กิจกรรมวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง หัวข้อ จิตวิญญาณในงานบริการ(SHA)

กิจกรรมวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง หัวข้อ จิตวิญญาณในงานบริการ(SHA)
  ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 14 ธ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 14 ธ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  กิจกรรมวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง หัวข้อ จิตวิญญาณในงานบริการ(SHA)
  วันที่บันทึก  10 ม.ค. 2555

 รายละเอียด
การ นำแนวคิดมิติจิตใจผสมผสานในระบบบริการคุณภาพของสถาบันรับรองคุณภาพสถาน พยาบาล (องค์การมหาชน) มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบในช่วงระยะเวลา ๕-๖ ปี ที่ผ่านมา เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมถึงความหมายของทั้งสองด้าน คือทั้งตัวบุคลากรผู้ให้บริการและตัวผู้ป่วยที่มารับบริการ และที่สำคัญคือ เชื่อมโยงไปจนถึงชุมชน วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า “บริบท” โดยใช้คุณค่าสำคัญ ๓C เป็นแนวคิดสำคัญในการนำมาตรฐานลงสู่การปฏิบัติงาน อันได้แก่ context ( บริบท ) core value ( ค่านิยมอุดมการณ์ )หรือความเชื่อ ) และ criteria ( มาตรฐาน ) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลจึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ในการดำเนินโครงการ “การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” ( Sustainable Healthcare & Health Promotion by Appreciation & Accreditation : SHA ) เพื่อ ให้การผสมผสานระบบงานมาตรฐานวิชาชีพ การใช้มิติจิตใจและปรัชญาแนวคิดความพอเพียง สู่การทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบ มีระบบการนำที่ชัดเจน มีทีมที่รับผิดชอบและมีผลลัพธ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จ

SHA มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ มีความปลอดภัย (Safety) มีมาตรฐาน (Standard) มีระบบการดูแลผู้ป่วยที่กลั่นมาจากใจ (Spirituality) มี ความประณีต มีคุณค่า เข้าใจในความต้องการของผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งความเชื่อ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาเดิม สามารถค้นพบความสุขจากภายในตนเอง และเผื่อแผ่ให้คนรอบข้างและผู้ป่วย สร้างความสุขได้ในทุกขณะของชีวิต  โดยไม่ลืมที่จะนำเอา Sufficiency Economy แนวคิดปรัชญาพอเพียง ที่มีความหมายลึกซึ้ง มีความงดงาม สามมารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ ทุกหน่วยงาน รวมทั้ง SHA ด้วย

กระบวนการสร้าง ให้เกิด SHA สามารถทำได้โดย การสร้างแกนนำ, การทำงานกับชุมชนและคน, การใช้มุมมองในเชิงบวก (Appreciative inquiry),การใช้เรื่องเล่า (Narrative Medicine), การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้, การใช้แนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป้นมนุษย์ (Humanized Healthcare), การสร้างสุขภาวะ(Salutogenesis), สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment), และระบบบริการคุณภาพที่ต้องการตวามสมดุล

ดังนั้นการ SHA จึง เป็นการสร้างดุลยภาพและการบูรณาการ การทำงานบนพื้นฐานการทำความดีไว้ในเรื่องเดียวกัน ให้คนมีโอกาสคิดดี ทำดี และพูดในสิ่งที่ดี ด้วยตัวเราเอง เชื่อว่าความดีนั้นจะทำให้คนเกิดความสุข มีความปิติในงาน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ใช้ประยุกต์ใช้ในการสอน และนิเทศนักศึกษา รวมทั้งการใช้กระบวนการจิตปัญญาศึกษาที่จะนำลงสู่ โครงการ ภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านกระบวนการคิดและจริยธรรม


(330)

เรื่อง เวชศาสตร์ปริกำเนิดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง

เรื่อง เวชศาสตร์ปริกำเนิดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง
  ผู้บันทึก :  อ.นุชรีย์ เขียดนิล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 6 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 8 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  เรื่อง เวชศาสตร์ปริกำเนิดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง
  วันที่บันทึก  14 ม.ค. 2554


 รายละเอียด
               ๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ ๑.๑.๑ การดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทารกเกิดก่อนกำหนดหรือทารกนำหนักน้อย (Low birth weight, LBW) คือ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งด้านอนามัยแม่และเด็ก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของทารกแรกเกิดในช่วงระยะ เวลา 30 ปีที่ผ่านมา สภาพสังคมไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่ามาก ซึ่งมีผลกระทบต่อเวชปฏิบัติมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดอย่างชัดเจน อุบัติการณ์การเสียชีวิตและการเกิดภาวะ แทรกซ้อนลดลง ทารกอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีโอกาสรอดชีวิตแต่ปัญหาภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ๆ เช่น BPD , NEC, IVH ก็ยังเกิดขึ้นไม่ลดลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม การฟ้องร้อง แพทย์และพยาบาลจึงต้องให้การรักษาพยาบาลด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ต้องมีการสื่อสารกับพ่อแม่ของทารกและผู้ร่วมงานสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๑.๑.๒ การพยาบาลสตรีที่ทารกในครรภ์พิการ การพยาบาลสตรีที่มีบุตรพิการเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพราะสตรีเหล่านี้มีความรู้สึกสูญเสีย โศกเศร้า และเครียด พยาบาลจึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญ คือ ความรู้ บุคลิกภาพ และทักษะที่เหมาะสม ดังนี้ ๑. ความรู้ พยาบาลจะต้องเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการตอบสนองในแต่ละระยะของบุคคลเมื่อ เกิดภาวะสูญเสีย ๒. ด้านบุคลิกภาพ ควรมีบุคลิกที่สงบ มีท่าทีเป็นมิตร และผ่อนคลาย เพื่อให้สตรีที่มีบุตรพิการเกิดความไว้วางใจและรู้สึกผ่อนคลายในการเล่าความ รู้สึกต่างๆ ตลอดจนขอความช่วยเหลือ ๓. ด้านการมีทักษะในการฟัง จะช่วยให้สตรีที่มีบุตรพิการรู้สึกว่ามีคนที่เข้าใจความรู้สึกของตนซึ่งช่วย ให้เกิดกำลังใจมากขึ้น และพยาบาลทราบถึงปัญหา ความกังวลใจ และสิ่งที่สตรีต้องการความช่วยเหลือ ๑.๑.๓ การบันทึกทางการพยาบาลสูติศาสตร์ บันทึกทางการพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาชีพ ต่อผู้ป่วย และต่อ ระบบงานในการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากบันทึกทางการพยาบาลเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่อผู้ป่วย และสะท้อนให้เห็นคุณภาพการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ ในการบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ต้องบันทึกตามข้อเท็จจริง เป็นปัจจุบัน ตรงตามเวลา บันทึกครบถ้วน มีรายละเอียดที่จำเป็นสมบูรณ์ และการดูแลต้องเป็นไปตามจริง เป็นสิ่งที่พยาบาลเห็น ได้ยิน และสัมผัสได้โดยไม่ต้องแปลความ และเชื่อถือได้ สั้น กระชับได้ความหมายชัดเจน และบันทึกหลังปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแล้วเสร็จ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นลำดับและระบบ เพื่อให้เข้าใจง่าย และควรบันทึกตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ๑.๑.๔ การพยาบาลการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนคลอด การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ในระยะก่อนคลอดเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในสตรีตั้ง ครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์ และป้องกันภาวะทุพพลภาพที่จะเกิดกับทารกเมื่อคลอด พยาบาลเป็นผู้ที่สามารถทำให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเห็นความสำคัญและ สามารถปฏิบัติการตรวจเหล่านี้ได้ถูกต้อง อีกทั้งลดความวิตกกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี วิธีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์สามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพิ่มน้ำหนักของสตรีระหว่างตั้งครรภ์ การเติบโตของมดลูก การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การใช้เครื่องมืออิเลคโทรนิคเฝ้าระวังทารกในครรภ์ NST CST VAS AFT BPP U/S CVS Amniocentesis PUBS MSAFP และ Lung maturity test


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลสูติศาสตร์และการผดุงครรภ์

(271)

องค์กรอัจฉริยะ มุมมอง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

องค์กรอัจฉริยะ มุมมอง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 ผู้บันทึก :  นายวินิจฉัย นินทรกิจ
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 24 ส.ค. 2554   ถึงวันที่  : 26 ส.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ชลบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  องค์กรอัจฉริยะ มุมมอง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2554

 รายละเอียด
นโยบายการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันพระบรมราชชนก ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการศึกษา(UNINET) วิธีการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน(LAN)เครือ ข่ายอินเตอร์เน็ตและมาตรฐานอุปกรณ์เครือข่าย องค์กรอัจฉริยะ มุมมองด้านเทคโนโลยี การดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการเรียนการสอนแบบe-learning  


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน(LAN) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมาตรฐานอุปกรณ์ เครือข่ายให้มีประวิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำการวางแผนในการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ พัฒนาการศึกษา(UNINET)

(297)

กลยุทธ์และการเขียนบทความงานวิจัยทางการพยาบาล และสาธารณสุขเพื่อตีพิมพ์

กลยุทธ์และการเขียนบทความงานวิจัยทางการพยาบาล และสาธารณสุขเพื่อตีพิมพ์
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม และนางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 29 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 30 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  กลยุทธ์และการเขียนบทความงานวิจัยทางการพยาบาล และสาธารณสุขเพื่อตีพิมพ์
  วันที่บันทึก  11 ส.ค. 2553


 รายละเอียด
               วันที่ 29 กรกฏาคม 2553 หัวข้อ เทคนิคกลยุทธ์การเขียนบทความงานวิจัย (scientific writing) เพื่อตีพิมพ์ การเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ ประเด็นความรู้ คุณค่าและความจำเป็นของการพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย 1. ทำให้เกิดการขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวาง 2. เป็นการบันทึกความก้าวหน้าทางวิชาการ 3. เป็นการสืบทอดความรู้แก่กัน โดยผลิตข้อความรู้ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ความรู้ลึก รู้จริง ไม่หยุดนิ่ง ช่วยพัฒนางานในวิชาชีพพยาบาล” คุณลักษณะงานวิจัย/บทความที่มีคุณภาพ จำแนกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับดี 2. ระดับดีมาก 3. ระดับดีเด่น – บทความที่มีคุณภาพในระดับดี หมายถึง บทความนั้นมีความถูกต้องเหมาะสม ทั้งในด้านระเบียบวิธีวิจัยการวิเคราะห์ผล และการนำเสนอผลอย่างครบถ้วน โดยการอภิปรายผลนั้นควรแสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการที่ได้รับจากความรู้ใน ชิ้นงานวิจัยนั้นๆ รวมถึงต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เช่น มีการระบุว่างานวิจัยครั้งนี้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร เท่าไหร่ เวลาไหน – บทความที่มีคุณภาพในระดับดีมาก หมายถึง บทความนั้นสามารถให้ความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว และเป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวางหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างแพร่หลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นในงานวิจัยที่มีการควบคุมคุณภาพงานมาอย่างดี เช่นในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเข้าถึงข้อมูลอย่างดี งานวิจัยเชิงทดลองประเภท (Randomize control trial) – บทความที่มีคุณภาพในระดับดีเด่น หมายถึง บทความนั้นเป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง และทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสูงและเป็นที่ยอมรับในวงการ วิชาการ / วิชาชีพ และ/หรือในระดับชาติ การทำให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพ 1. การเลือกหัวข้อวิจัย ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่ยังไม่มีข้อความรู้ที่แน่ชัด และดำเนินการตามระบบและระเบียบของวิธีวิจัย 2. ผลการวิจัย มีความชัดเจนและตรงประเด็นที่ต้องการศึกษา (วัตถุประสงค์) มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 3. เครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพ (สร้างตามกรอบแนวคิด/ มีองค์ความรู้รองรับ และการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ทั้งด้านความตรง และความเที่ยง) 4. ถูกหลักจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ 5. การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ และการเตรียมต้นฉบับ โดยมีการศึกษาคุณภาพของแหล่งพิมพ์ตัดสินใจเลือก และจัดส่ง โดยมีการติดตามการได้รับการตีพิมพ์ตามเป้าหมายของผู้จัดทำ การสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ควรมีการทบทวนวรรณกรรม และจับประเด็นความรู้อย่างหลากหลายและนำมาปรับใช้ในงานของตนเองให้เหมาะสม ดังนั้นผู้วิจัยควรมีทักษะการสืบค้นวรรณกรรม โดยผ่านแหล่งสืบค้นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งแหล่งสืบค้นงานวิจัยทางการพยาบาลที่น่าสนใจมีดังนี้ แหล่งสืบค้นที่น่าสนใจ เช่น – ฐานข้อมูลงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานีhttp://www.bcnsurat.ac.th – ฐานข้อมูลวิจัยไทย (สวทช) http://www.thairesearch.in.th – ฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย http://www.trf.or.th – ฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.riclib.nrct.go.th/ – ฐานข้อมูลศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย http://www.nurse.cmu.ac.th/webthai/TCEBNM/pform/ – ฐานข้อมูล Pubmed Central http://www.pubmedcentral.nih.gov/ – ฐานข้อมูล The Cochrane Collaboration. http://www.cochrane.org/ – ฐานข้อมูล The JoAnna Briggs Institute. http://www.joannabriggs.edu.au/about/home.php 30 กรกฎาคม 2553 เทคนิคการทบทวนบทความอย่างเป็นระบบ การทบทวนวรรณกรรมควรมองที่คำถามหรือหัวเรื่องที่สงสัย และมองหาข้อสรุปเพื่อนำไปรวบรวมเป็นหลักฐานทางวิชาการในการตอบหัวข้อที่ สงสัย สิ่งที่ต้องทำในการทบทวนวรรณกรรม – ตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยและต้องการเข้าใจ – กำหนดแหล่งสืบค้น – บ่งชี้คำสำคัญที่ต้องการสืบค้น – ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นโดยไม่อคติ และสรุปสิ่งที่ได้ ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 1. วิธีการนำข้อมูลทางวิชาการจากหลายแหล่ง มาอธิบายหัวเรื่องที่สงสัย 2. มาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 3. ผู้อ่านต้องตัดสินใจสรุปข้อความคิดของตนเองเพื่อใช้กำหนดในการวิจัยของตน การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร 1. เลือกแหล่งตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ 2. พิจารณาความต้องการบทความในวารสาร ได้แก่ a. จำนวนหน้า b. ประเภทของตัวอักษรและขนาด c. ชนิด รูปแบบการเขียนอ้างอิงในฉบับและบรรณานุกรม d. การเว้นวรรคในกระดาษ A 4 e. การเว้นขอบกระดาษ f. การใช้ภาษาอังกฤษ และภาษา โดยเฉพาะคำศัพท์เฉพาะ g. ประเภทของบทความ 3. บางวารสารรับบทความ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น วารสารรามาธิบดี, สภาการพยาบาล, วารสารทหารเรือ 4. วารสารต่างประเทศนิยมใช้ Double space 5. บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารแล้ว ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารอื่นได้ 6. บทความประเภท proceeding ที่นำเสนอในเวทีวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ สามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารได้ (ยกเว้นบทความวิจัยของบัณฑิต) 7. กรณีบทความวิจัยที่นำมาพัฒนาเป็นบทความวิชาการ สามารถนำมาตีพิมพ์ลงในวารสารเพิ่มได้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการ – การเรียนการสอนรายวิชาวิจัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              พัฒนางานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย

(372)

การพัฒนาห้องสมุดอัจฉริยะ

การพัฒนาห้องสมุดอัจฉริยะ
ผู้บันทึก :  นางสาวอมรรัตน์ ชูปลอด นายวิชัย จิรวัฒนกูลชัย
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 20 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 22 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
  จังหวัด :  พิษณุโลก
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาห้องสมุดอัจฉริยะ
  วันที่บันทึก  18 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
1.ทบทวนสภาพการใช้งานโปรแกรม ULIbM (Union Library Management)  2.การติดตั้งและการตั้งค่าการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ได้แก่ ติดตั้งการใช้งาน Umedia  คือลงรายการหรือลงทะเบียนจำพวก สื่อโสต CD-Rom,VCD   และติดตั้งการใช้งาน Content คือลงรายการหรือลงทะเบียนจำพวกผลงานวิชาการ  เอกสารวิชาการ วารสาร  ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ (เจ้าหน้าที่สูงสุด(ผู้ดูแลระบบ) , บรรณารักษ์ , ผู้บริการทางหน้าเว็บไซด์    ซึ่งพัฒนาระบบโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นโปรแกรมที่ให้ใช้งานฟรี มีการพัฒนาต่อเนื่อง โดยพัฒนาโปรแกรมทุกปี


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การจัดการและการใช้งานโปรแกรม ULIbM


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการและการใช้งานโปรแกรม ULIbM

(269)