ผู้บันทึก : นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม | |
เมื่อวันที่ : 5 ม.ค. 2554 ถึงวันที่ : 7 ม.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |
จังหวัด : เชียงราย | |
เรื่อง/หลักสูตร : โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย (home ward case) | |
วันที่บันทึก 8 มี.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีพื้นที่รับผิดชอบในระดับตำบล เน้นบริการเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในระดับครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับมีความสามรถในการบริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มขึ้น โดยเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ลักษณะที่สำคัญ • มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ(Catchment area ) ในระดับตำบล และมีเครือข่ายร่วมกับสถานีอนามัย และหน่วยบริการสุขภาพอื่น ในตำบลข้างเคียง • เน้นการให้บริการแบบเชิงรุก ที่มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทความพร้อม/ ศักยภาพของชุมชน • บุคลากรที่มีความรู้และทักษะแบบสหสาขาวิชา(skill mix) ทำงานเป็น team work • มีการให้บริการสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกับกับการบริการสุขภาพในระดับอื่น ที่ สูงกว่า โดยสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา • มีการปฏิรูปการบริหารจัดการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน อปท. ภาคราชการ เอกชน และทุกภาคส่วน ขอบเขตการให้บริการ ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาพยาบาลกับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมถึงอนามัยสิ่งแวดล้อม รพสต. แตกต่างกับ สอ. อย่างไร • เพิ่มคุณภาพบริการ ( พยาบาลเวชปฏิบัติ/แพทย์หมุนเวียน) • เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจน (บุคลากร/รักษาพยาบาล/ยา เวชภัณฑ์/การส่งต่อ/งบประมาณ) • ทำงานเชิงรุกในกลุ่มประชากรพิเศษ ผู้ป่วยเรื้อรัง เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช เยี่ยมบ้าน Home ward , Home visit แก้ปัญหาสุขภาพเชิงรุก(ชมรมต่างๆ) • ชุมชน (การบริหารจัดการ อสม ชมรมออกกำลังกาย) • ครอบครัว (แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว) มาตรฐานขั้นต่ำของ รพสต ๑. การรักษาพยาบาล * พยาบาลเวชปฏิบัติ/ พยาบาลวิชาชีพ * ปรึกษาทางไกลกับโรงพยาบาลแม่ข่าย * ระบบส่งต่อ ไป กลับ ๒. การส่งเสริมสุขภาพ ระดับบุคคล * การเยี่ยมบ้าน * ข้อมูลประจำครอบครัว ระดับครอบครัว *แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ระดับชุมชน *รณรงค์ประจำสัปดาห์ (อาหาร ออกกำลังกาย) *รณรงค์ตามปฏิทินสาธารณสุข *สนับสนุนให้มีนวตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ๓.ระบบสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย * บุคลากร *ระบบการรักษาพยาบาลปรึกษาทางไกล *ระบบข้อมูลสารสนเทศ *ระบบยา เวชภัณฑ์ *ระบบส่งต่อไปกลับ *วิชาการ *งบประมาณ ๔. การบริหารงาน * คณะกรรมการพัฒนา รพสต. * ประชาคมเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เฉพาะ ประชาชนได้อะไรอย่างเป็นรูปธรรม • การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การคัดกรองโรคเรื้อรัง เด็กได้รับวัคซีน/พัฒนาการสมวัยทั้งกายและจิตใจ สตรีได้รับการคัดกรอง ดูแล ครบถ้วน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช ได้รับการดูแลตามสิทธิ ญาติได้รับการอบรม ผู้ป่วยพักฟื้นได้รับการเยี่ยมบ้าน ญาติได้รับการอบรม • การรักษาพยาบาลมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ยา เวชภัณฑ์ เหมือน โรงพยาบาล การรักษาบางโรคใช้การปรึกษาทางไกล ระบบส่งต่อ ไปกลับ โรงพยาบาลแม่ข่าย เจ็บป่วยฉุกเฉินมีรถรับส่งอย่างรวดเร็ว • การสาธารณสุขมูลฐาน ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ อสม. และจิตอาสา ร่วมสร้างสุขภาพ ประชาชนสามารถดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน ประชาชนได้อะไรในระยะยาว • ความครอบคลุมของบริการขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น การให้วัคซีน การฝากครรภ์ครบเกณฑ์มาตรฐาน • การเข้าถึงบริการสุขภาพในระดับตำบลดีขึ้น ลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่าย คุณภาพการดูแลโรคเรื้อรังดีขึ้น การเกิดโรคแทรกซ้อนหรือโรคป้องกันได้ลดลง • คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น อัตราตาย มารดา ทารก ลดลง อัตรา ป่วย/ตายโรคสำคัญ ลดลง
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
เป็นแนวทางในการการจัดการเรียนการสอน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(655)