ผู้บันทึก : อ.นุชรีย์ เขียดนิล | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม | |
เมื่อวันที่ : 6 ต.ค. 2553 ถึงวันที่ : 8 ต.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : เรื่อง เวชศาสตร์ปริกำเนิดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง | |
วันที่บันทึก 14 ม.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑. ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการอบรม/ประชุม/สัมมนา ครั้งนี้ ๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ ๑.๑.๑ การดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทารกเกิดก่อนกำหนดหรือทารกนำหนักน้อย (Low birth weight, LBW) คือ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งด้านอนามัยแม่และเด็ก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของทารกแรกเกิดในช่วงระยะ เวลา 30 ปีที่ผ่านมา สภาพสังคมไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่ามาก ซึ่งมีผลกระทบต่อเวชปฏิบัติมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดอย่างชัดเจน อุบัติการณ์การเสียชีวิตและการเกิดภาวะ แทรกซ้อนลดลง ทารกอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีโอกาสรอดชีวิตแต่ปัญหาภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ๆ เช่น BPD , NEC, IVH ก็ยังเกิดขึ้นไม่ลดลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม การฟ้องร้อง แพทย์และพยาบาลจึงต้องให้การรักษาพยาบาลด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ต้องมีการสื่อสารกับพ่อแม่ของทารกและผู้ร่วมงานสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๑.๑.๒ การพยาบาลสตรีที่ทารกในครรภ์พิการ การพยาบาลสตรีที่มีบุตรพิการเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพราะสตรีเหล่านี้มีความรู้สึกสูญเสีย โศกเศร้า และเครียด พยาบาลจึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญ คือ ความรู้ บุคลิกภาพ และทักษะที่เหมาะสม ดังนี้ ๑. ความรู้ พยาบาลจะต้องเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการตอบสนองในแต่ละระยะของบุคคลเมื่อ เกิดภาวะสูญเสีย ๒. ด้านบุคลิกภาพ ควรมีบุคลิกที่สงบ มีท่าทีเป็นมิตร และผ่อนคลาย เพื่อให้สตรีที่มีบุตรพิการเกิดความไว้วางใจและรู้สึกผ่อนคลายในการเล่าความ รู้สึกต่างๆ ตลอดจนขอความช่วยเหลือ ๓. ด้านการมีทักษะในการฟัง จะช่วยให้สตรีที่มีบุตรพิการรู้สึกว่ามีคนที่เข้าใจความรู้สึกของตนซึ่งช่วย ให้เกิดกำลังใจมากขึ้น และพยาบาลทราบถึงปัญหา ความกังวลใจ และสิ่งที่สตรีต้องการความช่วยเหลือ ๑.๑.๓ การบันทึกทางการพยาบาลสูติศาสตร์ บันทึกทางการพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาชีพ ต่อผู้ป่วย และต่อ ระบบงานในการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากบันทึกทางการพยาบาลเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่อผู้ป่วย และสะท้อนให้เห็นคุณภาพการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ ในการบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ต้องบันทึกตามข้อเท็จจริง เป็นปัจจุบัน ตรงตามเวลา บันทึกครบถ้วน มีรายละเอียดที่จำเป็นสมบูรณ์ และการดูแลต้องเป็นไปตามจริง เป็นสิ่งที่พยาบาลเห็น ได้ยิน และสัมผัสได้โดยไม่ต้องแปลความ และเชื่อถือได้ สั้น กระชับได้ความหมายชัดเจน และบันทึกหลังปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแล้วเสร็จ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นลำดับและระบบ เพื่อให้เข้าใจง่าย และควรบันทึกตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ๑.๑.๔ การพยาบาลการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนคลอด การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ในระยะก่อนคลอดเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในสตรีตั้ง ครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์ และป้องกันภาวะทุพพลภาพที่จะเกิดกับทารกเมื่อคลอด พยาบาลเป็นผู้ที่สามารถทำให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเห็นความสำคัญและ สามารถปฏิบัติการตรวจเหล่านี้ได้ถูกต้อง อีกทั้งลดความวิตกกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี วิธีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์สามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพิ่มน้ำหนักของสตรีระหว่างตั้งครรภ์ การเติบโตของมดลูก การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การใช้เครื่องมืออิเลคโทรนิคเฝ้าระวังทารกในครรภ์ NST CST VAS AFT BPP U/S CVS Amniocentesis PUBS MSAFP และ Lung maturity test
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
ความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลสูติศาสตร์และการผดุงครรภ์ |
(272)