ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย
 ผู้บันทึก :  นายวินิจฉัย นินทรกิจ
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 29 พ.ค. 2555   ถึงวันที่  : 1 มิ.ย. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  ประจวบคีรีขันธ์
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด
    การใช้โปรแกรมในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

E-Learning    เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและการสร้างองค์ความรู้นวตกรรมทางสุขภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยสามารถรองรับการบริหารการจัดการศึกษา ประกอบด้วยหลักการบันทึกเสียงแบบ Analog และแบบ Digital การบันทึก ตัดต่อและผสม เสียงแบบดิจดตอลด้วยโปรแกรม Adobe Audition , การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยโปรแกรม Camtasia Studio ๗.๑, หลักการถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอสำหรับงานผลิตสื่อและการประชาสัมพันธ์ , การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรม Ispring Presenter ๖ , การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรม Corel Video Studio Pro X๑๕ , การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรม ProShow Producer และโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่างๆ               

 

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถใช้โปรแกรมในการผลิตสื่อการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม   เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และสามารถพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยรองรับการบริหารการจัดการศึกษา ตลอดจนแนะนำวิธีการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับอาจารย์ที่สนใจได้

(295)

ผู้บริหารทางการพยาบาลกับประเด็นความเสี่ยงทางกฎหมาย

ผู้บริหารทางการพยาบาลกับประเด็นความเสี่ยงทางกฎหมาย
 ผู้บันทึก :  นางสาวขจิต บุญประดิษฐ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม/ประชุม/สัมมนา
  เมื่อวันที่ : 18 ธ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 19 ธ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ผู้บริหารทางการพยาบาลกับประเด็นความเสี่ยงทางกฎหมาย
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วันที่ 18 ธันวาคม 2553 อาจารย์วิทยากรคืออาจารย์ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล ที่ปรึกษากฎหมายสภาการพยาบาล ได้บรรยายเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและกฎหมายกับการบริหารการพยาบาลมีเนื้อหาเกี่ยวกับ สาเหตุของการฟ้องร้อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่คือ มาตรฐานวิชาชีพลดลง ขาดการสื่อสารที่ดี ไม่ให้เกียรติ ไม่รับฟังความคิดเห็น ไม่ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความคาดหวังสูง กระแสคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิผู้ป่วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ความพึงพอใจของผู้ป่วย :การปฏิบัติการพยาบาล มี 5 อันดับความพึงพอใจต่ำ ความละเอียดรอบคอบของพยาบาล ปฏิบัติกับผู้ป่วยเหมือนไม่มีความรู้สึกนึกคิดสนใจทำงานประจำให้เสร็จสิ้น มากกว่าการรับฟังปัญหาของผู้ ป่วยปฏิบัติกับผู้ป่วยสามารถเข้าใจคำอธิบายเกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วยของ ตนเองได้ การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพฯให้ปฏิบัติตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพและจากนั้นก็ วิเคราะห์กรณีศึกษา วันที่ 19 ธันวาคม 2553 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยพิพาทโดยอาจารย์จิรวุสฐ์ สุขได้พึ่ง เลขานุการผู้ตรวจราชการอัยการ โดยส่วนใหญ่ถ้าเหตุการณ์ที่สามารถประนีประนอมข้อพิพาทนั้นหมายถึงการที่คู่ พิพาทยินยอมให้บุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลางที่ไม่มีอำนาจชี้ขาดทำการช่วยเหลือ ในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ทั้งสองฝ่ายยินยอมลดหย่อนผ่อนปรนให้แก่กัน จนสามารถตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อไป หลักสำคัญของการไกล่เกลี่ยคือสมัครใจต้องเป็นความลับคำรับหรือข้อเท็จจริง ที่ได้ไม่อาจเป็นพยานในชั้น ศาลผู้ไกล่เกลี่ยต้องเป็นกลางการฟ้องศาลไม่ทำให้ไกล่เกลี่ยสิ้นสุดผู้ที่ทำ หน้าที่ไกล่เกลี่ยต้องมีบทบาทผู้ที่ทำหน้าที่ที่ดีมีจริยธรรมมีกระบวน การ/ขั้นตอนการไกล่เกลียและจากนั้นจะเป็นการยกตัวอย่างพรบ.สถาน พยาบาล 2541 พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามแผนและนโยบายในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาตาม สกอ.และจัดเรียนการสอนรายวิชาจริยธรรมกับกฎหมายวิชาชีพฯ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(353)

ปลุกพลังชีวิตคิดบวก ด้วยพลังสมองและจิตใต้สำนึก เคล็ดลับการพัฒนาศักยภาพพยาบาล

ปลุกพลังชีวิตคิดบวก ด้วยพลังสมองและจิตใต้สำนึก เคล็ดลับการพัฒนาศักยภาพพยาบาล
 ผู้บันทึก :  นายสิงห์ กาญจนอารี
  กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ก.พ. 2555   ถึงวันที่  : 24 ก.พ. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลทหารบก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ปลุกพลังชีวิตคิดบวก ด้วยพลังสมองและจิตใต้สำนึก เคล็ดลับการพัฒนาศักยภาพพยาบาล
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2555


 รายละเอียด
การพัฒนาศักยภาพพยาบาลด้วยการคิดบวกและการพัฒนาพลังในตัวตนด้วยกระบวนการ NLP

ความหมายของ NLP

N = Neuro refer to the brain and neural network that feeds into the brain. Neuro or nerves cell are the working untils used by the neuvous system to send, receive,and store sighnals that add up to information.

L = Linguistics refer to the content, both verbal and non-verbal, that moves across and through these pathways.

P = Programing is the way the content or signal is manipulated to convert it into useful information. The brain may direct the signal, sequence it, change it based on our prior experience, or connect it to some other experience we have stored in our brain to convert it into thinking patterns and behaviors that aer the essence of our experience of life.

 

 

แนวทัศนคติของกลุ่มจิตวิทยามนุษยนิยม

  1. 1.       มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจและมีความสามารถเฉพาะตัว
  2. 2.       มนุษย์ทุกคนเป็นผู้ซึ้งพยายามจะเข้าใจตนเองและต้องการบรรลุศักยภาพขั้นสูงสุดของตนเอง
  3. 3.       ข้อบังคับและระเบียบวินัยอาจไม่จำเป็นสำหรับผู้พัฒนาแล้ว
  4. 4.       บุคคลพร้อมจะปรับปรุงตนเอง
  5. 5.       การแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงสำคัญกว่าตัวความรู้หรือข้อเท็จจริง

ความเชื่อที่ใช้ในการบำบัดแบบแชททียร์ ( Satir s Therapeutic Beliefs )

  1. 1.       ความเชื่อเกี่ยวกับคน
  2. 2.       ความเชื่อเกี่ยวกับการปรับตัว
  3. 3.       ความเชื่อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

เป้าหมายหลัก 4 ข้อ ของ Satir Model Therapy

  1. 1.       เพื่อความรู้สึกความมีคุณค่าของคน
  2. 2.       ช่วยให้เขาเป็นคนเลือกเอง ตัดสินใจเอง
  3. 3.       ช่วยให้เขาเป็นคนรับผิดชอบ
  4. 4.       ช่วยให้เขาเป็นคนที่สอดคล้องกลมกลืน

ปัจจัยในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพสมองในมนุษย์

  1. 1.       อาหารกาย
  2. 2.       ประสบการณื
  3. 3.       อาหารใจ
  4. 4.       อาหารปัญญา
  5. 5.       อาหารธรรม

หลักการ NLP ประกอบด้วย

  1. 1.       วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับบุคคลรอบข้าง
  2. 2.       การใช้ประสาทสัมผัสในตัวตน
  3. 3.       วิธีการคิดแบบหวังผลลัพธ์
  4. 4.       การยืดหยุ่นกับวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  5. 5.       การสะกดจิตตนเอง

รูปแบบพฤติกรรม


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

(330)

โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย (home ward case)

โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย (home ward case)
ผู้บันทึก :  นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 5 ม.ค. 2554   ถึงวันที่  : 7 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  จังหวัด :  เชียงราย
  เรื่อง/หลักสูตร :  โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย (home ward case)
  วันที่บันทึก  8 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีพื้นที่รับผิดชอบในระดับตำบล เน้นบริการเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในระดับครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับมีความสามรถในการบริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้น โดยเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ลักษณะที่สำคัญ • มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ(Catchment area ) ในระดับตำบล และมีเครือข่ายร่วมกับสถานีอนามัย และหน่วยบริการสุขภาพอื่น ในตำบลข้างเคียง • เน้นการให้บริการแบบเชิงรุก ที่มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทความพร้อม/ ศักยภาพของชุมชน • บุคลากรที่มีความรู้และทักษะแบบสหสาขาวิชา(skill mix) ทำงานเป็น team work • มีการให้บริการสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกับกับการบริการสุขภาพในระดับอื่น ที่ สูงกว่า โดยสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา • มีการปฏิรูปการบริหารจัดการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน อปท. ภาคราชการ เอกชน และทุกภาคส่วน ขอบเขตการให้บริการ ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาพยาบาลกับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมถึงอนามัยสิ่งแวดล้อม รพสต. แตกต่างกับ สอ. อย่างไร • เพิ่มคุณภาพบริการ ( พยาบาลเวชปฏิบัติ/แพทย์หมุนเวียน) • เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจน (บุคลากร/รักษาพยาบาล/ยา เวชภัณฑ์/การส่งต่อ/งบประมาณ) • ทำงานเชิงรุกในกลุ่มประชากรพิเศษ ผู้ป่วยเรื้อรัง เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช เยี่ยมบ้าน Home ward , Home visit แก้ปัญหาสุขภาพเชิงรุก(ชมรมต่างๆ) • ชุมชน (การบริหารจัดการ อสม ชมรมออกกำลังกาย) • ครอบครัว (แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว) มาตรฐานขั้นต่ำของ รพสต ๑. การรักษาพยาบาล * พยาบาลเวชปฏิบัติ/ พยาบาลวิชาชีพ * ปรึกษาทางไกลกับโรงพยาบาลแม่ข่าย * ระบบส่งต่อ ไป กลับ ๒. การส่งเสริมสุขภาพ ระดับบุคคล * การเยี่ยมบ้าน * ข้อมูลประจำครอบครัว ระดับครอบครัว *แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ระดับชุมชน *รณรงค์ประจำสัปดาห์ (อาหาร ออกกำลังกาย) *รณรงค์ตามปฏิทินสาธารณสุข *สนับสนุนให้มีนวตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ๓.ระบบสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย * บุคลากร *ระบบการรักษาพยาบาลปรึกษาทางไกล *ระบบข้อมูลสารสนเทศ *ระบบยา เวชภัณฑ์ *ระบบส่งต่อไปกลับ *วิชาการ *งบประมาณ ๔. การบริหารงาน * คณะกรรมการพัฒนา รพสต. * ประชาคมเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เฉพาะ ประชาชนได้อะไรอย่างเป็นรูปธรรม • การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การคัดกรองโรคเรื้อรัง เด็กได้รับวัคซีน/พัฒนาการสมวัยทั้งกายและจิตใจ สตรีได้รับการคัดกรอง ดูแล ครบถ้วน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช ได้รับการดูแลตามสิทธิ ญาติได้รับการอบรม ผู้ป่วยพักฟื้นได้รับการเยี่ยมบ้าน ญาติได้รับการอบรม • การรักษาพยาบาลมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ยา เวชภัณฑ์ เหมือน โรงพยาบาล การรักษาบางโรคใช้การปรึกษาทางไกล ระบบส่งต่อ ไปกลับ โรงพยาบาลแม่ข่าย เจ็บป่วยฉุกเฉินมีรถรับส่งอย่างรวดเร็ว • การสาธารณสุขมูลฐาน ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ อสม. และจิตอาสา ร่วมสร้างสุขภาพ ประชาชนสามารถดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน ประชาชนได้อะไรในระยะยาว • ความครอบคลุมของบริการขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น การให้วัคซีน การฝากครรภ์ครบเกณฑ์มาตรฐาน • การเข้าถึงบริการสุขภาพในระดับตำบลดีขึ้น ลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่าย คุณภาพการดูแลโรคเรื้อรังดีขึ้น การเกิดโรคแทรกซ้อนหรือโรคป้องกันได้ลดลง • คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น อัตราตาย มารดา ทารก ลดลง อัตรา ป่วย/ตายโรคสำคัญ ลดลง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              เป็นแนวทางในการการจัดการเรียนการสอน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(654)

Baby Breath: Training for trainers

Baby Breath: Training for trainers
 ผู้บันทึก :  อ.นุชรีย์ เขียดนิล
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 19 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 19 ต.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  พยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  Baby Breath: Training for trainers
  วันที่บันทึก  14 ม.ค. 2554


 รายละเอียด
               ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ ๑. การเตรียมทำคลอด มีขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญ คือ -การล้างมือ -การทำแผนฉุกเฉินร่วมกับผู้ช่วย -การเตรียมอุปกรณ์และบริเวณสำหรับการช่วยหายใจ ๒.การดูแลตามปกติ มีขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญ คือ -เช็ดตัวให้แห้ง -ให้ความอบอุ่น -ตรวจการหายใจ -ตัดสายสะดือ -ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -การประเมินเมื่อแรกคลอด : ร้องหรือไม่ ? -การจัดการเฉพาะกับการมีขี้เทาปนน้ำคร่ำ ๓. นาทีทอง มีขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญ คือ – เช็ดตัวให้แห้ง – จัดท่าและทำทางเดินหายใจให้โล่ง – การกระตุ้นการหายใจ ช่วยหายใจด้วย bag และ mask – เรียกหาความช่วยเหลือ -ประเมินภายหลังการกระตุ้นหรือช่วยหายใจ : หายใจดีหรือไม่ ๔.การช่วยหายใจเป็นเวลานานโดยมีอัตราหัวใจเต้นปกติหรือช้า มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ สำคัญ คือ – ช่วยหายใจให้ดีขึ้น มองหาการดูแลขั้นสูงขึ้นต่อไป – ประเมินขณะช่วยหายใจ : อัตราหัวใจเต้นปกติหรือช้า – หยุดช่วยหายใจเมื่อใด – การดูแลภายหลังช่วยหายใจ -การเคลื่อนย้ายทารกและมารดา


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – ฝึกความชำนาญทางการพยาบาลแม่และเด็กและการผดุงครรภ์: Helping Babies breath – ประยุกต์ใช้ในสอนและการนิเทศนักศึกษาในแผนกห้องคลอด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - ความชำนาญทางการพยาบาลแม่และเด็กและการผดุงครรภ์ : Helping Babies breath

(325)