Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles

Blooms Taxonomy และ VARK learning styles   โดย Mrs. ImkeNabben, Mr John van Lare

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ Bloom’s Taxonomy
การเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ระดับ ดังนี้
1. Remember
2. Understanding
3. Applying
4. Analyzing
5. Evaluating
6. Creating

        Bloom ได้แบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ คือ การจำ การเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า การพัฒนาความรู้ใหม่

การเรียนรู้ในระดับการจำ (Remembering) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถบอกสิ่งที่เรียนรู้มาได้ คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการจำ คือ ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน เป็นต้น

การเรียนรู้ในระดับการเข้าใจ (Understanding) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน โดยสามารถอธิบายแนวคิด หรือ concept หรือเปรียบเทียบ สรุปสิ่งที่แตกต่าง แปลความหมาย ตีความได้คำถามที่ผู้สอนสามารถใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการเข้าใจ คือ จงอธิบาย…………. จงยกตัวอย่าง ……………………. จงเปรียบเทียบ ………………………… จงสรุป …………………………..

การเรียนรู้ในระดับการนำไปใช้ (Applying) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้แก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ ซึ่งสามารถใช้กรณีศึกษาประกอบกับคำถาม เช่น จะแก้ปัญหาผู้ป่วยรายนี้อย่างไร จะประยุกต์ใช้ความรู้ในการพัฒนาหรือแก้ไขกรณีศึกษาอย่างไร

การเรียนรู้ในระดับการวิเคราะห์ (Analyzing) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ในการวิเคราะห์สิ่งที่ซับซ้อนหรือสิ่งที่ยุ่งยากได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการวิเคราะห์ คือ ในกรณีศึกษาที่ได้รับผู้ป่วยมีปัญหาอะไร จงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง …………… กับ ……………….

การเรียนรู้ในระดับการประเมินค่า (Evaluating) หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนสามารถตัดสินใจ และบอกเหตุผลหรือสะท้อนคิดในการกระทำนั้น ๆ ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับประเมินค่า คือ บอกเหตุผลของการเลือกการกระทำนั้น ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้

การพัฒนาความรู้ใหม่ (Creating) ผู้เรียนสามารถคิดค้นความรู้ใหม่ สร้างสรรค์ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ คำถามที่ผู้สอนใช้ถามเพื่อให้เกิดการคิดในระดับการพัฒนาความรู้ใหม่ คือ อะไรคือสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น หรืออะไรคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้น

          เหตุผลของการใช้ Bloom Taxonomy ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการกำหนด learning objective ใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยใช้ในการเรียงเนื้อหาการเรียนโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนโดยเริ่มเรียนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก โดยวางแผนการเรียนสิ่งที่ง่ายในนักศึกระดับต้น ๆ และค่อยๆ ปรับการสอนให้เกิดการเรียนรู้ที่ยากขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้น  ดังนั้นการเรียนรู้เริ่มจากระดับ Remember และ Understanding เหมาะสมกับนักศึกษาปี 1 และ ปี 2 ส่วนระดับ Applying , Analyzing , Evaluating และ Creating เหมาะสมกับปี  3 และ ปี 4

จากนั้นอาจารย์แจกเอกสารเป็น Action Words for Broom’s Taxonomy   และอาจารย์ให้ทุกคนทดลองเขียนคำถามเป็นการบ้าน เพื่อฝึกหัดการตั้งคำถาม Bloom’s Taxonomy สำหรับการมอบหมายงานที่ได้รับ และให้ทำเป็นการบ้าน มีดังนี้
1. Write  down  three  question  for  yourself  for the  specific  level  which  are  suitable  for  your class.
2. Discuss afterward with your neighbor.

หลังจากนั้น Mrs. ImkeNabben ได้พูดความรับผิดชอบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา (Accountable quality education) หมายถึง การรับประกันหรือแสดงให้คนอื่นทราบว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร โดยผู้สอนจะต้องทราบว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์อะไร และจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์นั้น ซึ่งการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต้องครอบคลุมถึง
1. วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน (The Four Learning Styles) ทำอย่างไรให้เกิดทักษะ การดู(Visual) การฟัง (Aural) การอ่าน (Reading/Writing) และลงมือทำ (Kinesthetic) หรือ VARK Learning Styles
2. วิธีการสอนใดที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากที่สุด/เหมาะสมกับเนื้อหามากที่สุด
3. ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดในผู้เรียน อยู่ในระดับใด
4. สถานที่ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด และจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมกับการเรียน

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556 (1465)

Comments are closed.