พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)

พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
ผู้บันทึก :  นางขวัญธิดา พิมพการ และคณะ
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนาบุคลากร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 30 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 31 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554

 รายละเอียด
การประชุมวิชาการ เรื่อง พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางและสามารถพัฒนาสมรรถนะแห่งตนสำหรับการเป็น APN และการมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ   ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ- ความสำเร็จในงานผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

* การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาซับซ้อนที่จำเป็นต้องใช้วิธีจัดการดูแลที่แตกต่างไปจากวิธีการใช้กันอยู่

* ความ มุ่งมั่น ทุ่มเท ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พยายามแสวงหาผู้สนับสนุน ที่ปรึกษา แสวงหาความรู้ใหม่ๆ หลักฐานเชิงประจักษ์ใหม่ๆ และมีการนำมาใช้ ที่สำคัญคือต้องประเมินผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงตลอดเวลา

* เข้าใจบทบาทและสมรรถนะของ APN มีแนวทางในการพัฒนาตนเอง

*ปฏิบัติ direct care จน เป็นที่ยอมรับในฝีมือและความแม่นยำ รู้จริง รู้สึกเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนรู้ทุกแง่มุมของระบบบริการสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายของตนเอง

* เป็น ผู้มีความคิดเป็นระบบ มองสถานการณ์เชิงระบบสามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของระบบการดูแล ไม่ยึดติดการทำงานเฉพาะงานในหอผู้ป่วยของตน แต่ทำงานเชื่อมโยงการดูแลในทุกๆ จุดหรือทุกหน่วยบริการแม้กระทั่งที่บ้านและในชุมชน และใช้หลายกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน

* มี ความสามารถในการประเมินผลลัพธ์ และสามารถดึงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้อื่นเห็นได้ สามารถหาช่องทางในการแสดงผลงานและผลลัพธ์ มีความกล้าแสดงตัวตนด้วยผลงานและผลลัพธ์

*  การ เป็นคนดี คนมีน้ำใจอยากช่วยเหลือผู้อื่น อยากช่วยผู้ป่วยและครอบครัวให้พ้นทุกข์ ทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง เสียสละ ให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงานทุกระดับและทุกฝ่าย

                    – ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและการจัดการผลลัพธ์ในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป้าหมายของการบริการสุขภาพ ต้องมีความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้สูงสุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการรักษา

- PMHN Practice ในระบบบริการสุขภาพยุคความรู้ คุณภาพ และความเท่าเทียม ซึ่งขอบเขตและสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประกอบด้วย ๙ สมรรถนะ

สมรรถนะที่๑ มีความสามารถในการพัฒนา จัดการ และกำกับระบบการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรค

สมรรถนะที่๒ มีความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน

สมรรถนะที่๓ มีความสามารถในการประสานงาน

สมรรถนะที่๔ มีความสามารถในการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสอน การฝึก การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ

สมรรถนะที่๕ มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มที่ตนเองเชี่ยวชาญ

สมรรถนะที่๖ มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

สมรรถนะที่๗ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

สมรรถนะที่๘ มีความสามารถในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

สมรรถนะที่๙ มีความสามารถในการจัดการ และประเมินผลลัพธ์

- Adult and geriatric PMHNP การพัฒนาบทบาท APN ซึ่ง การประเมินภาวะสุขภาพ คลอบคลุมกาย จิต สังคม จิตวิญญาณ มีการใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อบอกความรุนแรงของอาการ และการประเมินผลลัพธ์ของการให้การพยาบาล การเลือกใช้เครื่องมือนั้นต้องพิจารณาว่ามีความเที่ยงตรงที่เชื่อถือได้

- Child and adolescent PMHNP การ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ควรศึกษาร่วมกับแหล่งทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิตที่ปรากฏอยู่ในตัวของทุกคน และเป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อตัวผู้ป่วย เช่น บิดามารดา ผู้ดูแล เป็นต้น

- PMHNP: Professional practice and ethical reasoning การ ตัดสินใจเชิงจริยธรรม เป็นกระบวนการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ที่นำเอาขั้นตอนในการวิเคราะห์คุณค่าและความเชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแนวคิดทางจริยธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม เพื่อบอกว่าสิ่งใดควรทำ-ไม่ควรทำ ถูก-ไม่ถูก

- Evidence-based PMHNP ทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิพากษ์งานวิจัย เน้นความเหมาะสม คุ้มค่า

- PMHNP: Change agent and case management, APN  จะต้องมี Intervention เน้นการพยาบาล Direct care ที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติเองอย่างเฉพาะเจาะจงกับเป้าหมาย และเป็นต้นแบบในการเป็นเจ้าของ Intervention นั้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ประยุกต์ใช้ในการบริการวิชาการและพัฒนาบุคลากร ในฐานะพยาบาลวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเฉพาะทาง (APN)

(2005)

Comments are closed.