การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไปโดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาก่อน แต่อาจให้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญคือ

1. การเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีระบบเป็นเหตุผล

2. เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ วิชาเข้าด้วยกันเพื่อที่จะอธิบายปัญหา

3. เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitation) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักศึกษาต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

4. การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (Self-directed learning)

สรุปจากการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี  17-19 มีนาคม 2558 โดย นางสาวสุธาสินี เจียประเสริฐ

ขั้นตอนของการเรียนโดยให้ปัญหาเป็นฐานมีดังนี้

Step  1อธิบายคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ (Clarifying Unfamiliar Terms)

กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์และข้อความที่ปรากฏอยู่ในโจทย์ปัญหาให้ชัดเจน

Step 2 ตั้งปัญหา (Problem Definition)

กลุ่มผู้เรียนร่วมกันระบุประเด็นปัญหาหลักจากโจทย์ปัญหาที่สงสัยหรือต้องการคำตอบหรือคำอธิบายว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง

Step 3 ระดมสมอง (Brainstorm)

กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อตอบหรืออธิบายคำถามสั้นๆ ที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2 ให้ครบทุกประเด็น โดยอาศัยความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม ยึดหลักทุกความคิดเห็นมีค่าไม่ปิดกั้น

Step 4 การวิเคราะห์ปัญหา ( Analyzing the Problem)

กลุ่มผู้เรียนอภิปรายรายละเอียดข้อมูลจากการระดมสมองให้เหตุผลวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลตั้งสมมติฐานและรวบรวมแนวคิดของกลุ่ม

Step 5 สร้างประเด็นการเรียนรู้( Analyzing the Problem)

กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลที่จะอธิบายผลการวิเคราะห์ที่ตั้งไว้ กลุ่มร่วมกันสรุปว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดที่ยังไม่รู้ จำเป็นต้องไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้อธิบายปัญหานั้น

Step6 ค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง(Self-study)

พร้อมทั้งประเมินความถูกต้องโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ต่างๆ

Step 7 รายงานต่อกลุ่ม( Reporting)

ผู้นำรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้า เพิ่มเติมมาอภิปรายวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้

บทบาทของอาจารย์ประจำกลุ่ม

อาจารย์ประจำกลุ่มจะทำหน้าที่สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาในการเรียนกลุ่มย่อยเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นสื่อช่วยให้นักศึกษาเกิดการคิดแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่นักศึกษาตั้งไว้อาจารย์ประจำกลุ่มไม่ได้มีบทบาทให้ความรู้กันนักศึกษาโดยตรงบทบาทที่สำคัญได้แก่

1.กระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการกลุ่มเช่น

- เข้าใจแนวคิดและขั้นตอนบนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

- กระตุ้นให้นักศึกษาร่วมกิจกรรมกลุ่ม

- สร้างบรรยากาศกลุ่มที่เป็นกันเองและไม่คุกคาม

- ไม่เป็นผู้นำการอภิปรายหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาโดยตรงเข้าใจกระบวนการกลุ่มและพลวัตรของกลุ่ม

-สามารถลดความตึงเครียดหรือความขัดแย้งภายในกลุ่มให้feed back ได้อย่างเหมาะสม

2. สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาย้ำให้นักศึกษาตระหนักว่าการเรียนเป็นความรับผิดชอบของนักศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเช่น

- ทราบวัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาของรายวิชา

- ใช้คำถามที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

- ไม่ควรร่วมอภิปรายกับนักศึกษา

- ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ของตนเอง

- แนะนำสื่อการเรียนรู้

- แนะนำนักศึกษาให้ปรึกษาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเมื่อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของวิชา

3.ประเมินทักษะของนักศึกษาและทักษะของกลุ่มเช่นทักษะการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลทักษะการเรียนรู้กลุ่มย่อยทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองทักษะการสื่อสาร

- อาจารย์ควรเข้าใจหลักของการประเมินผลและทำความเข้าใจกับแบบประเมิน

- สามารถให้ feedback นักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

4.เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างนักศึกษาประสานรายวิชาเช่น

- ให้ข้อเสนอแนะแกกรรมการประจำรายวิชาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนความเหมาะสมของปัญหาที่ใช้ความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้

- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่นักศึกษาประสบระหว่างการเรียนการสอน

- ค้นหาและคำปรึกษานักศึกษาที่มีปัญหาในด้านการเรียนจะให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบหรือประสานงานกับคณะเพื่อช่วยเหลือ

ทักษะของอาจารย์ประจำกลุ่ม(Facilitator)

มีหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้และดูแลกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่มย่อยๆกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนในกลุ่มได้รับการสนับสนุนซึ่งให้ความสำคัญทางกระบวนการและเนื้อหา

ทัศนคติ

อาจารย์ต้องมีทัศนะทัศนคติที่เปิดกว้างต่อผู้เรียนและแสดงความสนใจในกิจกรรมการเรียนไม่ควรมีบทบาทการสอนแบบเดิมๆคือมุ่งที่จะสอนให้ความรู้ผู้เรียนโดยการบรรยายแต่ควรแสดงบทบาทว่าเป็นผู้ดูแลกระบวนการเรียนรู้สังเกตและวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มและจากเข้ามาแทรกถ้าจำเป็นโดยการตั้งคำถามและให้ตัวอย่างแต่จะไม่บอกข้อมูลตรงควรจะมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้เรียนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการและสามารถทำ ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ดี

ทักษะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

หน้าที่แรกชื่อดูแลกระบวนการเดือนของผู้เรียนด้วยให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมกระบวนการในกลุ่มย่อยให้เกิดการเรียนรู้และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิกในกลุ่มมีหน้าที่ดังนี้

- ทำให้เกิดการใช้กระบวนการ 7 ขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

- สนับสนุนประธานและเลขานุการของกลุ่ม

- กระตุ้นให้สมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเท่าเทียมกัน

- ถามคำถามที่ช่วยนำไปสู่การอภิปราย

- ได้รับข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อที่เขาจะได้รู้ระดับความสามารถของแต่ละคนและความสามารถของกลุ่ม

ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดเนื้อหา

คือดูแลกระบวนการเรียนของผู้เรียนโดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาต้องใช้ความรู้ที่มีในแขนงที่ตนรู้ในการอภิปรายในกลุ่มเพื่อให้การอภิปรายปัญหานำไปสู่ความรู้ที่ถูกต้องที่สุด

Facilitator

กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายในเชิงลึกใช้คำถามกระตุ้นในเชิงลึกและช่วยให้ผู้เรียนเห็นว่าตนมีความเข้าใจผิดในเรื่องใดให้ข้อมูลแต่เป็นเพียงการช่วยการ อภิปรายดำเนินไปเมื่อกลุ่มติดขัดกระตุ้นให้กลุ่มหาความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อย่อยรู้จักเลือกจังหวะเหมาะที่จะเข้าไปแทรกดูแลไม่ให้การอภิปรายกว้างเกินไปและแยกแยะให้ชัดเจนระหว่างประเด็นหลักกับประเด็นรอง

ทักษะของประธานได้เลขานุการกลุ่ม

ประธานเป็นสมาชิกคนสำคัญที่วางโครงสร้างการอภิปรายปัญหาเขาจะต้องช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้การอภิปรายปัญหาครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนรู้และเนื้อหาเลขานุการจะช่วยประธานในเรื่องดังกล่าว

 

ทักษะทั่วไปทักษะของประธานมีความ สำคัญต่อขั้นตอนหลายๆ ขั้นในกระบวนการเสร็จขั้นตอนคือดูแลให้มีการใช้ขั้นตอนทั้ง 7 อย่างถูกต้องวางโครงสร้างการประชุมย่อยกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่กำลังอภิปรายสรุปและเรียบเรียงข้อมูลที่สมาชิกเสนอมาใหม่ส่งเสริมให้อภิปรายปัญหาในเชิงลึก

Step 1 การอธิบายคำศัพท์หรือข้อความที่ไม่เข้าใจ

ทักษะของประธานเชิญชวนให้สมาชิกอ่านปัญหาตรวจสอบว่าทุกคนได้อ่านปัญหาแล้วตรวจสอบว่ามีคำใดในปัญหาเป็นคำยากบ้างสรุปและดำเนินขั้นตอนต่อมา

ทักษะของเลขานุการจะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วนคำศัพท์ยากไว้บนกระดานในส่วนแรก

Step 2 อธิบายว่าเป็นปัญหาอะไร

ทักษะของประธานถามสมาชิกในกลุ่มว่าจะให้คำจำกัดความปัญหาอย่างไรเรียบเรียงข้อความหรือความคิดที่สมาชิกเสนอมาใหม่ตรวจดูว่าสมาชิกพอใจคำอธิบายปัญหาเหล่านั้นไหมสรุปและเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

ทักษะของเลขานุการ จดคำอธิบายปัญหาเหล่านี้

Step 3 ระดมสมอง

ทักษะของประธานอนุญาตให้สมาชิกนำเสนอความคิดทีละคนสรุปความคิดที่สมาชิกเสนอกระตุ้นให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นสรุปเมื่อขั้นตอนระดมสมองสิ้นสุดลงพยายามกำกับให้วิเคราะห์หรือวิเคราะห์ปัญหาที่เสนออยู่ในขั้นตอนต่อไป

ทักษะของเลขานุการสรุปข้อเสนอให้กระชับและชัดเจนแยกแยะระหว่างประเด็นหลักกับประเด็นรอง

Step 4 วิเคราะห์ปัญหา

ทักษะของประธานนำประเด็นที่อยู่ในขั้นตอนระดมสมองมาอภิปรายสรุปข้อเสนอจากสมาชิกถามคำถามและกระตุ้นให้อภิปรายให้ลุ่มลึกพยายามดูแลไม่ให้พูดนอกเรื่องกระตุ้นให้สมาชิก เกิดความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อต่างๆกระตุ้นให้สมาชิกนำเสนอความคิด

ทักษะของเลขานุการสรุปประเด็นที่สมาชิกนำเสนอให้กระชับและชัดเจนที่ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อย่อยต่างๆ

 

Step 5 สร้างประเด็นการเรียนรู้

ทักษะของประธานถามสมาชิกนำเสนอประเด็นการเรียนรู้สรุปข้อมูลที่สมาชิกนำเสนอดูว่าสมาชิกทุกคนพอใจประเด็นที่ตั้งไว้ ระวังความไม่ชัดเจนหรือความขัดแย้งกับขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหาก่อนหน้านี้

ทักษะของเลขานุการ จดประเด็นการเรียนรู้

Step 6ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

Step 7 รายงานต่อกลุ่ม

ทักษะของประธานเตรียมโครงสร้างในการรายงานตรวจดูว่าสมาชิกนำข้อมูลมาจากแหล่งใดประเด็นการเรียนรู้ทุกประเด็นมานำเสนอซ้ำ และถามว่าสมาชิกค้นพบอะไรบ้างสรุปข้อเสนอรายงานโดยสมาชิกถามคำถามให้การอภิปรายด้วยความลุ่มลึกกระตุ้นให้สมาชิกเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อได้เข้าด้วยกันจะเห็นได้ประเด็นหลักกระตุ้นสมาชิกให้นำเสนอรายงานสรุป การอภิปรายแต่ละประเด็น

ทักษะของเลขานุการสรุปประเด็นที่สมาชิกนำเสนอให้กระชับและชัดเจนความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อย่อยเพื่อให้เกิดการโยงแนวคิดให้เป็นหนึ่งเดียวแยกแยะระหว่างประเด็นหลักกับประเด็นรอง

ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษา

1. พยายามตามทุกขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

2.ดึงเอาความรู้เดิมที่มีอยู่หรือเคยเรียนมาอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นจะช่วยทำให้นักศึกษาสามารถจำเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้นถ้าจำไม่ได้ควรกลับไปทบทวน

3.การเรียนแบบนี้ความรับผิดชอบในการบริหารเวลาให้เหมาะสมจะเป็นสิ่งสำคัญมาก

4.นักศึกษาควรประเมินความก้าวหน้าการเรียนรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาหรือไม่

5.พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย

5.1 การให้ความเคารพผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสื่อสารด้วยวาจาและท่าทางที่เหมาะสมสุภาพไม่ก้าวร้าวหรือหยาบคายไม่แสดงความคิดในลักษณะที่ดูหมิ่นหรือพาดพิงผู้หนึ่งผู้ใดเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นกล่าวขอโทษเมื่อมาสายหรือ ให้เหตุผล

5. 2 ทักษะการสื่อสารนำเสนอข้อมูลที่กระจ่างชัดเจนเข้าใจง่ายพยายามพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังพอฟังได้ยินชัดเจนทั้งกลุ่มพยายามใช้คำถามปลายเปิดถามคำถามอย่าให้มีอคติคนหนึ่งคนใดทำความกระจ่างในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างตนเองและผู้อื่นพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์แสดงกิริยาและวาจาอย่างเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย พยายามสังเกตุการแสดงออกหรือการสื่อสารโดยไม่ใช้วาจาในลักษณะต่างๆของสมาชิกในกลุ่ม

5.3 ความรับผิดชอบความตรงต่อเวลาทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือเชื่อถือได้แก่กลุ่มส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมกลุ่มที่มีประสิทธิภาพบอกจุดอ่อนจุดแข็งของสมาชิกในกลุ่มด้วยท่าทางที่เป็นมิตรบอกให้กลุ่มทราบล่วงหน้าหากมีการลาการรู้จักตนเองและการประเมินตนเอง พยายามหาแนวทางแก้ไขจุดบกพร่องหรือจุดอ่อนของตนเองยอมรับคำติที่มีเหตุผลจจากกลุ่มโดยไม่พยามหาข้อแก้ตัวหรือโทษผู้อื่นยอมรับคำติและหาแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

6.หากนักศึกษามีปัญหาในการเรียนและต้องการความช่วยเหลืออย่ารีรออาจจะปรึกษาอาจารย์ประจำกลุ่ม หรืออาจารย์ผู้ประสานรายวิชาทันที (3063)

Comments are closed.