การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
 ผู้บันทึก :  นางสาวอรวรรณ ฤทธิ์มนตรี
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรมระยะสั้น
  เมื่อวันที่ : 4 ต.ค. 2553   ถึงวันที่  : 28 ม.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การจัดการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์
  วันที่บันทึก  9 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               วิชาหลักสูตร/การสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน รศ.ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่ และ อ.ดร. มารุต พัฒผล – การพัฒนาหลักสูตร – ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา การศึกษากับหลักสูตร – ความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับการสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน ดร. ไพลิน นุกูลกิจ -เทคนิคการสอนในระดับอุดมศึกษา ผู้สอน ดร. งามนิตย์ รัตนานุกูล – การออกแบบการจัดการเรียนการสอน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำ TQF – คู่มือการจัดการเรียนการสอน ผู้สอน ดร. ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร – การวิเคราะห์หลักสูตรกับการสอน ผู้สอน ดร. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา – เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ – การเรียนการสอนแบบ Self Directed learning ผู้สอน ผศ. นันทนา วงษ์อินทร์ – จิตวิทยาการศึกษา ผู้สอน ดร.พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์ – เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด วิชาปรัชญา/มโนทัศน์การศึกษาทางการพยาบาล ผู้สอน ดร. ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร – จรรยาบรรณวิชาชีพครู/มาตรฐานวิชาชีพครู – กรอบแนวคิดการจัดการเรียนการสอน – บทบาทหน้าที่และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ระดับอุดศึกษา และครูพยาบาล – การสร้างเสริมบุคลิกภาพความเป็นครู ผู้สอน อาจารย์สุดสวาท สุจริตกุล – การเสริมสร้างบุคลิกภาพความเป็นครู ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน มารยาทในการรับประทานอาหาร การแต่งกาย และอื่นๆ ผู้สอน ดร. อุไร นิโรธนันท์ – การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งได้ฝึกกำหนดสิ่งที่ต้องการ ค้นหาคำตอบ กำหนดหัวข้อ ประเด็น และศึกษาจากหลักฐานเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูลต่างๆ ผู้สอน ดร. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา – ได้เรียนรู้และฝึกทำ Learning contract วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ผู้สอน ดร.สุมนา โสตถิผลอนันต์ – ได้เรียนรู้และฝึกเขียนโครงร่างวิจัยกลุ่มละ ๑ เรื่อง วิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ผู้สอน ผศ.ดร.สุนันท์ ศลโกสุม – หลักการวัดและการประเมินผลทางการศึกษา – การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง – เครื่องมือวัดผลทางการศึกษาประเภทต่างๆ – การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา – นวัตกรรมในการประเมินผล – คะแนนและการให้ระดับคะแนน วิชาการสอนในชั้นเรียนและในคลินิก – การเรียนการสอนแบบ PBL – การผลิตสื่อการเรียนการสอน – การเขียนแผนการสอนภาคทฤษฎี – การเขียนแผนการสอนภาคปฏิบัติ – การเขียนแผนการนิเทศ ภาคปฏิบัติ ๑. ได้ฝึกเขียนแผนการสอน ฝึกสอนในชั้นเรียนและในคลินิก ในสถานการณ์จำลอง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คนละ ๑ ครั้ง ๒ ได้ฝึกเป็นผู้ประเมินการสอน ๒ ครั้ง ๓. ได้ฝึกกิจกรรมครู เช่น การจัดทำ มคอ. ๓ การเขียนแผนการสอน การออกข้อสอบ การวิพากษ์ข้องสอบ การตัดเกรด เป็นต้นโดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ที่เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ๔. กสอนในสถานการณ์จริง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก ซึ่งกิจกรรมที่ฝึกได้แก่ การสอนในชั้นเรียน ๓ครั้ง การสอนในคลินิก ๓รั้ง การนิเทศในคลินิก 3 ครั้ง นอกจากนี้ได้ฝึกกิจกรรมครู เช่น การจัดทำรายละเอียดวิชา มคอ.๓ การวิพากษ์ มคอ. ๓ การออกข้อสอบ วิพากษ์ข้อสอบ ตรวจงานนักศึกษา เป็นต้น ๕.เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัย ได้แก่ ร่วมงานวันสถาปนาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ร่วมทำบุญขึ้นปีใหม่กับบุคคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช และอื่นๆ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              พัฒนาบุคคลิกภาพให้เหมาะสมกับความเป็นครู – นำความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนในชั้นเรียน ในคลินิก และการนิเทศมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของนักศึกษา และวิทยาลัย – มีทักษะในการจัดทำมคอ. ๓และการวิพากษ์ มคอ. ๓ – มีเทคนิคและหลักการในการออกข้อสอบ และวิพากษ์ข้อสอบ – มีทักษะในการตรวจงานและให้คะแนนนักศึกษา – มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์การฝึกสอน – มีความสามารถในการผลิตสื่อการสอนเพิ่มมากขึ้น – มีเครือข่ายในการติดต่อประสานงานระหว่างวิทยาลัย


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(397)

Comments are closed.