กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ

กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ
ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 10 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 11 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จ
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               การทำอย่างไรให้มีความสุขต้องเริ่มจากตนเองคิดดีทำดีประพฤติดี และเน้นในเรื่องของพลังที่มีอยู่ในร่างกายเรา สามารถที่จัดใช้กระดาษตัดตะเกียบได้โดยเราต้องมีสมาธิมั่นและตั้งใจทำแรง เร็ว สรุปคือหากเราคิดว่าทำไม่ได้เราก็จะทำไม่ได้ขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของเรา หากจิตของเราว่างเปล่าจะสามารถทำได้ และเรื่องของการฝึกปราณในร่างกายของเราคือ 1 .ต้องหายใจเข้าออกลึก ๆ และกลั้นเอาไว้สักครู่ทำซ้ำประมาณ 10ครั้ง 2.เกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วนประมาณ1นาที จากนั้นให้คลายกล้ามเนื้อทุกส่วน ให้เกร็งกล้ามเนื้อประมาณ5 ครั้งจากนั้นให้นอนสมาธิและผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากทำรู้สึกว่าเราได้ผ่อนคลายและได้พักทำให้รู้สึกสบายกายและสบายใจ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              นำการผ่อนคลายการได้ค้นพบต้วตนของเรามาใช้

(280)

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาชุดการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาชุดการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 22 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 24 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ โรงแรมเดอะริช
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาชุดการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               การจัดทำสื่อการเรียนการสอนบนเว็บต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาตามหัวข้อที่สอน โดยการแตกเป็นรายหัวข้อย่อย และคิดว่าเนื้อหาในส่วนไหนที่เราจะสอนทางเว็บและเน้นในเรื่องของการจัด กิจกรรมลงไปและทำลงบนโปรแกรม moodle


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการจัดทำสื่อการสอนบนเว็บ

(319)

การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1

การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1
ผู้บันทึก :  นางสาคร ฤทธิ์เต็ม
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 28 ก.พ. 2554   ถึงวันที่  : 4 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               วิทยากรบรรยายให้ความรุ้ โดย ดร.ชูศักดิ์ เตชะวิเศษ ตำแหน่งวิศกร ในวันแรกได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้การประกันคุณาพกา รศึกษาของ สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา) ,สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา), สบช.(สถาบันพระบรมราชชนก) สภาการพยาบาลและ TQF สบช.เทียบเท่า 1 สถาบัน แต่ละ วพบ.จะถูกประเมินเทียบเท่า 1 คณะ เกณฑ์มาตรฐานสู่การประเมิน ต้องมีร่องรอย หลักฐาน -วันที่ 1 มี.ค.2554 เรียนรู้ตัวบ่งชี้ สกอ.PI 5.1,5.2 พร้อม สมศ. สบช.สภาการพยาบาลละ TQF ที่เกี่ยวข้อง จากการเรียนรู้ได้รับทราบว่าตัวบ่งชี้ 5.1 เป็นระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม ซึ่ง สมศ.จะเน้นบริการสู่สังคม หรือผลงานระดับชาติ ส่วนตัวบ่งชี้ 5.2 เป็นกระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม รอบระยะเวลาการประเมินจะเป็นรอบปีการศึกษา คือ เริ่มจากมิถุนายน-พฤษภาคม ของปีถัดไป -วันที่ 2 มีนาคม 2554 ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเข้าใจในการนำสู่การปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ 2.8,6.1,3.1และ 3.2 วิทยากรได้ทำตารางวิเคราะห์การพัฒนาแต่ละด้านและมีการศึกษาความเป็นไปได้ ของตัวบ่งชี้แต่ละด้าน เช่นด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยใส่ตัวเลขจากการคาดคะเนย์ถึงความน่าจะเป็นไปได้ และเสนอแนะตัวบ่งชี้ที่จะทำให้สถาบันดำเนินผ่านการประเมินคุณภาพ จากตัวอย่างที่แจกวิทยากรแสนอแนะว่า ตัวที่น่าจะทำให้วิทยาลัยผ่านการประเมิน มีด้านบริการวิชาการแก่สังคม และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ถ้ามีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดี -วันที่ 3 มีนาคม 2554 วิทยากรได้อธิบายถึงตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ วิทยากรได้อธิบายถึง เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ 1.มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน ยึดระยะเวลาการประเมินเป็นรอบปีงบประมาณ แผนมี 2 อย่างคือ แผนกลยุทธ์ กับ แผนปฏิบัติการ การจัดทำแผนทางการเงิน ควรจัดทำแผน Cash inflow และ Cash outflow ก่อน แล้วจึงทำ Cash flow projection (ประมาณการหรือคาดการณ์การไหลเข้าออกของเงินสด โดสามารถดูได้จากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วนำมาทำนายผ่านแผน Cash inflow ประมาณการรายรับ เช่น ดูจากค่าลงทะเบียน(รายได้หลัก) เงินวิจัยภายนอก เงินที่ได้จากบริการวิชาการ ค่าธรรมเนียม ฯลฯ cash inflow จะเป็นตัวเลขทางด้านบวก สามารถทำได้ทุกสิ้นไตรมาส หรือสิ้นปีการศึกษา โดยระบุเม็ดเงินที่เข้ามา คำนึงถึงระยะเวลามาประกอบเป็นประมาณการผ่านแผน Cash outflow ประมาณการจ่าย สามารถดูได้จากรายงานทางการเงิน อาจจะทำเป็นแผน 1 ปี หรือมากกว่า ทางที่ดี ควรจะมีทั้งแผนระยะสั้น และระยะยาว ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งแผน ธ.ค.,มี.ค.,พ.ค.,มิ.ย.,ก.ย. 2.มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แนวทางการจัดหาเงิน เช่น ได้รับเงินจากงบประมาณ เงินอุดหนุน ค่าลงทะเบียน ฯลฯ ส่วนแนวทางการจัดสรร ต้องจัดสรรตามแผนกลยุทธ์ของสถาบัน การวางแผนการใช้เงิน เช่น ช่วงเดือนนี้ เดือนนั้นจะใช้เงินกี่เปอร์เซ็น ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ คือ ถูกต้องตามระเบียน ใช้เงินได้ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานตั้งไว้ 3.มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนา สถาบันและบุคลากร ควรเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างแผนที่ตั้งไว้ กับงบประมาณที่ได้รับโดยยึดแผนปฏิบัติการเป็นหลัก ควรแยกเป็นก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลังใช้ ควรจะออกมาเป็นเปอร์เซ็น ระหว่างปีสามารถวิเคราะห์แผนเพิ่มเติมได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการประมาณแผน คือต้นปีงบประมาณ ก.ค.,ส.ค. สิ้นไตรมาส ช่วงเปิดเทอม(มิ.ย.) ช่วงสิ้นสุดเทอม (พ.ค.) 4.มีการจัทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อสภาสถาบันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ข้อนี้จะเป็นตัวเลขจริง ซึ่งได้แก่รายงานประจำปี ประจำเดือน และมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เงินเข้าเงินออก ดีกว่าแผน หรือแย่กว่าแผนโดยวิเคราะห์แยกตามพันธกิจ หลัก ๆ เช่น ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาอาจารย์ต่อคน พัฒนานักศึกษาต่อคน(ดูจากงบด้านห้องสมุด,คอมพิวเตอร์) 5.มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง สามารถนำข้อ 4 และข้อ 5 มารวมกันได้ ซึ่งหลักฐานที่สามารถบ่งบอกได้ คือ ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารของสถาบัน 6.มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด ดูได้จากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทางการเงินชุดต่าง ๆ และรายงานการตรวจสอบของ สตง. หรือ สตน. ถ้าไม่มีหน่วยงานใดมาตรวจสอบ ต้องทำหนังสือเชิญให้มาตรวจสอบ 7.ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้วางแผนและการตัดสินใจ ข้อมูลที่การเงินเสนอผู้บริหารต้องเป็นข้อมูลการใช้จ่ายที่แยกตามพันธกิจ โครงการ อาจจะสรุปเป็นรายไตรมาสได้ สามารถดูหลักฐานได้จากบันทึกการประชุม


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการปฏิบัติงาน จัดทำรายงาน จัดทำแผน เสนอผู้บริหาร เพื่อให้ผ่านการประกันคุณภาพทั้งภายใน และภายนอก และสามารถควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(305)

การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริการวิชาการและศูนย์ศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 15 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 17 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ส่วนพัฒนาการศึกษา สบช.
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในแหล่งฝึก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
  วันที่บันทึก  20 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ พุธ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๕.๓๐ น. ประชุมเตรียมความพร้อม ปรับทีมตรวจเยี่ยม ณ.โรงแรมลีการ์เด็น พลาซ่า หาดใหญ่ ตกลงแนวทางและประชุมการตรวจเยี่ยม ประชุมกลุ่มทีมตรวจเยี่ยมแต่ละจังหวัด พฤหัสบดี ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๗.๐๐ น. เดินทางไปจังหวัดนราธิวาส ๐๙.๓๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลบาเจาะ  มีนักศึกษาทั้งหมด ๖๓ คน จากทั้งอำเภอ ๙๔ คน แบ่งไปฝึกที่ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ๓๑ คน  แบ่งฝึกที่ OPD ER ห้องคลอด+หลังคลอด ผู้ป่วยใน และเวชปฏิบัติครอบครัว จัดเวรเช้า-บ่าย-ดึก ยกเว้น เวชปฏิบัติครอบครัว  นักศึกษาเดินทางไปกลับ โรงพยาบาลจัดที่พักให้เฉพาะเวรบ่าย-ดึก  ระเบียบวินัย ส่วนใหญ่ดี มีส่วนน้อยที่ต้องตักเตือนเรื่องการมีสัมมาคารวะ  ด้านความรู้ ที่ต้องเพิ่มเติมคือ สรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยา นักศึกษาไม่สามารถอธิบายเชื่อมโยงได้  การใช้กระบวนการพยาบาล การระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลไม่เฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้บริการ การบันทึกใช้ภาษาพูด  ส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้น สนใจการฝึกดี  การสื่อสาร มีบางคนที่ลืมศัพท์ภาษายาวี  โรงพยาบาลจัดสอนเสริมความรู้ให้ ในช่วง ๒๘-๓๐ ธ.ค.๕๓ ๑๑.๓๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลตากใบ  มีนักศึกษาทั้งหมด ๖๑ คน  จัดให้ฝึกที่ OPD ER ห้องคลอด+หลังคลอด ผู้ป่วยใน และเวชปฏิบัติครอบครัว จัดเวรเช้า-บ่าย-ดึก ยกเว้น เวชปฏิบัติครอบครัว  วิชาการไม่แม่น เช่น ชื่อยา ความรู้เชิงทฤษฎีทางห้องคลอด  ทักษะน้อย เช่น การทำ touniquet test การหมุนแผ่นประจำเดือน การใช้syringe แก้ว  การนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติยังน้อย การบันทึกใช้ภาษาพูด  นักศึกษาไม่ค่อยกระตือรืนร้น ไม่ค่อยขอ case ไม่ส่งงาน ต้องตามต้องกระดุ้น  การสื่อสาร มีบางคนที่ลืมศัพท์ภาษายาวี  โรงพยาบาลจัดสอนเสริมความรู้ให้ ในช่วงสัปดาห์แรก และมีการเพิ่มเติมเป็นระยะๆ ๑๓.๓๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุไหงปาดี  มีนักศึกษาทั้งหมด ๗๖ คน จาก ๒๑ วิทยาลัย  แบ่งฝึกเป็น ๒ สาย คือสายที่ ๑ OPD+ ER +ผู้ป่วยใน และสายที่ ๒ ห้องคลอด+หลังคลอด+เวชปฏิบัติครอบครัว  นักศึกษาเดินทางไปกลับ โรงพยาบาลจัดที่พักให้เฉพาะเวรบ่าย-ดึก  ระเบียบวินัย ส่วนใหญ่ดี มีส่วนน้อยที่ต้องตักเตือนเรื่องการมีสัมมาคารวะ  ด้านความรู้ ส่วนใหญ่ค่อนข้างดี กระตือรือร้นที่จะค้นคว้า ที่ต้องเพิ่มเติมคือ การพยาบาลแบบองค์รวม การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน  การวางแผนการพยาบาล ต้องปรับปรุง การระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กิจกรรมการพยาบาลเขียนตามตำรา ไม่ได้ตามสภาพของผู้ใช้บริการ การบันทึกใช้ภาษาพูด  ส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้น สนใจการฝึกดี ตรงต่อเวลา มนุษยสัมพันธ์ดี  การสื่อสาร มีนักศึกษาบางคนที่ไม่สามารถพูด ฟังภาษายาวีได้  ปัญหาคือจำนวนนักศึกษามาก ผู้ใช้บริการน้อย  พี่เลี้ยงจัดสอนเสริมความรู้ให้เป็นช่วง ๆ และจัดให้มีพี่ที่ปรึกษาให้ ๑๖.๐๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  มีนักศึกษาทั้งหมด ๖๐ คน (มีนักศึกษารพ.ระแงะมาฝึกด้วย ๓๐ คน)  แบ่งฝึก ER OPD ICU กุมารเวชกรรม+คลินิกเด็กดี หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วย อายุรกรรมชาย หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย และห้องคลอด  โรงพยาบาลจัดที่พักให้ มีสอนเสริมทุกวันพุธบ่าย ตามสาย PCT  วิชาการค่อนข้างอ่อน  พฤติกรรมยังไม่พบปัญหา มีนักศึกษามารายงานตัวช้า ๑ วัน ๑ คน (วพบ.ชลบุรี)  ส่วนใหญ่มีความตั้งใจ และกระตือรือร้น แต่บางส่วนต้องตามงาน  นักศึกษามีความแตกต่างกัน ต้องพยายามให้คิดให้เป็น และรู้ว่าจะปรึกษาใครเมื่อมีปัญหา ๒๑.๐๐ น. เข้าที่พัก โรงแรมอิมพิเรียล อ.เมือง นราธิวาส ศุกร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๐๘.๐๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์  มีนักศึกษาทั้งหมด ๒๐๕ คน จาก ๒๕ วิทยาลัย  แบ่งฝึก ER OPD ICU กุมารเวชกรรม+คลินิกเด็กดี หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย และห้องคลอด  โรงพยาบาลจัดที่พักให้ มีสอนเสริมทุกวันพุธบ่าย ตามสาย PCT  ด้านวิชาการ การใช้กระบวนการพยาบาล การประเมินสภาพ การตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การพยาบาลตามปัญหา  ด้านทักษะ บางส่วนที่ต้องเพิ่มเติม เช่น การเลือกหลอดเลือดที่ให้สารน้ำ การฉีดยา การใช้เครื่องมือ การซักประวัติอาการสำคัญ การรักษาเบื้องต้น การประเมินสัญญาณชีพและการคำนวนยาในเด็ก การเขียนภาษาอังกฤษศัพท์ทางการแพทย์ การเขียนภาษาไทย  พฤติกรรม การตรงต่อเวลา มีน้ำใจ การแต่งกายเรียบร้อย พบมีปัญหาบางรายเช่น ไม่ตรงต่อเวลา ไม่ส่งงานตามกำหนด หลับเวร โทรศัพท์ขณะปฏิบัติงาน หลังตักเตือนไปยังไม่พบปัญหา ๑๑.๐๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลระแงะ  มีนักศึกษาทั้งหมด ๑๐๘ คน  แบ่งฝึก OPD+ ER ผู้ป่วยใน ๑ ผู้ป่วยใน ๒ ห้องคลอด+เวชปฏิบัติครอบครัว และหลังคลอด+เด็ก  โรงพยาบาลจัดที่พักให้ เฉพาะเวรบ่าย-ดึก มีสอนเสริม ๘ ชุดวิชา  ด้านวิชาการ ตอบคำถามได้ ความรู้ค่อนข้างดี  ด้านทักษะ บางส่วนที่ต้องเพิ่มเติม เช่น การใช้ภาษาพูดมาใช้ในการบันทึก  พฤติกรรม น่ารัก มีน้ำใจ การแต่งกายเรียบร้อย ส่งงานตรงเวลา พฤติกรรมบริการดี ปรับตัวได้ดี ๑๓.๓๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลรือเสาะ  มีนักศึกษาทั้งหมด ๖๕ คน ๒๓ วิทยาลัย  แบ่งฝึก OPD ER ผู้ป่วยในชาย ผู้ป่วยในหญิง ห้องคลอดและเวชปฏิบัติครอบครัว จัดเวรเช้า-บ่าย-ดึก  โรงพยาบาลจัดที่พักให้ เฉพาะเวรบ่าย-ดึก มีสอนเสริม ๘ ชุดวิชา  ด้านวิชาการ ตอบคำถามได้ ความรู้ค่อนข้างดี  ด้านทักษะ บางส่วนที่ต้องเพิ่มเติม เช่น การใช้ภาษาพูดมาใช้ในการบันทึก  พฤติกรรม การตรงต่อเวลาและมีสัมมาคารวะดี บางส่วนขาดกระตือรือร้นในการส่งงาน การขอ case ความมั่นใจในตนเอง ๑๕.๓๐ น. ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา  มีนักศึกษาทั้งหมด ๘๖ คน  แบ่งฝึกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่๑ OPD ER PCU และกลุ่มที่๒ IPD ANC EPI และFP  โรงพยาบาลจัดที่พักให้ เฉพาะเวรบ่าย-ดึก มีสอนเสริม ๘ ชุดวิชา  ด้านวิชาการ ควรเพิ่มเติมการใช้กระบวนการพยาบาล  ด้านทักษะ พื้นฐานค่อนข้างดี มีความกระตือรือร้นในการฝึกดี  พฤติกรรม ชื่นชม เคารพเชื่อฟัง ให้การยอมรับรุ่นพี่ รับผิดชอบ ๑๖.๑๕ น. เดินทางจากจ.นราธิวาส กลับ อ.หาดใหญ่


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนาหลักสูตร

(295)

การใช้ฐานข้อมูล ระบบการรับสมัคร และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข

การใช้ฐานข้อมูล ระบบการรับสมัคร และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
ผู้บันทึก :  นางสาวจุฑารัตน์ พลายด้วง
  กลุ่มงาน :  งานบริการวิชาการและศูนย์ศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 9 พ.ย. 2553   ถึงวันที่  : 9 พ.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กระทรวงสาธาณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การใช้ฐานข้อมูล ระบบการรับสมัคร และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  15 ก.พ. 2554


 รายละเอียด
               ๑ ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการประชุม ๑.๑ เนื้อหาสาระแนวทางการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยมีการระบบการรับสมัคร ๒ ระบบ คือระบบ รับตรงและรับกลาง ซึ่งกำหนดสัดส่วน ๔๐ : ๖๐ ประเภทโควตาและรายละเอียดในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันพระบรมราชชนก วิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ จะแบ่งกลุ่มบุคคลออกเป็นประเภทโควตาต่างๆ ๓ กลุ่ม จำนวน ๑๕ โควตา คือ ๑. กลุ่มทั่วไป มี ๑๐ ประเภทโควตา ดังนี้ ๑.๑ หลักสูตรต่างๆ โควตาบุคคลทั่วไป ๑.๒ หลักสูตรต่างๆ โควตามูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ๑.๓ หลักสูตรต่างๆ โควตาบุตรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๑.๔ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาบุตรนักเรียนทุนโครงการเสมาพัฒนาชีวิต / โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑.๕ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาโครงการผลิตพยาบาลเพื่อชุมชนจังหวัดขอนแก่น ๑.๖ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาโครงการความร่วมมือผลิตพยาบาลเพิ่มเพื่อ สาธารณสุข เขต ๙ ๑.๗ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาจากภาค อุตสาหกรรม เขตควบคุมมลพิษ ๑.๘ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาโครงการความร่วมือการผลิตพยาบาลสู่ระดับตำบลของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี ๑.๙ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) โควตาโครงการความร่วมือการผลิตเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขสู่ระดับตำบลของ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ๑.๑๐ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) โควตาโครงการความร่วมมือการผลิตทันตาภิบาลเพื่อแก้ปัญหาอนามัยช่องปากใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสตูล) ๒. กลุ่มโครงการพิเศษ มี ๑ ประเภทโควตา ดังนี้ ๒.๑ โควตาโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชานุเคราะห์ ๓. กลุ่มโครงการพิเศษ มี ๔ ประเภทโควตา ดังนี้ ๓.๑ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)โควตาสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ๓.๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)โควตาสำหรับพนักงานสุขภาพชุมชน พนักงานเยี่ยมบ้าน และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อนามัย/สาธารณสุข (พสช.) (ชื่อในระบบรับสมัคร คือ โควตา พสช.) ๓.๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) โควตาสำหรับผู้ช่วยทันตแพทย์ ๓.๔ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาสำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน แนวทางการปฏิบัติของวิทยาลัยในการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆ ของสถาบัน พระบรมราชชนก เพื่อให้กระบวนการรับบุคคลเข้าศึกษามีความรวดเร็ว ถูกต้องและทันเวลาที่กำหนด ทางสถาบันจึงขอให้วิทยาลัยต่างๆ รีบดำเนินการ ทาง สบช. ได้ขยายเวลาการรับสมัครจากเดิม วันที่ ๑-๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เป็นวันที่ ๑-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ แทน ส่วนวิธีการรับกลาง ยังคงเหมือนเดิม คือวันที่ ๑-๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ (หากมีการเปลี่ยนปฏิทินการรับสมัครต่างๆ สบช. จะประกาศทาง Website อีกครั้งหนึ่ง) ขั้นตอนการทำงานของระบบรับสมัครฯ การบันทึกผลในระบบ – ผลการมา / ไม่ สัมภาษณ์ – ผลการตรวจสอบคุณสมบัติการสมัคร ผ่าน / ไม่ผ่าน – ผลการตรวจร่างกาย ผ่าน / ไม่ผ่าน – ผลการชำระเงินค่าเล่าเรียนล่วงหน้า – การแจ้งสละสิทธิ์รับตรง ไปรับกลางแทน แนวทางการสัมภาษณ์ ทาง สบช. แนะนำ คือ – ตรวจสอบคุณสมบัติให้ชัดเจน ทั้งคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติทางการศึกษา คะแนน GAT, PAT๒ – จัดระบบตรวจสอบให้รัดกุม (เซนต์ชื่อรับการสัมภาษณ์) เมื่อการรับสมัครเสร็จสิ้นแล้ว ทาง สบช. จะส่งเลข ๑๓ หลัก ของผู้สมัครให้กับ สมศ. เพื่อ ตรวจสอบ คะแนน GAT, PAT๒ และรายชื่อของผู้สมัครว่าถูกต้องหรือไม่ จากนั้นส่งผลกลับไปยัง สบช. เพื่อจะดำเนินการประกาศรายชื่อให้กับผู้สมัครตรวจสอบ และยืนยันอีกครั้งหนึ่ง หากผู้สมัครมีข้อสงสัยให้สอบถามทาง ส่วนกลางได้ทันที ถ้าเด็กไม่ยืนยัน ทาง สบช. จะเป็นผู้ยืนยันให้เองตามอัตโนมัติ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ทาง สบช. จะส่งรายชื่อให้วิทยาลัยต่างๆ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย (ตัวจริง) จากนั้น วิทยาลัยจะดำเนินการสอบสัมภาษณ์ / ยืนยัน / ส่งรายงานผลการสัมภาษณ์ให้กับทาง สบช. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา (หากการคัดเลือกในระบบรับตรงไม่ได้ตามโควตาที่กำหนด ให้ปรับเป็นโควตาในระบบรับกลางได้ตามความเหมาะสม) ๑.๒ สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ ในด้าน วิชาการ งานทะเบียนวัดและประเมินผลการศึกษา


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้าน วิชาการ งานทะเบียนวัดและประเมินผลการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               ด้าน วิชาการ งานทะเบียนวัดและประเมินผลการศึกษา

(335)