QA & ASEAN community

QA & ASEAN community
บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 ก.พ. 2556   ถึงวันที่  : 27 ก.พ. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  QA & ASEAN community
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน  โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ  ท่าม กลางกระแสประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๘ สถาบันอุดมศึกษาควรที่จะสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อม จากค่านิยมหลักของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การบ่มเพาะคนดีมีความสามารถ สร้างองค์ความรู้และมีความเข้มแข็งทางวิชาการ รับใช้สังคม และสร้างบัณฑิตที่มีความสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย ซึ่งความสากลนั้นหมายถึง ความสามารถทาง IT และทักษะภาษา  ความเป็นไทยคือ ความมีน้ำใจ มีจิตอาสา  บัณฑิตต้องรับรู้ถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น: การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การก้าวสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มข้นขึ้น  บัณฑิตต้องมีทักษะแห่งอนาคต การเข้าถึงแหล่งข้อมูล การเรียนรู้ด้วยตนเอง  เนื่องจากประเทศไทยประกาศตัวว่าจะเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในอาเซียน (Medical hub of ASEAN) และพยาบาล เป็น ๑ ใน ๘ อาชีพแรกที่เปิดเสรีในประชาคมอาเซียน ดังนั้น เราจึงควรที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น สถาบันอุดมศึกษาควรมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ได้แก่

ด้านการเรียนการสอน: การเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ IT การสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ การพัฒนาสมรรถนะในการทำงานข้ามวัฒนธรรม รอบรู้เกี่ยวกับอาเซียน มีโลกทัศน์เป็นสากล เป็นต้น

ด้านการวิจัย: การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน  บูรณาการงานวิจัยเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม

ด้านการพัฒนาบุคลากร: พัฒนา อาจารย์และบุคลากรให้มีสมรรถนะสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานในอาเซียน จัดทำโครงการเรียนรู้ร่วมกัน

ด้านการพัฒนานักศึกษา: พัฒนา นักศึกษาให้มีสมรรถนะสากลบนพื้นฐานความเป็นไทยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน นักศึกษา จัดโปรแกรมให้นักศึกษาดูงาน/ฝึกงาน/ทัศนศึกษาในประชาคมอาเซียน กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักรู้และสนใจความเคลื่อนไหวด้านต่างๆในประชาคมอา เซียน

ด้านวิเทศสัมพันธ์: สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นสากล การแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือในอาเซียนเพิ่มขึ้น

ประเด็นการสร้างคนรุ่นใหม่ในอนาคต (21st Century Skills) “สอนให้น้อยลง เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ และลงมือทำให้มากขึ้น” ให้บัณฑิตมีความสามารถในการปรับตัวในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง  มีพลังความคิด ภาวะผู้นำ และมีทัศนคติที่ดี ตระหนักในวัฒนธรรมของชาติ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี  และการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

การจัดการเรียนการสอนแบบ creativity โดย รศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี  ใช้หลักของ SCAMPER model ประกอบด้วย Substitute: สิ่งที่มาทดแทน  Combine: รวมกันเพื่อเกิดสิ่งใหม่ Adapt: ปรับให้เหมาะ โดยโครงสร้างไม่ปรับเปลี่ยน Modify: เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมให้ดีขึ้น Put to another purpose: นำกลับไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น Eliminate: ลดความซับซ้อน แล้วทำให้ดีขึ้น Reverse: การจัดลำดับใหม่ การเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนฝึกในสถานการณ์จริง

AUN – QA  โดย รศ.ดำรง ทวีแสงสกุลไทย  ย่อมาจาก ASEAN University Networkเป็น การประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษาของอาเซียน มีสำนักงานกลางตั้งอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ๔ มหาวิทยาลัยของไทยเป็นสมาชิก ได้แก่  จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งการประเมินเป็น ๓ ชนิดได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับระบบการประกันภายใน และระดับสถาบัน ซึ่งในแนวทางในการประเมินระดับหลักสูตรประกอบด้วย ๑๕ เกณฑ์ ๖๘ ตัวบ่งชี้ เป็นระดับที่มีการขอประเมินมากที่สุด  ระบบการให้คะแนนแบ่งเป็น ๑-๗  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.aunsec.org


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การ เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การสอนนักศึกษาให้เปิดใจกว้างในการรับการเปลี่ยนแปลง รู้เขารู้เรา ยืดหยุ่นตามบริบท การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม

(366)

Comments are closed.