in Creating Teaching and Learning Innovation: Training for instructor of colleges affiliated to PBRI
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
  • § การพัฒนาศักยภาพการสอนของอาจารย์วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยฟอนทีส ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมาย ดังนี้

๑) ทฤษฎีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning & Teaching Theory) โดยการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยฟอนทีส ประเทศเนเธอร์แลนด์ เฉพาะวิทยาลันนำร่อง

๒) กรอบแนวคิด ๗ ขั้นตอน

๓) การออกแบบการสอนและการประเมินผล  โดยมีนวัตกรรมที่ช่วยในการเขียนแผนการสอนจาก http://www.lead-by-example.org/pbri/

๔) การทำวิจัยปฏิบัติการของแต่ละวิทยาลัยนำร่อง

๕) การนำเสนอผลวิจัย

  • § การบรรยายเรื่อง VARK Model   กล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้ของคนว่าประกอบไปด้วย  ๔ ทักษะ ได้แก่  ๑) การฟัง (Aural or Auditory)  ๒) การดู (Visual)  ๓) การอ่านหรือเขียน (Read or Write)  และ ๔) การปฏิบัติ (Kinesthetic)

เนื่อง จากแต่ละคนมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้สอนจึงควรใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม  เช่น

การดู (Visual): มอบหมายให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งของ ดูภาพ/ไดอะแกรม/ภาพยนตร์/คลิป  การสาธิต/สาธิตย้อนกลับ

การฟัง (Aural or Auditory): มอบหมายให้ฟังผู้อื่นอ่าน/ฟังเสียงต่างๆ/ให้พูด

  • § การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็น หนทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน สะท้อนภาพการเรียนการสอนของผู้สอนนั้นๆจริงๆ โดยไม่มีการอ้างอิงจากที่อื่น ทำโดยผู้สอน เพื่อผู้สอนและผู้เรียน และที่สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีขั้นตอนเหมือนกับวงจรบริหารคุณภาพ (PDCA) ดังนี้  ๑) การระบุคำถามการวิจัย  ๒) ทำความเข้าใจในปัญหาให้ลึกซึ้ง  ๓) การพัฒนากิจกรรม/แผน  ๔) การดำเนินตามกิจกรรม/แผนที่วางไว้  ๕) การวิเคราะห์และตีความข้อมูล และ ๖) การรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหา
  • § การเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ ควรระบุให้ชัดเจนว่าต้องการพฤติกรรมอะไรจากผู้เรียน เช่น ประเมิน…ได้  แยกแยะ…ได้  เขียนไดอะแกรม…ได้ เป็นต้น  และการวัดประเมินผลก็ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้วย

   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การวิจัยในชั้นเรียนในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(283)

Comments are closed.