ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation delivery )
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริงประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ดังนี้
๑. ขั้นนำ (Pre – Brief) ๒๐ นาที ถามถึงความคาดหวัง บทบาท สิ่งแวดล้อม เครื่องมือ ครูเล่าประสบการณ์ตนเอง
๒. ขั้นการปฏิบัติตามสถานการณ์ (Simulationหรือ Scenario/Observation) ๓๐ นาที การปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์
๓. ขั้นประเมินการเรียนรู้ (Debrief) ๒๐ นาที การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง ๓ ระยะ (๖ PA) ปัจจัยของบุคคล
มีรายละเอียดดังนี้
เรียนรู้ทำไม จำเป็นอย่างไร |
Preparation เตรียมตัวอย่างไร |
|
Role กฎ Etiquette จรรยาบรรณ |
Related to real ward experience |
|
เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ |
๑.ขั้นนำ (Pre – Brief)(๒๐ นาที)
เป็นขั้นตอนการเตรียมการ / แนะนำ โดยผู้สอนจะบอกวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเรียนการสอน การเตรียมตัวบอกบทบาทของผู้เรียน และผู้สอนการประเมินผล การให้คะแนนแล้วแบ่งกลุ่มและการเชื่อมโยงก่อนเข้าสู่บทเรียนโดยการเล่าหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง หรือครูมีวิดีโอแนะนำห้องปฏิบัติการ/หุ่น เน้นย้ำให้ผู้เรียนเคารพกฎ จรรยาบรรณ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงในขั้นตอนการทำ pre – brief ประกอบด้วย
๑. การวางแผน
๑.๑ ผู้สอนต้องศึกษาผู้เรียนว่าเป็นใครระดับการศึกษาที่มีอยู่(นักศึกษาพยาบาลชั้นปีไหน ผู้เข้าอบรมหลักสูตรเวชปฏิบัติฯ) มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนโดย Simulationได้เหมาะสม
๑.๒ การจัดสิ่งแวดล้อมตามสถานการณ์ (Ward, ICU, ER)
๑.๓ เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ (scenario)
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเช่น ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ นักศึกษาสามารถประเมินอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติตามสถานการณ์ที่กำหนดได้
๒.๒ ต้องสอบถามความคาดหวังของนักศึกษาที่ต้องการจากการเรียนการสอน
๒.๓ ผู้เรียนต้องตระหนักการช่วยเหลือผู้ป่วยตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ
๒.๔ เน้นย้ำการเคารพหุ่นให้ถือว่าเป็นผู้ป่วยจริง เคารพครูผู้สอน และเพื่อนร่วมทีม เปิดใจรับฟัง มีความซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง
๒.๕ แนะนำการใช้หุ่นและอุปกรณ์ต่างๆ
๒.ขั้นการปฏิบัติตามสถานการณ์(Simulation หรือ Scenario /Observation)(๒๐ นาที)
โดยผู้เรียนลงมือปฏิบัติการในภารกิจที่กำหนดในสถานการณ์โดยมีผู้สอนคอยให้ข้อมูลพื้นฐานให้คำแนะนำและดูแลการเรียนรู้โดยการสังเกต บันทึกและให้คะแนนและเมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ต้องมีการสะท้อนกลับผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงในขั้นตอนการทำScenarioประกอบด้วย
๑. บอกวิธีการปฏิบัติ โดยเน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้มาใช้ที่ได้เรียนมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย ให้ระลึกเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้เรียน มีบทบาทของพยาบาลวิชาชีพเน้นย้ำการเคารพหุ่นซึ่งให้ถือว่าเป็นผู้ป่วยจริง เคารพผู้สอน และเพื่อนผู้ร่วมทีม เน้นย้ำการทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย
๒. แนะนำการใช้หุ่นและอุปกรณ์ต่างๆ ในห้อง
๓. ให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในทางที่แย่ลง
๔. ประเมินสภาพตามกรอบแนวคิดโดย ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในบทบาทพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยและการประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยโดยยึดหลักการประเมินตาม ABCDE ซึ่งปฏิบัติดังนี้
A = Airway ซักประวัติถามอาการ ประเมินทางเดินหายใจสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ
B = Breathing ดูลักษณะการหายใจ ฟังปอดและวัด O2saturation
C = Circulation วัดสัญญาณชีพ ประเมินcapillary refill ฟังเสียงหัวใจ ตรวจประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
D = Disability ประเมินNeurological signs (EVM), pain
E= Exposure อุณหภูมิร่างกาย สภาพผิวหนัง สิ่งคัดหลั่ง สภาพแวดล้อมขณะเกิดเหตุ
๕. การรายงานผลและส่งต่อ โดยใช้เครื่องมือ SBAR (SBAR Tool)
S = situation แนะนำชื่อพยาบาลที่รายงานแพทย์ ชื่อหอผู้ป่วย ชื่อผู้ป่วย
B = Background อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน โรคประจำตัว การผ่าตัด
A = Assessment การประเมินที่พบ การพยาบาลและผลของการให้การพยาบาล
R = Recommendation ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาทางการพยาบาล
๖. ขณะที่อยู่ในสถานการณ์ผู้สอนควรสังเกตผู้เรียน หากพบผู้เรียนปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติในเวลาที่กำหนด ผู้สอนจะหยุด และถามคำถาม ยกตัวอย่างเช่น ทำไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygenmark หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ผู้สอนต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน หรือให้ไปหาความรู้มาตอบ และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา พยาบาลควรใช้คำถามที่ชี้นำหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive)
๗. สิ้นสุดการเรียนการสอนเมื่อผู้เรียนสามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยให้อาการดีขึ้นได้ หรือกรณีที่ผู้เรียนต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม
๘. กลุ่มสังเกตการณ์ (observe)ให้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก และมา de- brief ร่วมกัน
๓. ขั้นประเมินการเรียนรู้ (Debrief) (๓๐ นาที) ผู้เรียนได้ใช้เวลาที่จะบอกความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนคิดและตระหนักด้วยตนเองถึงวิธีการแก้ปัญหาการตัดสินใจที่เกิดขึ้น และวางแผนการพัฒนาตนเองในการที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติจริงตามบทบาทของพยาบาลและสามารถเชื่อมโยงการปฏิบัตินั้นไปหาเนื้อหาวิชาที่เรียน
ขั้นตอนการDebriefตามโมเดลของ Steinwachs(1992) แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ Descriptive Phase (การบรรยาย) : เป็นการสอบถามความรู้สึกของผู้เรียนต่อสถานการณ์ และความรู้สึกของตนเอง ซึ่งในขั้นนี้อาจให้ผู้เรียนในกลุ่มสังเกตการณ์ร่วมสะท้อนความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้เรียน
ระยะที่ ๒ Analysis Phase (การวิเคราะห์) : ผู้สอนจะสะท้อนผู้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ดี และส่วนที่ผู้เรียนบกพร่องจะไม่ตำหนิ แต่จะเน้นการให้กำลังใจ การเสริมแรงบวกให้ผู้เรียนวิเคราะห์ตามหลัก ๖PA (Phase Appoach)
Immediate Phase | การประเมินสถานการณ์ที่ได้รับ/โรคของผู้ป่วย |
Planning Phase | การวางแผนว่า ใครควรทำอะไร ตามบทบาทหน้าที่ที่มอบหมาย |
Assessment Phase | การประเมินสภาพ และการระบุปัญหา |
Action Phase | การลงมือปฏิบัติการพยาบาล เช่น การให้เลือด ให้ยา ฯลฯ |
Maintenance Phase | ให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และแสดงบทบาทในทีม เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจนถ้าผลการประเมินดีให้คงสภาพดังกล่าวไว้หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม |
Deterioration Phase | การประเมินผลการให้การช่วยเหลือ รวมถึงการโทรรายงานแพทย์ ตาม SBAR |
ระยะที่ ๓ Application Phase (การนำไปประยุกต์ใช้): การที่ผู้เรียนฝึกฝนจนเกิดความมั่นใจที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการปฏิบัติกับหุ่นเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และร่วมทำงานเป็นทีม จนกระทั่งผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกให้รับรู้ว่าจะนำไปใช้จริงอย่างไร
สรุปจากการประชุมการจัดทำหลักสูตรการอบรมSimulation Learningของสถาบันพระบรมราชชนก ๑๖-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
: นางวันดี แก้วแสงอ่อน (1923)