ผู้บันทึก : นางสาวอุษา จันทร์แย้ม | |
กลุ่มงาน : งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 12 ก.ย. 2554 ถึงวันที่ : 13 ก.ย. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ | |
จังหวัด : สงขลา | |
เรื่อง/หลักสูตร : ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไปของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยภาคใต้ | |
วันที่บันทึก 19 มิ.ย. 2555 | |
|
|
รายละเอียด | |
ด้านเนื้อหาสาระ
“การ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา” นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งต้องคำนึงถึงในการจัดการศึกษาทุกครั้ง ลักษณะของจริยธรรม - หลักการของแต่ละคนในการตัดสินใจการกระทำของผู้อื่น (moral judgment) - ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการของจริยธรรมและการตัดสินใจของแต่ละบุคคลก่อนการกระทำ (individual moral) - หลักการสากลที่บุคคลทั่วไปยึดถือ และใช้ในการกระทำการต่างๆ (universal principal) - ทัศนะในการดำรงชีวิต ทั้งขอตนเองและสังคม ได้มาจากบุคคลที่เป็นแบบอย่าง หรือเป็นอุดมคติของสังคม (role model) ตาม ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ก่อเกิดจากจิตใจที่มีลักษณะทางจิตใจที่ส่งผลให้กระทำ พฤติกรรมดีได้อย่างมั่นคง คือ สติปัญญา การมีประสบการณ์ทางสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการหยั่งลึกทางสังคม และการมีสุขภาพจิตดี ซึ่งมีสาเหตุทางจิตใจ ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ทัศนคติ คุณธรรม ค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดี ๒) เจตนาก่อนการกระทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (เหตุผลเชิงจริยธรรม) ๓) ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตนให้รู้จักอดได้ รอได้อย่างเหมาะสม ๔) ความเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว (ความเชื่ออำนาจในตน) ๕) ความมานะบากบั่นฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย (แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์) การพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ออกดอก ผล งดงามได้ต้องประกอบด้วยรากและลำต้นซึ่งสมบูรณ์แข็งแรงเป็นรากฐานเสียก่อน เป็นไปตามทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม แสดงลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา (ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ๒๕๔๓)
วิถีทางในการพัฒนาจริยธรรม ๑. การ ศึกษาเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าร่วมประชุมสัมมนา และการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต การเรียนรู้จากประสบการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน ๒. การวิเคราะห์ตนเอง เช่น การรับฟังความเห็นเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับความคิด และการค้นหาความรรู้จากแหล่งต่างๆ ๓. การฝึกตน เช่น การฝึกวินัยพื้นฐาน การรักษษศีลตามความเชื่อทางศาสนา การทำสมาธิ และฝึกการเป็นผู้ให้ คุณสมบัติของผู้ที่พร้อมจะพัฒนา ก็คือ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิต และหลักจริยธรรม, ความใฝ่ธรรม และความรู้จักตนเองของบุคคลนั้น
วิธีการพัฒนาจริยธรรมผ่านการศึกษา ก็คือ Input - การคัดเลือกและพัฒนานักศึกษา - การคัดเลือกและพัฒนาอาจารย์ : การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นแบบอย่าง role model และการสอนจริยศาสตร์ Process - วัตถุประสงค์ - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : บรรยาย อภิปรายกลุ่มย่อย role play กิจกรรมนอกสถานที่ ในหลักสูตร นอกหลักสูตร/เสริมหลักสูตร - การประเมินผล Output - ผลการประเมินบัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิต
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
มีความสามารถในการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาโดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดกับนักศึกษาทุกคน
|
(365)