ประชุมวิชาการมหกรรมเครือข่ายนวัตกร ระบบหลักประกันสุขภาพอีสานตอนบน: นักสุขภาพครอบครัว หมอประจำตัวทุกครัวเรือน

ประชุมวิชาการมหกรรมเครือข่ายนวัตกร ระบบหลักประกันสุขภาพอีสานตอนบน: นักสุขภาพครอบครัว หมอประจำตัวทุกครัวเรือน
ผู้บันทึก :  นางสาวนภาวรรณ วิริยะศิริกุล และนางพิมพวรรณ เรืองพุทธ
  กลุ่มงาน :  งานบริการวิชาการและศูนย์ศึกษา
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 16 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 17 พ.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  อุดรธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมวิชาการมหกรรมเครือข่ายนวัตกร ระบบหลักประกันสุขภาพอีสานตอนบน: นักสุขภาพครอบครัว หมอประจำตัวทุกครัวเรือน
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด

ใน การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีแนวคิดดังนี้ จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่มีการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขในระดับปฐม ภูมิที่มุ่งพัฒนาบริการสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถได้รับบริการพื้นฐานอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ระบบบริการสุขภาพจึงควรเป็นระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการ ที่มีหลักการ และให้บริการที่ครอบคลุม ทั้งคุณภาพเชิงสังคม และเชิงเทคนิค เน้นการบริการปฐมภูมิ ที่คอบคลุมและผสมผสาน ด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค และฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งมีการดูแลต่อเนื่อง เมื่อนักสุขภาพครอบครัวดูแลประชากรอย่างจริงจัง ทำให้มีวิธีการทำงาน และนวัตกรรมหลากหลายเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นในการประชุมวิชาการครั้งนี้ จึงเป็นเวทีสำหรับนักสุขภาพครอบครัว นำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ไม่ว่าเป็นงานวิขาการ หรือนวัตกรรมมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของทีมสุขภาพ มีการแบ่งกลุ่มจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานเด่น และการจัดแสดงผลงาน good practice ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพเขตอีสานตอนบน     

นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของระบบสาธารณสุข ตั้งแต่แรกเริ่มของการเป็นสุขศาลา จนกลายเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน

นอก จากนี้มีการปาฐกถาโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในหัวข้อ พลังแห่งการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนประเทศไทยกับการประกันสุขภาพของ ประชาชน

มี การบรรยายของ นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับนักสุขภาพครอบครัว ตลอดจนร่วมเรียนรู้การเยียวยาผู้คนที่ทุกข์ยากจากโรคร้าย โดย พระอาจารย์ปพนพัชร์ จิรธัมโม เจ้าอาวาสวัดคำประมง จ.สกลนคร

วันที่สองของการประชุม มีการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ๗ เรื่อง ดังนี้ ๑) child care

      ๒) antenatal care

      ๓) non-communicable disease

      ๔) disability

      ๕) old age care

      ๖) เครือข่ายเภสัชกรรมชุมชนอีสานตอนบน และ

      ๗) R2R varity อีสานตอนบน และสามารถเลือกเข้าฟังตามความสนใจ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

นำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการ และพัฒนาหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

 

 


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

              พัฒนาความรู้ด้านการคิด จากการได้เยี่ยมชมการนำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนคนภาคใต้ต่อไป

 

(326)

Comments are closed.