สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข

สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข
ผู้บันทึก :  นางสาวมัลลี อุตตมางกูร และนางกอปรภรณ์ อัมพรพันธ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลและอนามัยชุมชน
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 28 เม.ย. 2554   ถึงวันที่  : 29 เม.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะสาธารณสุขศาสตร์
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  สัมนาภาวะวิกฤตและผลกระทบต่อสุขภาพ: ความท้าทายในงานสาธารณสุข
  วันที่บันทึก  18 พ.ค. 2554


 รายละเอียด
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ

ภาวะวิกฤตในโลกเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องเผชิญ ซึ่งมีประเด็นที่เด่นชัด คือ

1. โรคอุบัติใหม่

2. โรคอุบัติซ้ำ

3. ภาวะวิกิฤตเศรษฐกิจ

4. ความมั่นคงทางอาหาร

           ซึ่งทั้ง 4 ประเด็นมีความเชื่อมโยงกันและกัน   โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ  อัตราป่วยยังไม่ลดลง การรักษาพยาบาลมีความซับซ้อนมากขึ้น  ใน 30 ปีที่ ผ่านมาพบเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำเป็นจำนวนมากกว่า 30 เชื้อ  ซึ่งเกิดจากมีสารเคมีต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมส่งผลให้นิเวศวิทยาไม่สมดุล  การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง   เชื้อไม่เคยก่อโรคกลับเปลี่ยนแปลงมาเป็นเชื้อก่อโรคได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคที่คงอยู่ในสัตว์ กลับมาก่อโรคในคน  เช่น โรคไข้หวัดนก โคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  เป็นต้น    จากภาวะโรคร้อนเกิดการระบาดของมาลาเรียในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิด  เช่น ภูฎาน   โรคไข้เลือดออกพบในหลากหลายประเทศมากขึ้น  เช่นเดียวกับโรคที่นำด้วยแมลง

               ภาวะวิกฤตเศษรฐกิจเกิดทั่วโลก  ได้รับผลกระทบที่ประเทศพัฒนาแล้ว  ประเทศกำลังพัฒนา   ประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือประเทศยากจนทั่วโลก  ได้รับผลกระทบในการจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขโดยตรง จึงเป็นโอกาสนำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพ

                ภาวะโลกร้อน  ผลกระทบโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  มีผลทำให้เกิดอุบัติภัยตั้งแต่น้ำท่วม  ดินถล่ม  ไซโคลน  เฮอร์ริเคน  ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  ทำให้บางพื้นที่ทรัพยากรน้ำจะขาดแคน  รวมทั้งผลกระทบต่อการเกิดโรค  ปัญหาการเกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคไม่ติดต่อ

                ภาวะวิกฤตทางอาหารเกิดขึ้นเนื่องจากมีพหุปัจจัยตั้งแต่ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น  ความต้องการผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้น  และการนำผลิตภัณฑ์ด้านอาหารไปทำพลังงานทดแทน  ภาวะวิกฤตด้านอาหารเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร  สุขอนามัยของอาหาร  ภาวะวิฤกตทางอาหารส่งผลต่อโรคไม่ติดต่อในเด็ก  เช่นโรคโลหิตจาง  การขาดสารอาหารยังมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

                นอกจากภาวะวิกฤตดังกล่าว  มีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการคือ

                                1). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

                                2.).จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

                 โดยสรุปมีข้อเสนอแนะดังนี้

                1). ดำเนินการเชิงรุกในการป้องกัน

                2).สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและยั่งยืน

                3). ส่งเสริมระบบสาธารณสุขมูลฐาน

                4).รักษาสมดุลระหว่างการป้องกันอย่างเท่าเทียม ให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันและรักษา

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ด้านการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(273)

Comments are closed.