ผู้บันทึก : นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 9 ก.ย. 2553 ถึงวันที่ : 10 ก.ย. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช | |
จังหวัด : นครศรีธรรมราช | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมวิชาการประจำปี “สมวัย สบายใจ” | |
วันที่บันทึก 20 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
Osteoporosis โดย ศ.นพ.สารเนตร ไวคกุล ภาวะกระดูกพรุน พบในสตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกระดูกหัก ปวดเรื้อรัง และคุณภาพชีวิตลดลง จุดประสงค์ในการรักษาคือ ลดปัจจัยเสี่ยงของกระดูกหัก เพิ่มหรือดำรงมวลกระดูก เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการปวด วิธีการรักษา ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เต้าหู้ ปลาตัวเล็กตัวน้อย ควรดื่มกาแฟ วันละ ๒ แก้ว และออกกำลังกาย การใช้ยากระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูกและยาลดการสลายกระดูก การให้ยาแก้ปวด ให้วิตะมินดี เค ให้ฮอร์โมนเทียม Alterative medicine โดย พ.ท.นพ.วิภู กำเนิดดี และ นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์ การแพทย์ทางเลือก หรือ หลัก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ การแพทย์แผนไทยได้แก่ การนวด กดจุด ลูกประคบ นวดน้ำมัน ยาสมุนไพร ใช้ภูมิปัญญาไทย ดำเนินชีวิตโดยใช้หลักธรรมชาติให้มากที่สุด การแพทย์แผนจีน ได้แก่ การกดจุด ฝังเข็ม ปล่อยเลือด ครอบแก้ว โดยการปรับสมดุลของพลังชี่ (ลมปราน) ที่ไหลเวียนในร่างกาย Back pain โดย พ.ท.นพ.วิภู กำเนิดดี พันเอก(พิเศษ)รศ.นพ.วรัท ทรรศนะวิภาส และ ผศ.พญ. ศศิกานต์ นิมมานรัชต์ การปวดหลัง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ หมอนรองกระดูกเคลื่อน ก้อนเนื้อ การตีบแคบของกระดูกสันหลัง เป็นต้น เกิดอาการปวดเรื้องรัง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การรักษาอาการปวดทำได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด หรือการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวด การฝังเข็ม ต้องป้องกันการาดเจ็บซ้ำของกระดูกสันหลัง และเสริมสร้างความแข็งแรง/ยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายกล้าม เนื้อหลัง สีข้างและหน้าท้อง Exercise for Aging โดย ดร.นพ.ฉกาจ ผ่องอักษร การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ควรมีการตรวจคัดกรองสุขภาพก่อนออกกำลังกาย เพื่อหาข้อจำกัดที่มีอันตรายต่อสุขภาพ และหารูปแบบที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย เช่น แอโรบิก การบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ การทดสอบความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ เช่น Chair stand test, Arm curl test, 6 minute walk test เป็นต้น
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนการสอนวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียนการสอนวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ |
(353)