Category Archives: การเรียนการสอน

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไปโดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาก่อน แต่อาจให้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญคือ

1. การเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีระบบเป็นเหตุผล

2. เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ วิชาเข้าด้วยกันเพื่อที่จะอธิบายปัญหา

3. เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitation) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักศึกษาต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

4. การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (Self-directed learning)

สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี  17-19 มีนาคม 2558 โดย นางสาวสุธาสินี เจียประเสริฐ

Read the rest of this entry (3063)

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลักการข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความคิด (thinking) ซึ่งเป็นความสามารถทางสมองหรือด้านสติปัญญา เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับวิชาการ หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนของผู้เรียน และเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษา เพื่อต้องการตัดสินว่าในการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนหรือเกิดการพัฒนางอกงานขึ้นมาจากการฝึกฝนอบรมสั่งสอนระดับใด ทั้งนี้การวัดผลการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ จะใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และนิยมใช้เป็นเครื่องมือหลักสาหรับการวัดผลการเรียนรู้ ในการสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงความครอบคลุมเนื้อหาและใช้คาถามที่ดีแล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กล่าวคือ ต้องพยายามเขียนคำถามวัดพฤติกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้น ๆ ด้วย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ ๖ ชนิด ตามที่บลูมและคณะ (Bloom, B.S. et.al.,๑๙๕๖) ได้จำแนกไว้ และแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ อีก ดังนี้ Read the rest of this entry (5643)

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation delivery )

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation delivery )

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation delivery )
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริงประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ดังนี้
๑.  ขั้นนำ (Pre – Brief)  ๒๐ นาที ถามถึงความคาดหวัง บทบาท สิ่งแวดล้อม เครื่องมือ ครูเล่าประสบการณ์ตนเอง
๒.  ขั้นการปฏิบัติตามสถานการณ์ (Simulationหรือ Scenario/Observation) ๓๐ นาที  การปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์
๓.  ขั้นประเมินการเรียนรู้  (Debrief)  ๒๐ นาที การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง ๓ ระยะ (๖ PA) ปัจจัยของบุคคล Read the rest of this entry

(1922)

การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ทบทวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ ๒) เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อ

๑.  ผลการทบทวนเกี่ยวกับแบบวัดผลการเรียน สรุปได้ดังนี้คือ
      ๑.๑) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึงแบบวัดผลนั้นต้องเป็นแบบวัดผลที่ผู้ตอบทุกคนต้องไม่มีข้อคำถามถามต่อว่าใช่คำถามนี้แน่หรือไม่ หรือสามารถคิดเป็นแบบอื่นได้ นั่นคือข้อคำถามต้องชัดเจน ลดการตีความ หรือแย้งไม่ได้ และไม่ควรถามเชิงความคิดเห็น เช่น “กลไกการคลอดมีกี่ขั้นตอน” (คำตอบคือ ๘ ขั้นตอน) แต่คำถามนี้ถือว่ายังไม่มี Objectivity เพราะผู้ตอบสามารถคิดโต้แย้งได้ว่า หากไม่ใช่เป็นกลไกการคลอดปกติ จะตอบเป็นอย่างอื่นที่ไม่จำเป็นต้องครบ ๘ ขั้นตอนได้หรือไม่ หรือจะเป็นคำตอบที่ผิดหรือไม่ ดังนั้นคำถามหรือแบบวัดที่สมบูรณ์ต้องปรับเป็น “กลไกการคลอดปกติมีกี่ขั้นตอน” ซึ่งเมื่อทุกคนอ่านคำถามก็ทราบเหมือนกันทันทีว่าถามอะไร และต้องตอบอะไร

     ๑.๒) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเที่ยง (Reliability)

Read the rest of this entry (444)

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles   โดย Mrs. ImkeNabben, Mr John van Lare

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ Bloom’s Taxonomy
การเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ระดับ ดังนี้
1. Remember
2. Understanding
3. Applying
4. Analyzing
5. Evaluating
6. Creating

        Bloom ได้แบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ คือ การจำ การเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า การพัฒนาความรู้ใหม่

การเรียนรู้ในระดับการจำ (Remembering) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถบอกสิ่งที่เรียนรู้มาได้ คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการจำ คือ ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน เป็นต้น

การเรียนรู้ในระดับการเข้าใจ (Understanding) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน โดยสามารถอธิบายแนวคิด หรือ concept หรือเปรียบเทียบ สรุปสิ่งที่แตกต่าง แปลความหมาย ตีความได้คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการเข้าใจ คือ จงอธิบาย…………. จงยกตัวอย่าง ……………………. จงเปรียบเทียบ ………………………… จงสรุป …………………………..

การเรียนรู้ในระดับการนำไปใช้ (Applying) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้แก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ ซึ่งสามารถใช้กรณีศึกษาประกอบกับคำถาม เช่น จะแก้ปัญหาผู้ป่วยรายนี้อย่างไร จะประยุกต์ใช้ความรู้ในการพัฒนาหรือแก้ไขกรณีศึกษาอย่างไร

การเรียนรู้ในระดับการวิเคราะห์ (Analyzing) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ในการวิเคราะห์สิ่งที่ซับซ้อนหรือสิ่งที่ยุ่งยากได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการวิเคราะห์ คือ ในกรณีศึกษาที่ได้รับผู้ป่วยมีปัญหาอะไร จงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง …………… กับ ……………….

การเรียนรู้ในระดับการประเมินค่า (Evaluating) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถตัดสินใจ และบอกเหตุผลหรือสะท้อนคิดในการกระทำนั้น ๆ ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับประเมินค่า คือ บอกเหตุผลของการเลือกการกระทำนั้น ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้

การพัฒนาความรู้ใหม่ (Creating) ผู้เรียนสามารถคิดค้นความรู้ใหม่ สร้างสรรค์ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการพัฒนาความรู้ใหม่ คือ อะไรคือสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น หรืออะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้น

          เหตุผลของการใช้ Bloom Taxonomy ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการกำหนด learning objective ใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยใช้ในการเรียงเนื้อหาการเรียนโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนโดยเริ่มเรียนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนสิ่งที่ง่ายในนักศึกระดับต้น ๆ และค่อยๆ ปรับการสอนให้เกิดการเรียนรู้ที่ยากขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้น  ดังนั้นการเรียนรู้เริ่มจากระดับ Remember และ Understanding เหมาะสมกับนักศึกษาปี 1 และ ปี 2 ส่วนระดับ Applying , Analyzing , Evaluating และ Creating เหมาะสมกับปี  3 และ ปี 4

จากนั้นอาจารย์แจกเอกสารเป็น Action Words for Broom’s Taxonomy   และอาจารย์ให้ทุกคนทดลองเขียนคำถามเป็นการบ้าน เพื่อฝึกหัดการตั้งคำถาม Bloom’s Taxonomy สำหรับการมอบหมายงานที่ได้รับ และให้ทำเป็นการบ้าน มีดังนี้
1. Write  down  three  question  for  yourself  for the  specific  level  which  are  suitable  for  your class.
2. Discuss afterward with your neighbor.

หลังจากนั้น Mrs. ImkeNabben ได้พูดความรับผิดชอบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา (Accountable quality education) หมายถึง การรับประกันหรือแสดงให้คนอื่นทราบว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร โดยผู้สอนจะต้องทราบว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์อะไร และจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์นั้น ซึ่งการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต้องครอบคลุมถึง
1. วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน (The Four Learning Styles) ทำอย่างไรให้เกิดทักษะ การดู(Visual) การฟัง (Aural) การอ่าน (Reading/Writing) และลงมือทำ (Kinesthetic) หรือ VARK Learning Styles
2. วิธีการสอนใดที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากที่สุด/เหมาะสมกับเนื้อหามากที่สุด
3. ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดในผู้เรียน อยู่ในระดับใด
4. สถานที่ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด และจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมกับการเรียน

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556 (1464)