ผู้บันทึก : นางพนิดา รัตนพรหม และนางสาวขจิต บุญประดิษฐ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 29 ก.ค. 2553 ถึงวันที่ : 30 ก.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี | |
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี | |
เรื่อง/หลักสูตร : กลยุทธ์และการเขียนบทความงานวิจัยทางการพยาบาล และสาธารณสุขเพื่อตีพิมพ์ | |
วันที่บันทึก 11 ส.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
วันที่ 29 กรกฏาคม 2553 หัวข้อ เทคนิคกลยุทธ์การเขียนบทความงานวิจัย (scientific writing) เพื่อตีพิมพ์ การเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์ ประเด็นความรู้ คุณค่าและความจำเป็นของการพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย 1. ทำให้เกิดการขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวาง 2. เป็นการบันทึกความก้าวหน้าทางวิชาการ 3. เป็นการสืบทอดความรู้แก่กัน โดยผลิตข้อความรู้ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ความรู้ลึก รู้จริง ไม่หยุดนิ่ง ช่วยพัฒนางานในวิชาชีพพยาบาล” คุณลักษณะงานวิจัย/บทความที่มีคุณภาพ จำแนกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับดี 2. ระดับดีมาก 3. ระดับดีเด่น – บทความที่มีคุณภาพในระดับดี หมายถึง บทความนั้นมีความถูกต้องเหมาะสม ทั้งในด้านระเบียบวิธีวิจัยการวิเคราะห์ผล และการนำเสนอผลอย่างครบถ้วน โดยการอภิปรายผลนั้นควรแสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการที่ได้รับจากความรู้ใน ชิ้นงานวิจัยนั้นๆ รวมถึงต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เช่น มีการระบุว่างานวิจัยครั้งนี้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร เท่าไหร่ เวลาไหน – บทความที่มีคุณภาพในระดับดีมาก หมายถึง บทความนั้นสามารถให้ความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว และเป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวางหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างแพร่หลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นในงานวิจัยที่มีการควบคุมคุณภาพงานมาอย่างดี เช่นในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเข้าถึงข้อมูลอย่างดี งานวิจัยเชิงทดลองประเภท (Randomize control trial) – บทความที่มีคุณภาพในระดับดีเด่น หมายถึง บทความนั้นเป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง และทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสูงและเป็นที่ยอมรับในวงการ วิชาการ / วิชาชีพ และ/หรือในระดับชาติ การทำให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพ 1. การเลือกหัวข้อวิจัย ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่ยังไม่มีข้อความรู้ที่แน่ชัด และดำเนินการตามระบบและระเบียบของวิธีวิจัย 2. ผลการวิจัย มีความชัดเจนและตรงประเด็นที่ต้องการศึกษา (วัตถุประสงค์) มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 3. เครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพ (สร้างตามกรอบแนวคิด/ มีองค์ความรู้รองรับ และการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ทั้งด้านความตรง และความเที่ยง) 4. ถูกหลักจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ 5. การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ และการเตรียมต้นฉบับ โดยมีการศึกษาคุณภาพของแหล่งพิมพ์ตัดสินใจเลือก และจัดส่ง โดยมีการติดตามการได้รับการตีพิมพ์ตามเป้าหมายของผู้จัดทำ การสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ควรมีการทบทวนวรรณกรรม และจับประเด็นความรู้อย่างหลากหลายและนำมาปรับใช้ในงานของตนเองให้เหมาะสม ดังนั้นผู้วิจัยควรมีทักษะการสืบค้นวรรณกรรม โดยผ่านแหล่งสืบค้นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งแหล่งสืบค้นงานวิจัยทางการพยาบาลที่น่าสนใจมีดังนี้ แหล่งสืบค้นที่น่าสนใจ เช่น – ฐานข้อมูลงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานีhttp://www.bcnsurat.ac.th – ฐานข้อมูลวิจัยไทย (สวทช) http://www.thairesearch.in.th – ฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย http://www.trf.or.th – ฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.riclib.nrct.go.th/ – ฐานข้อมูลศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย http://www.nurse.cmu.ac.th/webthai/TCEBNM/pform/ – ฐานข้อมูล Pubmed Central http://www.pubmedcentral.nih.gov/ – ฐานข้อมูล The Cochrane Collaboration. http://www.cochrane.org/ – ฐานข้อมูล The JoAnna Briggs Institute. http://www.joannabriggs.edu.au/about/home.php 30 กรกฎาคม 2553 เทคนิคการทบทวนบทความอย่างเป็นระบบ การทบทวนวรรณกรรมควรมองที่คำถามหรือหัวเรื่องที่สงสัย และมองหาข้อสรุปเพื่อนำไปรวบรวมเป็นหลักฐานทางวิชาการในการตอบหัวข้อที่ สงสัย สิ่งที่ต้องทำในการทบทวนวรรณกรรม – ตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยและต้องการเข้าใจ – กำหนดแหล่งสืบค้น – บ่งชี้คำสำคัญที่ต้องการสืบค้น – ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นโดยไม่อคติ และสรุปสิ่งที่ได้ ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 1. วิธีการนำข้อมูลทางวิชาการจากหลายแหล่ง มาอธิบายหัวเรื่องที่สงสัย 2. มาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 3. ผู้อ่านต้องตัดสินใจสรุปข้อความคิดของตนเองเพื่อใช้กำหนดในการวิจัยของตน การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร 1. เลือกแหล่งตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ 2. พิจารณาความต้องการบทความในวารสาร ได้แก่ a. จำนวนหน้า b. ประเภทของตัวอักษรและขนาด c. ชนิด รูปแบบการเขียนอ้างอิงในฉบับและบรรณานุกรม d. การเว้นวรรคในกระดาษ A 4 e. การเว้นขอบกระดาษ f. การใช้ภาษาอังกฤษ และภาษา โดยเฉพาะคำศัพท์เฉพาะ g. ประเภทของบทความ 3. บางวารสารรับบทความ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น วารสารรามาธิบดี, สภาการพยาบาล, วารสารทหารเรือ 4. วารสารต่างประเทศนิยมใช้ Double space 5. บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารแล้ว ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารอื่นได้ 6. บทความประเภท proceeding ที่นำเสนอในเวทีวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ สามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารได้ (ยกเว้นบทความวิจัยของบัณฑิต) 7. กรณีบทความวิจัยที่นำมาพัฒนาเป็นบทความวิชาการ สามารถนำมาตีพิมพ์ลงในวารสารเพิ่มได้
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
– การวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการ – การเรียนการสอนรายวิชาวิจัย
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
พัฒนางานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย |
(373)