การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

การติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ทบทวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ ๒) เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อ

๑.  ผลการทบทวนเกี่ยวกับแบบวัดผลการเรียน สรุปได้ดังนี้คือ
      ๑.๑) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึงแบบวัดผลนั้นต้องเป็นแบบวัดผลที่ผู้ตอบทุกคนต้องไม่มีข้อคำถามถามต่อว่าใช่คำถามนี้แน่หรือไม่ หรือสามารถคิดเป็นแบบอื่นได้ นั่นคือข้อคำถามต้องชัดเจน ลดการตีความ หรือแย้งไม่ได้ และไม่ควรถามเชิงความคิดเห็น เช่น “กลไกการคลอดมีกี่ขั้นตอน” (คำตอบคือ ๘ ขั้นตอน) แต่คำถามนี้ถือว่ายังไม่มี Objectivity เพราะผู้ตอบสามารถคิดโต้แย้งได้ว่า หากไม่ใช่เป็นกลไกการคลอดปกติ จะตอบเป็นอย่างอื่นที่ไม่จำเป็นต้องครบ ๘ ขั้นตอนได้หรือไม่ หรือจะเป็นคำตอบที่ผิดหรือไม่ ดังนั้นคำถามหรือแบบวัดที่สมบูรณ์ต้องปรับเป็น “กลไกการคลอดปกติมีกี่ขั้นตอน” ซึ่งเมื่อทุกคนอ่านคำถามก็ทราบเหมือนกันทันทีว่าถามอะไร และต้องตอบอะไร

     ๑.๒) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเที่ยง (Reliability)

      ๑.๒) แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความเที่ยง (Reliability) และแบบวัดผลที่มีความเที่ยงที่ดี ต้องเป็นแบบวัดผลที่มี Objectivity หรือความเป็นปรนัยมาก่อนเสมอ การวัดค่าความเที่ยงมีหลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือการที่แบบวัดผลนั้น สามารถให้คำตอบที่เหมือนกันในแต่ละครั้งและทุกครั้ง

      ๑.๓ แบบวัดผลการเรียนควรประกอบด้วยความตรง (Validity) และแบบวัดที่มีความตรงต้องเป็นแบบวัดผลที่มี Objectivity หรือความเป็นปรนัยและมีค่า Validity หรือความเที่ยงมาก่อนเสมอ แบบวัดลักษณะนี้เป็นแบบวัดที่มีความสมบูรณ์ในข้อคำถามว่าต้องการวัด คุณลักษณะที่ต้องการได้ตรงตามความมุ่งหมาย

๒. Maximum Study Load คือจำนวนเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสูงสุด การจัดการเรียนการสอน ต้องพิจารณาว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร มีจำนวนวิชาหรือหน่วยกิตเป็นอย่างไร มีความรู้ใดบ้างที่สำคัญและจำเป็นที่นักศึกษาต้องรู้ ความรู้ใดที่ควรรู้ หรือความรู้ใดที่นักศึกษาน่าจะต้องรู้ การเรียนของนักศึกษามีลักษณะการเรียนการสอนเป็นอย่างไร เพราะนั่นหมายถึงผู้จัดจะได้บริหารการจัดการเรียนการสอนได้ เช่น ความรู้ที่นักศึกษาต้องรู้ อาจจัดให้มีการเรียนในชั้นเรียนและสอนโดยครู  ส่วนความรู้ที่นักศึกษาควรรู้ อาจใช้เทคนิคให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ศึกษาวิเคราะห์แล้วนำ มาอภิปรายในชั้นเรียนร่วมกันในกลุ่ม และสำหรับความรู้ใดที่นักศึกษาน่าจะต้องรู้ ผู้สอนอาจแค่บอกแหล่งค้นคว้าให้แก่นักศึกษาไปเรียนรู้เอง ซึ่งลักษณะการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมด ในวิชานั้นๆในห้องเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนใดที่นักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนจากการที่ผู้สอนมอบ หมายงาน ก็ให้หักจำนวนเวลานั้นออกจากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมดในวิชานั้นๆด้วย เพราะการเรียนรู้นอกชั้นเรียนก็ถือว่าเป็นการเรียนแล้วเช่นกันในวิชานั้นๆ  การที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนใช้เวลานอกเหนือจากเวลาเรียนในชั้นเรียนและ ยังใช้เวลาตามตารางเรียนเต็มถือว่าเป็นการใช้เวลาเกินกว่าความเป็นจริงตาม หน่วยกิตกำหนด ซึ่งไม่ใช่เป็นผลดีต่อผู้เรียนและถ้าทุกวิชาทำเช่นนี้เหมือนกันหมดจะทำให้ ผู้เรียนไม่มีเวลาในการทบทวนเพื่อการตกผลึกความรู้หรือประมวลความรู้ที่ได้ เรียนมาเลย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการตระหนักถึงภาวะที่ต้องไม่ใช้เวลาเรียนของผู้เรียน เกินกำหนด

ยกตัวอย่างเช่น วิชากายวิภาคศาสตร์ มี ๒ หน่วยกิตสำหรับเรียนทฤษฎี และ ๑ หน่วยกิตสำหรับทดลอง รวมเบ็ดเสร็จคือ ๖๔ ชั่วโมง (ทบ. ๓๒ ชั่วโมง + ทดลอง ๓๒ ชั่วโมง ทั้งนี้ให้นับรวมสัปดาห์ที่ใช้สอบด้วย หมายถึงให้คิดรวมเวลาสอบด้วยที่ต้องหักออกจากหน่วยกิต)

การบริหารเวลาทั้งหมด ๖๔ ชั่วโมง สามารถคิดได้ดังนี้
๑. ๓๐ นาที่ สำหรับการปฐมนิเทศ
๒. สอบกลางภาค ๒ ชั่วโมง
๓. สอบปลายภาค ๒ ชั่วโมง
๔. Quiz / Test ระหว่างเรียน ทุกครั้ง = ๑๔ ครั้งๆละ ๑๕ นาที รวมเป็น ๓.๕ ชั่วโมง
๕. เรียน ๗ ระบบๆ ละ ๒ ครั้ง มอบหมายให้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าจาก E-Learning /  VDOในการเรียนครั้งแรกของแต่ละระบบ ครั้งละ ๓๐ นาที รวมเป็น ๓.๕ ชั่วโมง
๖. หลังเรียนจบแต่ละระบบ ให้สรุปผลการเรียนรู้เป็น Mind Map ๗ ครั้งๆละ ๓๐ นาที รวมเป็น ๓.๕ ชั่วโมง
๗. สอนในชั้นเรียน (Group work, Discussion, Presentation) ๑๔ ครั้งๆ ละ ๑.๕ ชั่วโมงรวมเป็น ๒๑ ชั่วโมง
๘. เรียนภาคทดลอง ๗ ระบบๆ ละ ๒ ครั้ง x ๑๔ สัปดาห์ รวมเป็น ๒๘ ชั่วโมง

           รวมทั้งภาคทฤษฏี ทดลอง และสอบ เป็น ๖๔ ชั่วโมง  

๒.   แผนการดำเนินงานต่อ คือ จัดทำรูปเล่มผลการเรียนรู้จากการเข้าอบรมหลักสูตรการวัดและประเมินผลการศึกษา และการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของแต่ละเครือข่าย วางแผนนัดครั้งต่อไป ช่วง ๒๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เพื่อดูความสมบูรณ์

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวัดและประเมินผล สำหรับอาจารย์ในเครือข่าย SC Net

สรุปจาก การประชุมการติดตามผลโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อการพัฒนานวตกรรมการจัดการเรียนการสอน วันที่ ๒ – ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗  ณ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข : อุทุมพร ดุลยเกษม (445)

Comments are closed.