ผู้บันทึก : นางสาวนุชรีย์ เขียดนิล นางพนิดา รัตนพรหม และนางสาวจตุพร ตันตะโนกิจ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 15 มี.ค. 2554 ถึงวันที่ : 17 มี.ค. 2554 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมแพทย์โรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์แห่งประเทศไทย กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และคณะ แพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : แนวทางการจัดการทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ | |
วันที่บันทึก 28 มี.ค. 2554 | |
|
|
รายละเอียด | |
กลยุทธ์และการจัดการปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ แบ่งเป็นการให้บริการเชิงรุก ได้แก่ การสำรวจเยี่ยมแหล่งบริการ การสร้างความ สัมพันธ์ในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของแหล่งบริการ ผู้ให้บริการทางเพศ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ การจัดรณรงค์ อบรมเรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค ได้แก่ ผู้ให้บริการทางเพศ เยาวชน กลุ่มแรงงาน กลุ่มประมง MSM และการสนับสนุนการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรอง สำหรับการให้บริการในคลินิก เน้นการคัดกรอง การให้บริการรักษา การให้สุขศึกษาและส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย การให้การปรึกษา HIV/STI การติดตามผู้สัมผัสโรค การให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ การบันทึกการตรวจรักษา และทำรายงาน ๕o๖ ก๑ และ ก ๒ ๑.๑.๒ วัคซีนป้องกันโรคหูดหอนไก่และมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๙o ของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักเกิดจาก HPV ๖, ๑๑ และร้อยละ ๗o ของมะเร็งปากมดลูก เกิดจาก HPV ๑๖, ๑๘ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้หญิงอายุ <17 ปี เพื่อให้มีภูมิต้านทาน โดยเฉพาะ Quadrivalent HPV vaccine (HPV ๖, ๑๑ , ๑๖, ๑๘ ) ๑.๑.๓ แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกประเทศไทย ๒๕๕๓ ในกรณีไม่เคยรับยาต้านไวรัสก่อนตั้งครรภ์ และ CD4> ๓๕o cells/mm3 ใช้ HAART ตั้งแต่ GA 14 wks หาก CD4 < ๓๕o cells/mm3 ให้ HAART ทันที กรณีได้รับ HAART อยู่แล้วให้ต่อได้เลย เมื่อเริ่มเจ็บท้อง ให้ AZT 300 mg q 3 hr หรือ AZT 600 mg ครั้งเดียว หลังคลอด ในกลุ่มที่ไม่เคยได้รับยาก่อนตั้งครรภ์ให้หยุดยาหาก CD4> ๓๕o cells/mm3 และให้ยาต่อหาก CD4< ๓๕o cells/mm3 ส่วนกลุ่มที่เคยได้รับ HAART ก่อนการตั้งครรภ์ ให้ HAART ต่อ ทั้งนี้ต้องผ่านกระบวนการให้บริการปรึกษาก่อนและหลังตรวจหาเชื้อ HIV แก่ผู้รับบริการและครอบครัว ๑.๑.๔ สิทธิการเจริญพันธุ์และความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการเตรียมการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี เตรียมโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารก รวมถึงแนวทางการลดการแพร่กระจายเชื้อ โดยการใช้ถุงยางอนามัย การให้ยาต้านไวรัส การผ่าตัดคลอด การงดการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ตลอดจนการช่วยเจริญพันธ์ ได้แก่ การผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว อิ๊กซี่ ทั้งนี้อาจใช้ไข่/อสุจิบริจาค การล้างอสุจิ หรือการอุ้มบุญ ๑.๑.๗ ปัญหาเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ของวันรุ่นไทย มีแนวทางการแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นประเด็นการป้องกันเพศสัมพันธ์ก่อนวัยและ ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยทั้งในกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทาง เพศ โดยเน้นให้รู้เรื่องเพศตามวัย ปลูกฝังค่านิยมในการรักและเห็นคุณค่าในตนเอง สอนการผ่อนคลาย เรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านกิจกรรม สำหรับในกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน เน้นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เช่น STI HIV การคุมกำเนิด และการใช้ถุงยางอนามัย
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน การสอนรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ โดยเฉพาะโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(294)