นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาณโรงแรมแอมบาสซ-เดอร์

นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาณโรงแรมแอมบาสซ-เดอร์
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 ธ.ค. 2556   ถึงวันที่  : 1 ธ.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  มูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาณโรงแรมแอมบาสซ-เดอร์
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556


 รายละเอียด
จากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาผู้ได้รับทุนการศึกษารู้จักความ

กตัญญู กตเวทีต่อผู้ที่ให้ทุนการศึกษา ซึ่งการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีนั้นสิ่งแรกที่สามารถแสดงคือ การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน การประพฤติดี คบบัณฑิต ไม่คบคนพาล ซึ่งในยุคปัจจุบัน จะเห็นแต่คนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม จึงให้นักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนให้มีความตระหนักและนำไปปฎิบัติใช้ในชีวิต ประจำวันให้ติดเป็นนิจ ส่งผลให้นักศึกษาหรือบัณฑิตมีแต่ความสุขความเจริญ

                                ใน การเข้าร่วมรับทุนครั้งนี้มีการประชุมความก้าวหน้าด้านความระบาดของอาเซียน นั้นก็คือในวิชาชีพพยาบาลก็เป็นวิชาชีพหนึ่งที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ ความสามารถที่เป็นวิชาชีพเฉพาะท่พัฒนาทางด้านภาษา และเป็นวิชาชีพที่มีคุณภาพทางด้านการพยาบาลติดอันดับต้นๆที่ในกลุ่มอาเซียน ต้องการ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเทศต่างๆเกี่ยวกับทางการพยาบาล ซึ่งในอนาคต มีแนวโน้มว่าวิชาชีพพยาบาลจะขาดแคลน ขนาดในประเทศยังขาดแคลน ต่อไปยิ่งขาดแคลนมากขึ้น ดังนั้นในฐานะที่เป็นนักศึกษาพยาบาลต้องพัฒนาความรู้ทั้งทางด้านวิชาชีพ ทางด้านภาษา คุณภาพทางด้านบริการให้ติดตัวอยู่เสมอ เพราะมีโอกาสที่พยาบาลวิชาชีพ พัฒนาไปทำงานที่ประเทศที่มีค่าครองชีพต่อพยาบาลสูง และสามารถเลือกปฏิบัติตามสมรรถนะ และตามความสามารถของตนในต่อไปได้และที่สำคัญต้องมีความเพียรพยายามอย่างต่อ เนื่องและสม่ำเสมอ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำมาพัฒนางานทุนการศึกษา

(322)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  เมื่อวันที่ : 24 มิ.ย. 2555   ถึงวันที่  : 29 มิ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  10 ต.ค. 2555


 รายละเอียด
จากการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรฯ  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบัณฑิตก่อนเข้าพิธีฯ ควรจะมีการชี้แจงให้บัณฑิตทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติต่างๆ เช่น

๑) การแต่งกายชุดนักศึกษาใต้ชุดครุย  ไม่ควรมีคลิบดำหนีบเข็มขัด/ป้ายชื่อ/เข็มเครื่องหมาย/สร้อยคอ  รวมทั้งสายสิญจน์/นาฬิกา/แหวน  

๒) ทรงผม ไม่ทำสีผม บัณฑิตหญิงควรเก็บผมด้านหลังให้เรียบร้อย ใช้กิ๊บสีดำเท่านั้น   ไม่ต้องเกล้าผมสูง/ทำทรงที่ยุ่งยาก เนื่องจากต้องใส่หมวก  บัณฑิตชายควรตัดผมสั้น 

๓) ควรตัดเล็บให้สั้น 

๔) รองเท้า  บัณฑิตหญิงสวมรองเท้าคัทชูหนังสีดำ ไม่มีลวดลาย/โลหะ สูงไม่เกิน ๒ นิ้ว ไม่ได้ทำจากหนังแก้ว/หนังกลับ/ผ้ากำมะหยี่  และควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย

๕) ควรฝึกซ้อมการถวายความเคารพ และการเอางาน ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเน้นย้ำให้ก้าวเท้าให้ถึงจุด/ตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้

๖) เมื่อบัณฑิตรับเสื้อครุย และหมวกแล้ว ควรตรวจสอบว่า มีอุปกรณ์ครบถ้วนหรือไม่ และควรเก็บรักษาให้ดีเมื่อสิ้นสุดการซ้อมรับ  เนื่องจากมีบัณฑิตทำพู่ห้อยหมวกหาย

๗) การยึดพู่หมวก ควรใช้กิ๊บดำ ไม่ใช้กิ๊บสีอื่นๆ/สก็อตเทป

๘) ย้ำเตือนบัณฑิตในการรักษาเวลา ต้องมาถึงก่อนเวลานัด และควรเผื่อเวลาในการเดินทางด้วย

๙) อาจารย์ที่เข้าร่วม  ควรมี ๒-๓ คนที่ไม่ต้องทำหน้าที่ใดๆ ในวันรับจริง เนื่องจากต้องช่วยกันตรวจเช็คความเรียบร้อยของบัณฑิต  เดินนำแถว และต้องยืนรออยู่หน้า Gate  เผื่อว่าเมื่อบัณฑิตเดินผ่าน Gate แล้วมีเสียงเตือน ต้องมีการตรวจค้นร่างกายบัณฑิตว่ามีวัตถุแปลกปลอมอะไร รวมถึงต้องรับฝากสิ่งของที่ค้นเจอจากบัณฑิต  ในขณะเดียวกันต้องไปหลังเวทีเพื่อแจ้งยอดบัณฑิตที่เข้ารับ ตรวจสอบความ ครบถ้วนของปริญญาบัตร และหากมีบัณฑิตไม่มา  ต้องดึงใบปริญญาออกมาเก็บรักษาด้วย

๑๐) การเตรียมแฟ้มรายชื่อบัณฑิตให้ผู้อำนวยการขานชื่อ  ควรทำให้สะดวก ง่ายต่อ การเปิด เช่น การพับมุม ทำลิ้น  หากบัณฑิตมีจำนวนมาก  ในหนึ่งหน้ากระดาษอาจแบ่งเป็น ๒ คอลัมน์ จะได้ไม่ต้องพลิกเปิดบ่อย  ทั้งนี้  ควรจะนำเสนอให้ผู้อำนวยการพิจารณาก่อนก็ได้ว่าอย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
 

การเตรียมความพร้อมของบัณฑิต


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(312)

ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยภาคใต้

ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยภาคใต้
ผู้บันทึก :  นางสาวอุษา จันทร์แย้ม
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 12 ก.ย. 2554   ถึงวันที่  : 13 ก.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยภาคใต้
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด
ด้านเนื้อหาสาระ

“การ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา” นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งต้องคำนึงถึงในการจัดการศึกษาทุกครั้ง

ลักษณะของจริยธรรม

- หลักการของแต่ละคนในการตัดสินใจการกระทำของผู้อื่น (moral judgment)

- ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการของจริยธรรมและการตัดสินใจของแต่ละบุคคลก่อนการกระทำ (individual moral)

- หลักการสากลที่บุคคลทั่วไปยึดถือ และใช้ในการกระทำการต่างๆ (universal principal)

- ทัศนะในการดำรงชีวิต ทั้งขอตนเองและสังคม ได้มาจากบุคคลที่เป็นแบบอย่าง หรือเป็นอุดมคติของสังคม (role model)

ตาม ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ก่อเกิดจากจิตใจที่มีลักษณะทางจิตใจที่ส่งผลให้กระทำ พฤติกรรมดีได้อย่างมั่นคง คือ สติปัญญา การมีประสบการณ์ทางสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการหยั่งลึกทางสังคม และการมีสุขภาพจิตดี ซึ่งมีสาเหตุทางจิตใจ ๕ ด้าน ประกอบด้วย

๑)      ทัศนคติ คุณธรรม ค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดี

๒)      เจตนาก่อนการกระทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (เหตุผลเชิงจริยธรรม)

๓)      ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตนให้รู้จักอดได้ รอได้อย่างเหมาะสม

๔)      ความเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว (ความเชื่ออำนาจในตน)

๕)      ความมานะบากบั่นฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย (แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์)

การพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ออกดอก

ผล งดงามได้ต้องประกอบด้วยรากและลำต้นซึ่งสมบูรณ์แข็งแรงเป็นรากฐานเสียก่อน เป็นไปตามทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม แสดงลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา (ดวงเดือน  พันธุมนาวิน. ๒๕๔๓)

 

วิถีทางในการพัฒนาจริยธรรม

๑.      การ ศึกษาเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าร่วมประชุมสัมมนา และการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต การเรียนรู้จากประสบการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน

๒.      การวิเคราะห์ตนเอง เช่น การรับฟังความเห็นเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับความคิด และการค้นหาความรรู้จากแหล่งต่างๆ

๓.      การฝึกตน เช่น การฝึกวินัยพื้นฐาน การรักษษศีลตามความเชื่อทางศาสนา การทำสมาธิ และฝึกการเป็นผู้ให้

คุณสมบัติของผู้ที่พร้อมจะพัฒนา ก็คือ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิต และหลักจริยธรรม, ความใฝ่ธรรม และความรู้จักตนเองของบุคคลนั้น

 

วิธีการพัฒนาจริยธรรมผ่านการศึกษา ก็คือ

Input

-          การคัดเลือกและพัฒนานักศึกษา

-          การคัดเลือกและพัฒนาอาจารย์ : การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นแบบอย่าง role model และการสอนจริยศาสตร์

Process

-          วัตถุประสงค์

-          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : บรรยาย อภิปรายกลุ่มย่อย role play กิจกรรมนอกสถานที่ ในหลักสูตร นอกหลักสูตร/เสริมหลักสูตร

-          การประเมินผล

Output

-          ผลการประเมินบัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิต

 

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
มีความสามารถในการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดกับนักศึกษาทุกคน

 

(364)

QA & ASEAN community

QA & ASEAN community
บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 ก.พ. 2556   ถึงวันที่  : 27 ก.พ. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  QA & ASEAN community
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน  โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ  ท่าม กลางกระแสประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๘ สถาบันอุดมศึกษาควรที่จะสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อม จากค่านิยมหลักของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การบ่มเพาะคนดีมีความสามารถ สร้างองค์ความรู้และมีความเข้มแข็งทางวิชาการ รับใช้สังคม และสร้างบัณฑิตที่มีความสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย ซึ่งความสากลนั้นหมายถึง ความสามารถทาง IT และทักษะภาษา  ความเป็นไทยคือ ความมีน้ำใจ มีจิตอาสา  บัณฑิตต้องรับรู้ถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น: การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การก้าวสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มข้นขึ้น  บัณฑิตต้องมีทักษะแห่งอนาคต การเข้าถึงแหล่งข้อมูล การเรียนรู้ด้วยตนเอง  เนื่องจากประเทศไทยประกาศตัวว่าจะเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในอาเซียน (Medical hub of ASEAN) และพยาบาล เป็น ๑ ใน ๘ อาชีพแรกที่เปิดเสรีในประชาคมอาเซียน ดังนั้น เราจึงควรที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น สถาบันอุดมศึกษาควรมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ได้แก่

ด้านการเรียนการสอน: การเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ IT การสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ การพัฒนาสมรรถนะในการทำงานข้ามวัฒนธรรม รอบรู้เกี่ยวกับอาเซียน มีโลกทัศน์เป็นสากล เป็นต้น

ด้านการวิจัย: การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน  บูรณาการงานวิจัยเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม

ด้านการพัฒนาบุคลากร: พัฒนา อาจารย์และบุคลากรให้มีสมรรถนะสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานในอาเซียน จัดทำโครงการเรียนรู้ร่วมกัน

ด้านการพัฒนานักศึกษา: พัฒนา นักศึกษาให้มีสมรรถนะสากลบนพื้นฐานความเป็นไทยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน นักศึกษา จัดโปรแกรมให้นักศึกษาดูงาน/ฝึกงาน/ทัศนศึกษาในประชาคมอาเซียน กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักรู้และสนใจความเคลื่อนไหวด้านต่างๆในประชาคมอา เซียน

ด้านวิเทศสัมพันธ์: สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นสากล การแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือในอาเซียนเพิ่มขึ้น

ประเด็นการสร้างคนรุ่นใหม่ในอนาคต (21st Century Skills) “สอนให้น้อยลง เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ และลงมือทำให้มากขึ้น” ให้บัณฑิตมีความสามารถในการปรับตัวในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง  มีพลังความคิด ภาวะผู้นำ และมีทัศนคติที่ดี ตระหนักในวัฒนธรรมของชาติ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี  และการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

การจัดการเรียนการสอนแบบ creativity โดย รศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี  ใช้หลักของ SCAMPER model ประกอบด้วย Substitute: สิ่งที่มาทดแทน  Combine: รวมกันเพื่อเกิดสิ่งใหม่ Adapt: ปรับให้เหมาะ โดยโครงสร้างไม่ปรับเปลี่ยน Modify: เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมให้ดีขึ้น Put to another purpose: นำกลับไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น Eliminate: ลดความซับซ้อน แล้วทำให้ดีขึ้น Reverse: การจัดลำดับใหม่ การเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนฝึกในสถานการณ์จริง

AUN – QA  โดย รศ.ดำรง ทวีแสงสกุลไทย  ย่อมาจาก ASEAN University Networkเป็น การประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษาของอาเซียน มีสำนักงานกลางตั้งอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ๔ มหาวิทยาลัยของไทยเป็นสมาชิก ได้แก่  จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งการประเมินเป็น ๓ ชนิดได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับระบบการประกันภายใน และระดับสถาบัน ซึ่งในแนวทางในการประเมินระดับหลักสูตรประกอบด้วย ๑๕ เกณฑ์ ๖๘ ตัวบ่งชี้ เป็นระดับที่มีการขอประเมินมากที่สุด  ระบบการให้คะแนนแบ่งเป็น ๑-๗  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.aunsec.org


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การ เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การสอนนักศึกษาให้เปิดใจกว้างในการรับการเปลี่ยนแปลง รู้เขารู้เรา ยืดหยุ่นตามบริบท การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม

(365)

นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา

นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  นำนักศึกษาเข้ารับทุน
  เมื่อวันที่ : 8 ธ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 11 ธ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  มูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  นำนักศึกษาเข้ารับทุนมูลนิธิท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา
  วันที่บันทึก  10 ม.ค. 2555


 รายละเอียด
                             จากการนำนักศึกษาเข้ารับ ทุนการศึกษาในครั้งนี้สิ่งที่ต้องเตรียมนักศึกษาเนื่องจากนักศึกษากลุ่มใหม่ ที่เข้ารับทุนการศึกษาหลังจากที่ได้รับหนังสือแล้วจะประชาสัมพันธ์กับนัก ศึกษาที่ได้รับทุน เกี่ยวกับการแต่งกายในวันรับทุนโดยใส่ชุดสูทของวิทยาลัย รองเท้าคัดชูสีดำ ใส่เน็ตติดผมสีดำเรียบร้อย การเตรียมอุปกรณ์เอกสารต่างๆที่ต้องเตรียมให้กับทุนการศึกษา เช่น ผลการเรียน ใบรับรองความประพฤติ และใบรับรองสภาพเป็นนักศึกษา การเตรียมตัวก่อนเดินทาง เช่น ถ้าวันที่เดินทางและวันที่รับทุนมีการเรียนการสอนให้นักศึกษาติดต่ออาจารย์ ผู้สอน อาจารย์ประจำชั้นให้เสร็จให้เรียบร้อยก่อนวันเดินทางอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาจะดำเนินการส่งนังสือตอบรับถึง สบช.

จาก การไปรับทุนสิ่งที่คาดว่าจะได้รับคือประวัติจากการทำงานของท่านผู้หญิงดุษฎี มาลาเป็นผู้หญิงที่เก่งมากๆๆทำงานรับใช้ใต้ฝ่าพระบาทมาตลอด ด้วยความจงรักภักดี และท่านไม่เคยเรียกร้องหรือบอกต่อผู้อื่นว่าเป็นผลงานของตน แต่จะประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนที่ร่วมงานนั้นเป็นเจ้าของชิ้นงานตามที่ท่าน วิทยากรมาบรรยายให้ทราบเกี่ยวกับการบุกเบิกในโครงการช่วยเหลือประชาชนกลุ่ม โรคเรื้อน เป็นต้น ฟังแล้วท่านผู้หญิงทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องติดทองหลังพระ เป็นผู้นำที่รอบคอบและละเอียดอ่อนในการปฏิบัติงาน

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีความประพฤติดีมีคุณธรรมจริยธรรม

อย่างต่อเนื่อง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(444)