ผู้บันทึก : นางสาวอมรา ภิญโญ | |
กลุ่มงาน : งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : นิเทศงานราชการสาธารณสุขระดับเขต | |
เมื่อวันที่ : 6 ก.ย. 2553 ถึงวันที่ : 8 ก.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานสาธารณสุขเขต 6 | |
จังหวัด : มุกดาหาร | |
เรื่อง/หลักสูตร : รายงานผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวง รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2553 | |
วันที่บันทึก 29 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้กำหนดไว้ 3 ภารกิจ 4 ประเด็นหลัก 13 หัวข้อ 21 ตัวชี้วัด ซึ่งในส่วนของเขตตรวจราชการที่ 6 ได้ดำเนินการตรวจราชการและนิเทศงานฯ รอบที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2553 ผลจากการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2553 เขต 6 พบว่า คณะที่ 1 การติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนและการตรวจราชการแบบบูรณาการ การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับเป้าหมายการดำเนินการ รพ.สต. เป็นอำเภอละ 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 122 แห่ง ใน 4 จังหวัด และจากการประเมิน พบว่าในภาพรวมเขต 6 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 91.80 ซึ่ง จากการตรวจราชการในครั้งนี้ พบว่าทุกจังหวัดในเขต 6 ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะในรอบที่ 1 อย่างครบถ้วนทุกจังหวัด คือ การจัดตั้ง คณะกรรมการ รพ.สต.ทุกระดับ ทั้งระดับจังหวัด / อำเภอ และตำบล แต่ก็ยังพบปัญหาอุปสรรค ในเรื่องการขาดแคลนของบุคลากร, การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำป้ายชื่อ รพ.สต. เป็นต้น ได้มีข้อเสนอแนะ 1. ให้มีการจัดทำแผนแม่บทที่ครอบคลุมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และบริบทของพื้นที่โดยสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดแผนให้ครอบคลุมทุกระดับ พร้อมทั้งควบคุมกำกับให้เป็นไปตามแผน คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ระดับจังหวัด พบว่าทุกจังหวัด ยังไม่มีการจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัดโดยมีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วม เป็นคณะกรรมการและจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการระดับจังหวัดอย่างชัดเจนเป็น รูปธรรม แต่ในทุกจังหวัดสามารถบูรณาการ การให้บริการทุกระดับไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และ Excellenc เข้ากันได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดชุมพร ซึ่งใช้ระบบ One CUP ทำให้การเข้าถึงบริการของประชาชนเป็นไปได้อย่างสะดวกขีดความสามารถการบริการ ของเขตอยู่ในระดับสูง เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถพัฒนา Excellenc ในระดับสูงได้หลายประเภท คือ หัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุ ไต ทารกแรกเกิด หลอดเลือดสมองในแง่คุณภาพของสถานบริการในภาพรวมเขต หลายแห่งต้องเร่งพัฒนาให้ได้รับการรับรอง HA ระดับ 3 ในขณะที่หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มาตรฐานการบริการของห้องปฏิบัติการและการพยาบาลอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาส่วนใหญ่ในระดับเขต คือ การขาดแคลนกำลังคนด้านการแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมถึงอาคารสถานที่เก่า และการขาดแคลนครุภัณฑ์ ยกตัวอย่าง เครื่องช่วยหายใจ ซึ่ง มีข้อเสนอให้เขตต้องกระตุ้นให้เกิดแผนบูรณาการการบริการที่เป็นรูปธรรม และสนับสนุนกำลังคน อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ส่วนการดำเนินงานพัฒนาระบบส่งต่อในภาพรวมยังมีการปฏิเสธการส่งต่อในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิเสธการส่งต่อผู้ป่วยในเขต และข้ามเขตยังมีอัตราการถูกปฏิเสธในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากข้อมูลการส่งต่อไม่ชัดเจน และพบว่าข้อมูลการส่งกลับไปรักษาต่อเนื่อง ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน การจัดตั้ง Call Center เริ่มดำเนินการในทุกจังหวัดการเชื่อมข้อมูลโดยแพทย์คุยกับแพทย์ โดยประชุมสายจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบที่ดี และมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจที่ดีในการส่งต่อ แต่การจัดทำข้อมูล realtime online ยังไม่ปรากฎ และพบว่าการกำหนดแนวทางการไขปัญหาร่วมกันในระดับเขตยังไม่ ชัดเจน สำหรับค่า CMI พบว่ามีค่าสูงขึ้นกว่าในรอบที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามในระดับโรงพยาบาล ชุมชนของเขต พบว่ายังมีค่า CMI ที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการบริการน้อยกว่าที่ควรส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป ต้องรับภาระในการบริการมากขึ้น สำหรับการดำเนินการ ของศูนย์ แจ้งเหตุ พบว่าทุกจังหวัดมีการดำเนินงานที่ชัดเจนแล้วทุกจังหวัดแต่ที่ยังพบปัญหาคือ ยังไม่สามารถจัดหาหน่วยบริการให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่เพราะ อบต. หลายพื้นที่ยังไม่มีหน่วยบริการและไม่สามารถจัดหาหน่วยบริการมาให้บริการ ได้มีข้อเสนอแนะ คือ 1. ในระดับเขต ควรมี Service plan ที่ชัดเจน เพื่อให้จังหวัดสามารถวางแผนพัฒนาสอดคล้อง และเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ ในเครือข่ายเขตได้ง่าย 2. วางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิควรมีการประเมินสมรรถนะ ของบุคลากรก่อน เพื่อการพัฒนาตามส่วนขาดที่แท้จริง 3. จัดทำ Service plan ของหน่วยบริการที่มีการเชื่อมโยงกันทั้ง 4 ระดับ ควรจัดทำในระดับจังหวัด และนำเข้าบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด และพัฒนาระบบส่งต่อทุกจังหวัดคือให้สร้างความเข้มแข็งของ Call center แต่ละแห่งโดยการสนับสนุนกำลังคนและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เต็มที่ และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นร่วมกันทั้งในระดับจังหวัด และระดับเขตอย่างสม่ำเสมอ คณะที่ 3 การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การขับเคลื่อนและบูรณาการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในภาพรวมระดับ จังหวัด พบว่าจังหวัดมีการดำเนินงานที่เน้นบูรณาการ มาตรฐานหลักเกณฑ์ รูปแบบและกลไกการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม รักษาและฟื้นฟูโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากส่วนกลางลงสู่ระดับปฏิบัติในแต่ละ อำเภอและตำบล โดยดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกจังหวัดให้ความสำคัญประกาศเป็นนโยบายหลัก ในเชิงปริมาณเพิ่มขึ้นแต่ ยังพบประเด็นปัญหาการอ่านผลเซลล์ล่าช้า เนื่องจากข้อจำกัดของบุคลากรของรัฐอ่านผล การป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพาหะ ทุกจังหวัดมีแผนบูรณาการด้านอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด โดยมีหลายหน่วยงานร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง จากผลการวิเคราะห์กลุ่มเสี่ยง พบว่าผลิตภัณฑ์น้ำแข็งและน้ำบริโภคฯ เส้นก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน ทุกจังหวัดมีทีม SRRT ครอบคลุมทุกอำเภอ แต่จากผลการประเมินตนเองพบว่าส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การดูแลสุขภาพมารดาและทารก พบว่าการตายของมารดามี แนวโน้ม ลดลง ไม่เกินเกณฑ์ ส่วนทารกตายปริกำเนิด ยังพบเกินเกณฑ์อีกเล็กน้อยในบางจังหวัด การดูแลสุขภาพในกลุ่มเยาวชนและยังพบวัยรุ่นมีปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุน้อยกว่า 20 ปีเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดใน เขต 6 1. จัดให้มีกลไกบูรณาการแผนงานระหว่างกลุ่มงานต่างๆ ในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องตลอดจนประสานบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้เป็นระบบ 2. มีการประเมินผลหลังอบรม และการประเมินมาตรฐานทีม SRRT จังหวัดจึงควรมีการติดตาม / ชี้แนะ และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพทีม SRRT 3. มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงควรมีการแก้ปัญหาในเชิงรุกเพื่อ แก้วิกฤต ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น การสร้างความรู้ความตระหนักในสถานศึกษา การใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่น ฯลฯ รวมถึงการติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง จะช่วยให้รูปแบบการดำเนินงานชัดเจนขึ้น คณะที่ 4 การบริหารจัดการระบบสุขภาพ มีปัญหาการขาดสภาพคล่องในทุกจังหวัดของบางสถานบริการ โดยเฉพาะ รพ. ที่มีปัญหาต่อเนื่องในการตรวจฯ รอบที่ 1 นอกจากนี้พบว่า ความเข้มข้นการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล การแก้ไขปัญหาหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ของแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน และหน่วยบริการหลายแห่งมี ข้อมูลที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ หรือเกินเกณฑ์ที่เกินกำหนด หรือมีบางรายการที่ผิดปกติ การบริหารจัดการเวชภัณฑ์ พบว่าตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด คือ การจัดซื้อยาจากองค์กรเภสัชกรรมของโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป มีผ่านเกณฑ์ทุกระดับ คือจังหวัดพัทลุง มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร สายวิชาชีพ ทั้งนี้เนื่องจาก การผลิตบุคลากรไม่เพียงพอ มีปัญหาการกระจุกตัวของข้าราชการในพื้นที่เขตอำเภอเมืองและ ใกล้เคียง รวมถึงการลาออกของข้าราชการในปีงบประมาณ 2553 จำนวนมากโดยเฉพาะสาขาแพทย์และ ทันตแพทย์ และรวมถึงการสูญเสียบุคลากรบางตำแหน่งที่ต้องถูกยุบตำแหน่ง / สงวนตำแหน่ง ทำให้ไม่สามารถหาบุคคลมาทดแทนได้ และประการสำคัญคือการไม่ได้รับบรรจุแต่งตั้งของนักเรียนทุนในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและลูกจ้างอื่นๆ เนื่องด้วยการจัดสรรตำแหน่งมีจำนวนจำกัด ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ความพึงพอใจในระบบการทำงาน พบว่า บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพึงพอใจสูงสุดร้อยละ 65.69 รองลงมาจังหวัด สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 65.34 จังหวัดพัทลุง 63.28 และจังหวัดชุมพร 61.42 ตามลำดับ การเข้าร่วมดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลในภาพรวมเขต 6 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในรอบที่ 1 และพบว่า จังหวัดที่กองทุนมีการจัดทำแผนปฏิบัติการสอดคล้องกับแผนบูรณาการสุขภาพระดับ จังหวัด สูงสุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 100 รองลงมาจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 99.23 จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 42 และจังหวัดชุมพร ร้อยละ 14 ตามลำดับ แต่ยังพบปัญหา กองทุนฯบางแห่งจัดสรรเงินให้สถานบริการ และองค์กรชุมชนล่าช้าหรือไม่ต่อเนื่อง ได้มีข้อเสนอแนะ คือ 1. คณะ CEO อำเภอ จังหวัดควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การลงบัญชี วิเคราะห์ ข้อมูลที่เป็นปัญหา และนำเสนอผู้บริหารเพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจเชิงบริหารอย่างต่อเนื่อง 2. รายการยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิต แต่ทางโรงพยาบาลไม่ได้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรมซึ่งอาจจะมีสาเหตุต่างๆ เช่น ปัญหาคุณภาพยา หรือราคายาขององค์การเภสัชกรรมราคาสูงกว่าผู้ผลิตยารายอื่น ควรแจ้งข้อมูลให้องค์การเภสัชกรรมรับทราบด้วย เพื่อองค์การเภสัชกรรมจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป 3. ประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฎ ในการผลิตบุคลากรที่ขาดแคลน และให้บริหารจัดการในระบบเครือข่ายภายในจังหวัดโดยบูรณาการใช้ทรัพยากรร่วม กันในการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน 4. นำเรื่องกองทุนสุขภาพตำบลเข้าสู่เวทีประชุมประจำเดือนของสำนักงานท้องถิ่น จังหวัดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับผู้บริหารท้องถิ่น
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
– การนิเทศงานด้านสาธารณสุข
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
- การนิเทศงานด้านสาธารณสุข |
(419)