การประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน

การประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน
ผู้บันทึก :  นางนิศารัตน์ นรสิงห์
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ก.ย. 2554   ถึงวันที่  : 24 ก.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  แก้วกัลยาสิกขาลัย
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน
  วันที่บันทึก  6 ธ.ค. 2554


 รายละเอียด
ได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราชที่ผ่านมา ทั้งปีที่ 1 และปีที่ 2  และได้เรียนรู้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน ของวิทยาลัยต่าง ๆ อีก17 วิทยาลัย ซึ่งพบว่า มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกันในหลาย ๆ วิทยาลัย ตั้งแต่การสร้างครอบครัว โครงสร้างของครอบครัว ตลอดจนรูปแบบของกิจกรรม แต่มีบางวิทยาลัยที่มีการดำเนินการจากภายนอก คือ การทำกิจกรรมในชุมชน และนำสมาชิกในวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งทุก ๆ วิทยาลัยที่ได้ดำเนินการ มีเป้าหมายร่วมกัน คือ พัฒนาการจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งยังคงต้องอาศัยการผลักดันทั้งจากทุกคนในวิทยาลัย ผู้บริหาร และจากส่วนกลาง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การดำเนินโครงการภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ในปีต่อไป


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
- การทำงานเป็นทีม

- การมุ่งมั่นผลสัมฤทธิ์

(286)

พัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

พัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
 ผู้บันทึก :  นายวินิจฉัย นินทรกิจ
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 มี.ค. 2556   ถึงวันที่  : 22 มี.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  พัฒนาบุคลากรผู้ดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556


 รายละเอียด
ความ รู้ในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศ ทั้งศึกษาแนวโน้มของเทคโนโลยี รูปแบบการโจมตีแบบต่างๆ เช่น การโจมตี Web Application ฯลฯ รวมถึงศึกษาวิธีการป้องกันการโจมตีขั้นพื้นฐาน และทราบถึงนโยบายและการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ รวมถึงมาตรการบริหารความเสี่ยงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวคือความเสี่ยง (Risk) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของข้อจำกัด (Constraint) และความไม่แน่นอน (Uncertainly) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เป็น การปฏิบัติการควบคุมความเสียง ซึ่งจะประกอบด้วยการวางแผนความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ การพัฒนาทางเลือกในการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบความเสียงว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

1. การสร้างความปลอดภัยทางกายภาพ ป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวรซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบสารสนเทศ

2. การป้องกันและแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง

3. การสร้างความปลอดภัยให้กับระบบปฏิบัติการ เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานความปลอดภัยและลดความเสียงจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์

4. การสร้างความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานความปลอดภัยและลดความเสียงจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์

5. การป้องกันการบุกรุกและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

6. การพัฒนานโยบายการใช้งานระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์

7. สร้างความตระหนักให้กับผู้ใช้งานระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เห็นความจำเป็นของการรักษาความปลอดภัย

8. การฟื้นฟูระบบ / ข้อมูลจากความเสียหาย (Recovery) อันเกิดจากการหยุดทำงานของการประมวลผลโปรแกรม (Hang) หรือไฟดับ

9. การสำรองข้อมูล (Back up) เพื่อลดความเสี่ยงจากที่อาจเกิดกับข้อมูล หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ทำลายข้อมูล

10. การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ (Contingency Plan) ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
 ศึกษาและปรับปรุงระบบสารสนเทศภายในวิทยาลัยฯ ให้เป็นไปตามมาตรการบริหารความเสี่ยงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

(290)

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง
ผู้บันทึก :  นางจรรยา ศรีมีชัย
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 24 เม.ย. 2554   ถึงวันที่  : 3 มิ.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  ตรัง
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง
  วันที่บันทึก  26 ก.ย. 2554


 รายละเอียด
การอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลางเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ทักษะและสมรรถนะทางการบริหารงานในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ได้ ใช้ความสามารถในความหลากหลายของทีมงานในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และเป็นเครือข่ายการทำงานในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นผู้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีเหมาะสมบทบาทหน้าที่ผู้บริหาร

                   กระบวน การอบรม ได้เรียนรู้กระบวนการกลุ่ม การทำงานเป็นทีม กระบวนการวิเคราะห์งานด้วยการใช้ตัวปัญหาเป็นตัวกระตุ้นการคิด ค้นคว้าหาความรู้มาแก้ปัญหา และประยุกต์ความรู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค PBL ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ ต้องใช้ Head Hart Hand ไป พร้อมๆกัน ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้การทำงานอย่างมีความสุขของอาจารย์ทิดบ้วน บางประหม้า ที่กล่าวว่า “คนเรามีสุขอยู่ที่การคิด คิดบวกเมื่อคิดบวกทุกอย่างมีทางออก ด้วยพลังเชื่อมั่นที่ต้องสร้างให้ตนเองว่าต้องทำได้ก็เป็นไปตามแรงเชื่อมั่น และในการปฏิบัติต้องอาศัย Heart Head Hand Health and Happy จึงเกิดสมดุลและชีวิต มีสุข  มี หลักปฏิบัติที่สำคัญเริ่มโดยการทบทวนตัวเองวิเคราะห์ตนเองยอมรับ นำมาซึ่งการพัฒนาตนให้ดีที่สุด พัฒนางาน วิเคราะห์งานให้ออกหาแนวทางปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติ (จริง) การปฏิบัติเมื่อเจอปัญหาคือตัวทำให้เราแข็งแกร่ง

สาระความรู้เกี่ยวข้องกับการบริหาร

                   1.บุคลิกภาพผู้นำ แต่งกายสะอาดเรียนร้อย ประณีต รสนิยมดีเหมาะสมกับตำแหน่ง กาละ

เทศะ มีสติ มีความมั่นใจ ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีสติ มีความรู้ความสามารถมีมารยาทดี สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

          2.ระเบียบวินัยคุณธรรมและกฎหมายสำหรับผู้บริหารเพราะผู้บริหารต้องสั่งการให้ชอบ

ด้วยกฎหมายและระเบียบด้วยความเป็นธรรมจึงจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงพอใจ ผู้บริหารไม่เสี่ยง

3.การบริหารความเสี่ยงเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ

กฤษฎีกาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นส่วนช่วยให้งานบรรลุเป้าประสงค์ ผลงานขององค์กร                           มี ประสิทธิภาพ โดยทุกคนในองค์กรมีหน้าที่บริหารความเสี่ยง (ตามฐานะ) กระบวนการบริหารความเสี่ยง เริ่มโดยการกำหนดเป้าประสงค์ของการต้องการบรรลุ และเข้าสู่กระบวนการ คือ 1) การระบุความเสี่ยง 2) ประเมินความเสี่ยง 3) การจัดการกับความเสี่ยงและ4) การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

                    4.การ บริหารความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นการต่อสู้เพื่อแข่งขันระหว่างความคิดความเห็น ความสนใจหรือผลประโยชน์ การบริหารความขัดแย้งผู้บริหารต้องหาวิธีการจัดการอย่างไรเพื่อให้ทั้งสอง ฝ่ายเป็นผู้ชนะทั้งคู่ โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปในสถานการณ์ก็จะทำให้การบริหารความขัดแย้งได้ผล

                    5.กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ (การวางแผนกลยุทธ์) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน

                             1) การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ – วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรภายใน ภายนอก

วิเคราะห์ขีดความสามารถในการให้บริการ – วิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับริการ

2)    การกำหนดยุทธศาสตร์ นำผลวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ มากำหนดวิสัยทัศน์ และ

ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการทำ SWOT matrix จัดลำดับความสำคัญประเด็นยุทธศาสตร์โดยวิเคราะห์ GAP Analysis

                             3) นำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ กำหนดเป้าประสงค์

                             4) การติดตามประเมินผลกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัดผลงานและแผนงานโครงการเพื่อรองรับแต่ละเป้าประสงค์

                    6. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA: public sector management quality award) เกณฑ์ที่ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการบูรณาการระบบภายในองค์กรอย่างมีองค์รวมเพื่อให้

บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายและมีทิศทางการทำงานร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำงาน ประกอบด้วย                  7 หมวด 11 หลักคิด

11 หลักคิด (Core Values) เพื่อพัฒนาองค์กร

1.การนำองค์กร   ผู้นำต้องนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ นำด้วย ศรัทธา และ ปัญญา ทุกคน

ต้องร่วมกันกำหนดค่านิยมร่วมทั้งองค์กรแล้วนำไปปฏิบัติ

2.ความรับผิดชอบต่อสังคม การดำเนินการต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีการ

ปฏิบัติภายใต้กฎหมายกำหนดและต้องทำงานอย่างมีกลยุทธ์

3.การให้ความสำคัญกับพนักงานและคู่ค้า เพื่อกำหนดการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม

4.ความเป็นเลิศมุ่งเน้นลูกค้า เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ต้องทราบปัญหาหรือสิ่งที่คาดหวัง

ของลูกค้า

5.การมุ่งเน้นอนาคต  โดยการทำอย่างไรให้องค์กรมีความยั่งยืน เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ

6.ความคล่องตัว   ผู้นำจะต้องมีการกระจายอำนาจ   มีการปรับปรุงการทำงานอย่าง

ต่อเนื่อง   ต้องสามารถทำงานทดแทนกันได้

7.การเรียนรู้ขององค์กรและแต่ละบุคคล ผู้นำต้องมีการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

และต่อเนื่อง เช่นการจัดระบบการจัดการความรู้  (KM)  หรือ การทำ Management Review  ซึ่งผู้นำต้องมีการทบทวนการบริหารงาน  วางนโยบายและต้องยอมรับกับผลลัพธ์ที่ได้

8.การจัดการเพื่อนวัตกรรม   เนื่องจากมีการเกิดปัญหาใหม่ขึ้นอยู่เสมอและลูกค้ามีความ

คาดหวังในบริการที่สูงขึ้น   องค์กรจึงต้องมีการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

9.การจัดการโดยการใช้ข้อมูลจริง   ต้องคิดจากพื้นฐานของข้อมูลที่เท็จจริงมาดำเนินการ

และข้อมูลที่ได้หรือเก็บไว้ต้องไวต่อการนำมาแก้ไขปรับปรุง

10.การมุ่งเน้นผลลัพธ์และการสร้างคุณค่าในระบบคุณภาพ   ผลลัพธ์และกระบวนการ

ต้องมีความสำคัญเท่าๆกัน   ต้องมีความเชื่อว่าถ้าผลลัพธ์ดี   กระบวนการดี   คุณภาพก็จะยั่งยืน

11.มุมมองเชิงระบบ ต้องสอนให้บุคลากรมีมุมมองเชิงระบบ มีการมองแบบ Bird’s Eye

View คือการมองให้กว้างและทำให้แคบ ต้องมองให้ถึงภาคีเครือข่าย และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดูแลสุขภาพ

7 หมวดของ PMQA

หมวดที่  1 การนำองค์กร  

                             1.1การนำองค์กรภายใน   มีการกำหนดทิศทาง การกำกับดูแลที่ดี   มีการทบทวนผลการดำเนินการ เน้นหน้าที่และบทบาทของผู้นำซึ่งต้องเป็นผู้ ชี้ และ นำ ผู้นำต้อง ใช้ใจนำทำเยอะๆ   และทำให้เป็นแบบอย่าง

1.2 การนำองค์กรภายนอก :ความรับผิดชอบต่อสังคม   ต้ององค์กรให้ดีกว่าที่กฎหมายกำหนดคือดำเนินการอย่างมีจริยธรรม   มีการสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญและต้องรู้ว่าความคาดหวังของชุมชนคืออะไร

หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์

                             2.1 กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์

                             2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์หลักไปปฏิบัติ เน้น การทำแผนจะต้องสอดคล้องกับนโยบายและ ทิศทางของหน่วยที่อยู่เหนือองค์กรด้วยและต้องมีการติดตามประเมินแผน ถ้างานสำเร็จองค์กรต้องมีการพัฒนาต่อ ถ้ามีจุดอ่อนต้องกำจัดออก   ถ้ามี จุดแข็ง และโอกาส ต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                             3.1ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   ต้องมีการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   มีการรับฟังและการเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการ

3.2ความสัมพันธ์และพึงพอใจของผู้รับบริการ จะต้องสร้างความสัมพันธ์เพื่อสนองความคาดหวังและสร้างความประทับใจ

หมวดที่ 4 การวัดวิเคราะห์และจัดการความรู้

4.1 การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของส่วนราชการมีการรวบรวมข้อมูลให้

สอดคล้องเพื่อการติดตามผลการดำเนินงานและเพื่อการตัดสินใจ   ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงและจะต้องมีการ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

4.2 การจัดการสารสนเทศและความรู้   การจัดเก็บข้อมูลต้องมีการรวบรวมไว้อย่างเป็น

ระบบ มีการเข้าถึงข้ออย่างง่ายและสะดวกต่อการนำข้อมูลมาใช้งาน

หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

5.1 ระบบงาน  การจัดและบริหารงาน กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล

การจ้างงาน

5.2 การเรียนรู้ของบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ

5.3 ความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจ

ของบุคลากร  ต้องมีการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน   มีการสนับสนุนให้เกิดความพึงพอใจ

หมวด6 การจัดการกระบวนการ

6.1 กระบวนการที่สร้างคุณค่า ควรมีการกำหนดว่าอะไรคือกระบวนการหลักในองค์กรเพื่อ

ตอบพันธกิจขององค์กร

6.2 กระบวนการสนับสนุน ควรเป็นกระบวนการที่สนับสนุนกระบวนการหลักขององค์กร

เช่น  HR   IT  งานการเงิน เป็นต้น

หมวด7 ผลลัพธ์การดำเนินการ จะต้องมีการนำผล KPI มาประเมิน 4 ด้านดังนี้ มิติด้านประสิทธิผล

มิติด้านคุณภาพบริการ   มิติด้านประสิทธิภาพ   มิติด้านการพัฒนาองค์กร

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
นำผลไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารงาน

ด้านการพัฒนานักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(350)

นำนักศึกษารับรางวัลความประพฤติดีจากพุทธสมาคม

นำนักศึกษารับรางวัลความประพฤติดีจากพุทธสมาคม
ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  งานปกครอง สวัสดิการ และแนะแนว
  ฝ่าย :  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  นำนักศึกษาไปรับรางวัล
  เมื่อวันที่ : 22 พ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 25 พ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  นำนักศึกษารับรางวัลความประพฤติดีจากพุทธสมาคม
  วันที่บันทึก  29 มิ.ย. 2554


 รายละเอียด
จากการนำนักศึกษาไปรับรางวัลความประพฤติดีจากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็น

รางวัลที่น่าภาคภูมิใจสำหรับนักศึกษาครอบครัวและวิทยาลัยพยาบาลซึ่งเป็นรางวัลซึ่งสะท้อนในประเด็น

การประพฤติตัวที่ดีที่มาของการได้รับรางวัลนั้นได้จากการคัดเลือกนักศึกษาโดยอาจารย์กำหนดพฤติกรรม

ดังต่อไปนี้ 1.นับถือพระพุทธศาสนา 2.ช่วยเหลือเพื่อนๆและกิจกรรมของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

3.เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนๆในเรื่องของความประพฤติดี  4.ไม่เคยปฏิบัติผิดกฏระเบียบของวิทยาลัย

5.สอบผ่านธรรมศึกษาชั้นตรีหรือโทหรือเอกจากการกำหนดคุณสมบัติแล้วให้นักศึกษาแต่ละชั้นปีคัดเลือก

เพื่อนตามคุณสมบัติชั้นปีละ 3 รางวัล และเข้าคณะกรรมการอาจารย์พิจารณานักศึกษาโดยคัดเลือกนักศึกษา

ออกมาจำนวน 5 คน ส่งรายชื่อพร้อมใบรับรองคุณสมบัติทั้ง 5 ข้อ จากอาจารย์แต่ละฝ่ายให้กับพุทธสมาคม

แห่งประเทศไทย และพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยแจ้งรายชื่อนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกนักศึกษาที่ได้รับ

การคัดเลือก คือนางสาวกาญจนา มีหมื่นพล นักศึกษาพยาบาลศาตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3

จากการนำนักศึกษาเข้ารัลรางวัลในปีนี้เห็นกระบวนการในการฝึกซ้อมตั้งแต่การเริ่มขึ้นเวที การทำความเคารพชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์  และการรับรางวัลซึ่งเป็นเข็มรางวัลความประพฤติดี

และกิตติบัตรจากพุทธสมาคม

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม

อย่างต่อเนื่อง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(384)

ระชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖

ระชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖
 ผู้บันทึก :  นางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์ และ นางจิราภรณ์ กาญจนะ
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 12 มี.ค. 2556   ถึงวันที่  : 12 มี.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมโครงการปัจฉิมนิเทศข้าราชการเกษียณอายุราชการ ประจำปี ๒๕๕๖
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ                 ๑.ความรู้เรื่อง เกษียณอย่างไรให้เกษม

                             -การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

                             -การปฏิบัติตัวในผู้สูงอายุ

                    ๒.ความรู้เรื่องธรรมชาติบำบัดเพื่อสุขกายวัยเกษียณ

                             -โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

                             -ผลของการออกกำลังกายต่อระบบต่างๆในร่างกาย

                             -ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อผู้สูงอายุ

                             -ผลร้ายของการขาดการออกกำลังกาย

                             -หลักปฏิบัติในการออกกำลังกาย(ฝึกฝนร่างกาย)วิธีต่างๆของผู้สูงอายุ

                     ๓.ความรู้เรื่องสวัสดิการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์

                             -สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุราชการ

                             -กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (กบข.)

                             -การทำนิติกรรมสัญญา

                             -กองมาดก

                             -ครอบครองปรปักษ์เป็นอย่างไร

                             -ค่าตอบแทนในรูปของสวัสดิการและผลประโยชน์อื่นๆ

                             -การได้รับเงินช่วยเหลือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร

                             -การได้รับเงินช่วยเหลือสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

                             -เงินช่วยเหลือค่าครองชีพข้าราชการบำนาญ (ช.ค.บ.)

                             -เงินช่วยเหลือในกรณีที่ข้าราชการบำนาญถึงแก่กรรม

                             -บัตรประจำตัวข้าราชการบำเหน็จบำนาญ

                              -หนังสือสำคัญแสดงการมีชีวิต

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพ และ

การเรียนการสอนรายวิชา จิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงอายุ และ วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

(277)